|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ประเมินผลโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ“ฟันสวย ยิ้มสดใส สูงวัยสุขภาพดี ที่นาบอน” อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
ทินกร ถิ่นวรแสง |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระดับสูงมีความจำเป็นต้องได้รับการดูแล เนื่องจากปัจจุบัน พบว่า ผู้สูงอายุเขตพื้นที่นาบอนมีทั้งหมด 857 คน คิดเป็นร้อยละ 14 ของผู้สูงอายุในอำเภอคำม่วง โดยแรกออกเป็นกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 841 คน คิดเป็นร้อยละ 98.14 ผู้สูงอายุติดบ้าน จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 1.17 ผู้สูงอายุติดเตียง จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 0.70 มีฟันแท้ใช้งานได้ 20 ซี่ขึ้นไป จำนวน 304 ร้อยละ 35.47 มีฟันคู่สบไม่น้อยกว่า 4 คู่ จำนวน 321 คน ร้อยละ 37.46 การดำเนินงานผู้สูงอายุตำบลนาบอนมีการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุเมื่อเดือน เมษายน 2560 มีโครงสร้างคณะกรรมการ จากการประชุมวิเคราะห์เพื่อค้นหาประเด็นการพัฒนาด้านสุขภาพของสมัชชาสุขภาพตำบลนาบอน จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาของผู้สูงอายุ พบว่า ลำดับที่ 1 คือโรคในช่องปาก ลำดับที่ 2 คือโรคเกี่ยวกับตา ลำดับที่ 3 คือโรคเข่า ปัญหาเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่สมัชชาสุขภาพจะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มติดสังคม กลุ่มติดบ้าน กลุ่มติดเตียง โดยให้การสร้างเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพของผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพช่องปาก ซึ่งต้องร่วมกันระหว่างการดูแลตามความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโดยบุคลากรสาธารณสุขและการดูแลทำความสะอาดช่องปากด้วยตนเองหรือผู้ดูแล (มัทนาเกษตระทัต, 2554) |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุบูรณาการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีเครือข่าย ในการดำเนินการรักษา ส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
การดำเนินงาน
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
1. ผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปในโรงเรียนผู้สูงอายุ/ชมรมผู้สูงอายุ
2. ผู้ให้บริการ ได้แก่ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ อสม. สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลนาบอน
ญาติ คนใกล้ชิด ผู้นำชุมชน อปพร. เป็นต้น
|
|
เครื่องมือ : |
แบบประเมินโครงการ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
ผู้รับบริการ : จัดกระบวนการเรียนรู้ด้านทันตสาธารณสุขในโรงเรียนผู้สูงอายุ/ชมรมผู้สูงอายุอย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี จัดกิจกรรมแปรงฟันในโรงเรียนผู้สูงอายุ, วัด "แม่ออก" "พ่อออก" หรือแม่ออกค้ำวัดพ่อออกค้ำวัดที่คอยอุ้มชูพระพุทธศาสนา จัดกิจกรรมประกวดฟันสวย ยิ้มสดใส ในโรงเรียนผู้สูงอายุ (เทพบุตรเทพธิดาฟันสวย) จัดกิจกรรมการแต่งกลอนลำสร้างเสริมทันตสุขภาพโดยนำกลอนลำหรือบทเพลงมาบูรณาการร่วมกับการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ เช่น ระบำคองก้า เต้นบาสโลบ เป็นต้น
ผู้ให้บริการ : จัดกระบวนการเรียนรู้ด้านทันตสาธารณสุขแก่ผู้ดูแลสูงอายุอย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี จัดกระบวนการเรียนรู้การทำยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ลูกอมสมุนไพรดับกลิ่นปาก ฯลฯ โดยใช้วัตถุดิบในชุมชนมาสร้างเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก ประกวดเชิดชูบุคคลต้นแบบด้านการดูแลและสร้างเสริมทันตสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ติดตามเยี่ยมบ้านให้คำแนะนำการดูแลผู้สูงอายุ จัดทำหลักสูตรการมีทันตสุขภาพที่ดีในโรงเรียนผู้สูงอายุ/ชมรมผู้สูงอายุอย่างน้อย 1 หลักสูตรโดยใช้ภูมิปัญญาชุมชนบูรณาการพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สรุปถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ จัดงานมหกรรมรวมพลคนสูงวัย ภายใต้สโลแกน “ฟันสวย ยิ้มสดใส |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุบูรณาการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีเครือข่าย ในการดำเนินการรักษา ส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ มีคณะกรรมการสมัชชาสุขภาพในระดับพื้นที่ดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่อง เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้านทันตสาธารณสุขในโรงเรียนผู้สูงอายุ/ชมรมผู้สูงอายุอย่างน้อย 2 ครั้ง/ ปี เกิดกิจกรรมแปรงฟันและส่งเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนผู้สูงอายุ/ชมรมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง เกิดการส่งเสริมภูมิปัญญาและอาชีพด้านการใช้สมุนไพรในชุมชนมาประยุกต์ใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุในการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เกิดการพัฒนาและบูรณาการแผนงาน/โครงการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาคี เกิดรูปแบบการดูแลและส่งเสริมทันตสุขภาพช่องปากกลุ่มผู้สูงอาย จะเห็นได้ว่าคุณค่าและประโยชน์ของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ“ฟันสวย ยิ้มสดใส สูงวัยสุขภาพดีที่นาบอน” ทำให้เกิดการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพช่องปากกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ พัฒนาเป็นรูปแบบด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพช่องปากกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการดูแลและส่งเสริมทันตสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมกลุ่มอาชีพด้านสมุนไพรในชุมชนในการดูแลทันตสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่อง |
|
ข้อเสนอแนะ : |
ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ทุกภาคส่วน ส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ“ฟันสวย ยิ้มสดใส สูงวัยสุขภาพดีที่นาบอน” ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงาน สามารถเป็นต้นแบบและขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นได้ต่อไป
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|