ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : พัฒนาระบบการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตและการดูแลผู้ป่วยจิตเวชแบบบูรณาการ
ผู้แต่ง : สุรพงศ์ คงบรรจบ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : จากสถานการณ์การผู้ป่วยจิตเวชในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านเก่าเดื่อ คือบ้านเก่าเดื่อหมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากรทั้งหมด จำนวน 1,197 คน ในปีงบประมาณ 2560 ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตและจิตเวช พบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จำนวน 6 คน ผู้ป่วยโรคจิตเภท จำนวน 7 คน สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่รับยาไม่ต่อเนื่อง โรคจิตจากการใช้สารเสพติด รวมทั้งเจ็บป่วยด้วยโรคทางกาย สภาพปัญหาด้านเศรฐกิจและสังคม ที่เป็นสาเหตุโรคซึมเศร้า ซึ่งน่าจะป้องกันได้หากมีการดูแลที่เหมาะสมตั้งแต่ต้นจากทีมสหวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย จิตแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ สาขาจิตเวช นักจิตวิทยา เจ้าหน้าที่ รพ.สต./สอ. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) รวมถึงญาติผู้ป่วยและคนในชุมชน จากสภาพเศรฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ส่งผลให้ประชากรในเขตพื้นที่ บ้านเก่าเดื่อ หมู่ที่ 6และหมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัญหาด้านสุขภาพจิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่เนื่องด้วยอัตราการเข้าถึงการบริการของผู้ป่วยยังมีน้อย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังคงกระจายอยู่ในชุมชน ผู้ป่วยจิตเวชป่วยจิตเวชต้องไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลแม่ข่ายคือ รพ.คำม่วง รพ.กาฬสินธุ์และรพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเป็นจำนวนมาก รวมทั้งเพื่อป้องกันการเกิดผู้ป่วยรายใหม่และค้นหาผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการตรวจรักษาที่ถูกต้อง สถานีอนามัยบ้านเก่าเดื่อ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคลอง เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการเข้าถึงบริการโรคจิตและโรคซึมเศร้า แบบบูรณาการนี้ขึ้น  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อเพิ่มการข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคจิตและโรคซึมเศร้า 2.เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตและโรคซึมเศร้าโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรคจิตและโรคซึมเศร้า  
เครื่องมือ : แบบสำรวจ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประชุมทีมครั้งที่ 1 แต่งตั้งคณะทำงานและประชุมชี้แจงคณะทำงาน บ้านเก่าเดื่อหมู่ 6 ,หมู่ 7 ต.ทุ่งคลอง 2. จัดอบรมพัฒนาศักยภาพ จนท.สอ ผู้นำชุมชน อสม.และญาติผู้ป่วย 3. ลงพื้นประชุมกลุ่มเป้าหมายในการออกเยี่ยมบ้านคัดกรองทุกกลุ่มวัย เพื่อคัดกรองหาผู้ป่วยสุขภาพจิต โรคจิตและโรคซึมเศร้า 4. ประชุมทีมลงพื้นที่เยี่ยมบ้านติดตามเยี่ยมผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังเพื่อเฝ้าระวังการขาดยาอาการกำเริบ ในผู้ป่วยรายเก่าและรายใหม่ เดือนละ 1 ครั้ง 5. ประชุมครั้งที่ 2 ประชุม ติดตามผลดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้ป่วยโรคจิตและโรคซึมเศร้า 6. ประชุมครั้งที่ 3 ประเมินผลดำเนินงาน 7. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ