ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในรูปแบบชมรมผู้สูงอายุ ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : สุดาพร ลาดหนองขุ่น ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : การดูแลผู้สูงอายุเป็นภาระและหน้าที่และความรับผิดชอบที่ทุกครอบครัว ตลอดจนชุมชน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบด้านผู้สูงอายุทั้งทางตรงและทางอ้อมจะต้องจัดให้มีบริการในรูปแบบที่หลากหลาย สำหรับผู้สูงอายุตามสภาพความเป็นจริงของปัญหาและจำเป็นเร่งด่วน รวมทั้งลักษณะของความต้องการต่าง ๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของชุมชนทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดประโยชน์และช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในมิติต่าง ๆ แก่ประชาชนในชุมชนโดยเฉพาะผู้สูงอายุ การบูรณาการหน่วยงานหลักทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนที่มีจุดร่วมเดียวกันเพื่อขับเคลื่อนการบริการสุขภาพผู้สูงอายุ และทำให้สามารถวางแผนการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า และบทบาทที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุคือ ชมรมผู้สูงอายุ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในรูปแบบชมรมผู้สูงอายุ เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ของชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากร คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่พื้นที่ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 1,095 คน กลุ่มตัวอย่าง ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่พื้นที่ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) จำนวนร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วยเพศ อายุ ดัชนีมวลกาย(BMI) สถานภาพสมรส การนับถือศาสนา ระดับการศึกษา ความรู้สึกต่อสุขภาพ การตรวจร่างกายประจำปี ใน 6 เดือนที่ผ่านมาเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล และปัญหาสุขภาพที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต ส่วนที่ 2 แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การส่งเสริมสุขภาพของตนเองตามกรอบแนวคิดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ แบ่งเป็น 6 ด้านประกอบด้วย ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการออกกาลังกาย ด้านโภชนาการ ด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ และด้านการจัดการกับความเครียด ส่วนที่ 3 แบบประเมินการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ที่ชมรมผู้สูงอายุเป็นผู้ริเริ่ม/มีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ และร่วมรับผลประโยชน์  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นที่ 1 เลือกโครงการและตั้งหัวข้อศึกษา ขั้นที่ 2 ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 3 กำหนดปัญหา เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการประเมิน ขั้นที่ 4 ออกแบบ วางแผนศึกษาประเมิน ขั้นที่ 5 เก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลและแปรผล ขั้นที่ 7 การเสนอรายงานการศึกษาเชิงประเมินผล  
     
ผลการศึกษา : จากการศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการออกกาลังกาย ด้านโภชนาการ ด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ และการจัดการกับความเครียด มีรายละเอียดแต่ละด้านดังนี้ 1. จากการศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า พฤติกรรมที่ปฏิบัติมากที่สุด คือกลุ่มตัวอย่างมีการปรึกษาแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที เมื่อมีอาการผิดปกติ ค่าเฉลี่ย 3.58 รองลงมาคือ มีการปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองกับผู้ที่มีความรู้ ค่าเฉลี่ย 3.47 และ พฤติกรรมที่ทำน้อยที่สุด คือการหาความรู้หรือสิ่งใหม่ๆ ที่จะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ใน การดูแลสุขภาพของตนเอง เช่น อ่านหนังสือ ฟังวิทยุ ดูรายการโทรทัศน์ หรือการเข้าร่วมอบรมความรู้ทางสุขภาพ ค่าเฉลี่ย 3.26 จะเห็นได้ว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพดีหมายถึง กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมหรือการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจาวันเพื่อส่งเสริมสุขภาพดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ป้องกันการเจ็บป่วยหรือภาวะแทรกซ้อน ซึ่งจะนำไปสู่ความผาสุกในชีวิตเข้าร่วมอบรมความรู้ทางสุขภาพ ดังนั้น ผู้สูงอายุควรแสวงหาความรู้ด้านสุขภาพ โดยสนใจฟังวิทยุ หอกระจายข่าวและดูโทรทัศน์ในเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ การอ่านหนังสือ วารสาร เอกสารแผ่นพับที่เกี่ยวกับสุขภาพ หรือพูดคุยปรึกษาปัญหาสุขภาพกับบุคคลากรสาธารณสุข หรืออาสาสมัครชุมชน เพื่อการดูแลตนเองและการปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสม 2. จากการศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า พฤติกรรมที่ปฏิบัติมากที่สุด คือ มีคนในครอบครัวดูแลและช่วยเหลือ ค่าเฉลี่ย 3.58 รองลงมาคือ ญาติพี่น้องหรือคนใกล้ชิดยังคงให้ความช่วยเหลือเมื่อต้องการ ค่าเฉลี่ย 3.54 และ พฤติกรรมที่ทำน้อยที่สุด คือพึ่งพาช่วยเหลือซึ่งกันและกันกับเพื่อนบ้านใกล้เคียง ค่าเฉลี่ย 3.3 ซึ่งควรได้รับการแก้ไขให้มีสัมพันธภาพกับเพื่อนบ้าน เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุมีความสดชื่น ดังนั้น ผู้สูงอายุจึงต้องการมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นๆ ทั้งวัยเดียวกันและต่างวัย นอกเหนือไปจากสมาชิกในครอบครัวและญาติพี่น้อง แม้ว่าศูนย์กลางของสัมพันธภาพทางสังคมจะเน้นในครอบครัวก็ตาม การร่วมกิจกรรมทางสังคม งานพิเศษและงานอดิเรกเป็นหนทางสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลด้วย 3. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า พฤติกรรมที่ปฏิบัติมากที่สุด คือ มีการทำกิจกรรมเพื่อยืดเส้นยืดสาย เช่น แกว่งแขน ยืดขา ค่าเฉลี่ย 3.43 รองลงมาคือ ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน นานครั้งละประมาณ 20 นาทีและ ก่อนออกกำลังกายมีการเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการออกกำลังกาย ค่าเฉลี่ย 3.31 และ พฤติกรรมที่ทำน้อยที่สุด คือออกกำลังกายจนรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้นค่าเฉลี่ย 2.94 จากข้อมูลพบว่า ผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายแต่ยังไม่ได้ออกกำลังกายจนรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้น ซึ่งผู้สูงอายุคิดว่าการทำงานบ้านหรือกิจกรรมเล็กๆน้อยๆ หรือการทำงานบ้าน เป็นการออกกำลังกาย ซึ่งการทำงานบ้านที่ไม่ได้ใช้แรงมาก และเป็นการออกกาลังกายระยะสั้น ไม่ต่อเนื่อง ดังนั้นการออกกำลังกายเป็นวิธีการหนึ่งที่สำคัญในการเพิ่มความสามารถทางร่างกายของผู้สูงอายุ การออกกำลังกายที่ถูกต้องและกระทำสม่ำเสมอจะทำให้ผู้สูงอายุ มีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวร่างกาย ชะลอความเสื่อมของกระดูกและกล้ามเนื้อ ร่างกายแข็งแรงและอายุยืนยาว 4. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า พฤติกรรมที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ รับประทานอาหารรสเค็มจัด ค่าเฉลี่ย 3.80 ซึ่งส่งผลต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุเนื่องจากการรับรู้ของระบบสัมผัส ได้แก่ ลิ้นเสื่อมลง มีการฝ่อตัวของประสาทรับรส ปริมาณตุ่มรับรสของลิ้นลดลงทำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารรสเค็มเพราะรู้สึกว่าอาหารจืด รองลงมาคือ รับประทานอาหารโดยการเคี้ยวช้าๆ ให้ละเอียด ค่าเฉลี่ย 3.75 และ พฤติกรรมที่ทาน้อยที่สุด คือ รับประทานผัก ค่าเฉลี่ย 2.78 เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของเหงือกและฟัน รวมทั้งต่อมน้ำลายน้อยลง ทำให้การเคี้ยวและการกลืนอาหารลำบากจึงรับประทานผักได้น้อย ผู้สูงอายุควรเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายโรคที่เป็นอยู่ และสภาพการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ดังนั้น การจัดอาหารจึงควรคำนึงถึงสภาพร่างกายและจิตใจด้วย มิใช่คุณค่าทางโภชนาการเท่านั้น 5. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านการพัฒนาด้านจิตวิญญาณของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า พฤติกรรมที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ พยายามทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ค่าเฉลี่ย 3.61 รองลงมาคือ เป็นที่เคารพนับถือของเพื่อนบ้าน ค่าเฉลี่ย 3.56 เพราะผู้สูงอายุต้องการการยอมรับจากสังคม และ พฤติกรรมที่ทำน้อยที่สุด คือ ได้ทำตัวให้เป็นประโยชน์ในเรื่องต่างๆ ค่าเฉลี่ย 3.12 เนื่องจาก การที่ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายไปในทางเสื่อมย่อมส่งผลกระทบต่อร่างกายโดยตรงแล้ว ด้านจิตใจ อารมณ์และสังคมก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม ไม่พอใจในสภาพที่เป็นอยู่ ทำให้เกิดความไม่เข้าใจตนเอง จึงไม่ค่อยได้เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน ดังนั้นพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้านการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ จึงควรส่งเสริมผู้สูงอายุให้รับรู้ความจริงอย่างมีประสิทธิภาพ การยอมรับตนเอง การแสดงความคิดและพฤติกรรมต่างๆ ตามสภาพธรรมชาติ การเอาใจใส่ต่อสวัสดิการของมนุษย์ มีความห่วงใยสังคม ประเทศชาติ มีความประทับใจในประสบการณ์พื้นฐานอย่างลึกซึ้ง สร้างสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างจริงใจ และเข้าใจชีวิตจากโลกทัศน์ที่มีเป้าหมาย โดยมีความคิดสร้างสรรค์ 6. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านการพัฒนาด้านการจัดการกับความเครียดของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า พฤติกรรมที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ สามารถที่จะเผชิญกับปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีสติ ค่าเฉลี่ย 3.56 รองลงมาคือ บอกกับตนเองว่าปัญหาทุกอย่างแก้ไขได้ ค่าเฉลี่ย 3.56 เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ชีวิต ซึ่งผ่านการเผชิญปัญหามามากจึงทำให้รู้สึกว่าทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ และ พฤติกรรมที่ทำน้อยที่สุด คือ พยายามหาทางแก้ไขเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น และพยายามหาทางแก้ไขเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ค่าเฉลี่ย 3.12 ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้านการจัดการกับความเครียด สามารถทำได้โดย เมื่อลูกหลานแยกครอบครัวออกไป ทำให้ผู้สูงอายุมีเวลาในการใช้ชีวิตร่วมกับคู่สมรสมากขึ้นและอยู่ตามลำพังมากขึ้น สิ่งที่ทาให้ผู้สูงอายุมีความสุขในชีวิตสมรสในช่วงนี้คือ การเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข คอยดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ร่วมคิดแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งการพูดคุยหรือระบายความทุกข์ใจให้ผู้ใกล้ชิดได้รับทราบ ก็ถือว่าเป็นการผ่อนคลายความเครียดหนทางหนึ่งเช่นกัน การมีส่วนร่วมของชมรมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อาศัยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการจัดเวทีระดมความคิด วิเคราะห์ปัญหาด้านการดูแลสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และเครือข่ายด้านสุขภาพ เพื่อหาแนวทางในทางพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลวิธีที่สำคัญต่อการระดมทุนทางสังคมในการกระตุ้นให้เห็นความสำคัญด้านสุขภาพ และนอกจากนี้ยังจำเป็นที่จะต้องอาศัยกระบวนการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกันเพื่อดูและสุขภา เช่น แนวคิดเกี่ยวการพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ แนวคิดการสร้างพลังอำนาจและแนวคิดการทำงานโดยอาศัยภาคีเครือข่ายซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และเกิดการพัฒนาสมรรถนะด้านการส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเอง และสามารถถอดบทเรียนผ่านนกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ตลอดจนภาคีเครือข่ายในชุมชุนได้  
ข้อเสนอแนะ : 1. การศึกษาในครั้งนี้ ซึ่งสามารถทราบขอมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการสงเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ควรนำขอมูลเหลานี้ไปทำการวิจัยแบบกึ่งทดลองโดยประยุกตทฤษฎีตางๆ เชน แรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสงเสริมสุขภาพที่ไมพึงประสงคของผู้สูงอายุ 2. การศึกษาในครั้งนี้เปนการศึกษาเชิงปริมาณ ดังนั้นควรมีการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อใหได ขอมูลในอีกแงมุมหนึ่งมาอธิบายพฤติกรรมการสงเสริมสุขภาพไดถูกตองมากยิ่งขึ้น สามารถนำผลการศึกษาไปใชประกอบการจัดทาแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการสงเสริมสุขภาพผู้สูงอายุไดอยางมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3. ควรจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนให้มากขึ้น สนับสนุนให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ การปฏิบัติการออกกาลังกายที่ถูกต้อง และส่งเสริมเรื่องของการจัดการความเครียด  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)