ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ตำบลโพน อำเภอคำม่วงจังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ทิพวรรณ ทุมก่ำ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : ความเป็นมา : อุบัติเหตุทางจราจรนับเป็นปัญหาสาธารณสุข สังคมและเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ความเจริญทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ความสะดวกของถนนหนทาง ความรวดเร็วของพาหนะทำให้อุบัติการณ์ในการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบัติเหตุจากการจราจรทางบกซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น สร้างความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศชาติ ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางการจราจรเป็นอันดับ 2 ของโลก (องค์การอนามัยโลก) จังหวัดกาฬสินธุ์มีรายงานผู้บาดเจ็บ ในปี พ.ศ. 2555-2559 พบว่ามีจำนวน 2,371, 2,312, 2,255 2,783 และ 2,911 ราย ตามลำดับ มีรายงานผู้เสียชีวิต พ.ศ. 2555-2559 120,104,111,115และ104 ราย ตามลำดับ ตำบลโพน มีรายงานผู้เสียชีวิต ในปี 2555-2556 ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ปี 2557-2559 จำนวน 2,1,และ1 รายตามลำดับ ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางการจราจรมีแนวโน้มสูงขึ้น ในตำบลโพนพบรายงานผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ซึ่งผู้บาดเจ็บและตายส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มสาวและวัยทำงาน อุบัติเหตุมีสาเหตุจากหลายปัจจัย คือ ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ คนขับรถ ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ จากการประมาท ขับรถด้วยความเร็วสูงไม่ปฏิบัติตามกฎหรือสัญญาณจราจร ความผิดปกติของสภาพร่างกายและจิตใจ ปัจจัยด้านพาหะนะ ยานพาหะนะมีสภาพชำรุด ขาดการตรวจสอบและบำรุงรักษา ตลอดจนยานพาหะนะไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ปัจจัยด้านทางหรือถนน โครงสร้างถนนมีทางโค้งมาก หรือโค้งหักศอก ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ ถนนไม่มีเครื่องหมายเตือน ถนนไม่มีทางคน และทางรถเป็นสัดส่วน เป็นต้น และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม เช่น สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือทัศนวิสัยไม่ดี อุปกรณ์ความปลอดภัยไม่สมบูรณ์ สภาพแวดล้อมที่เกิดจากการทำงานของคน เช่น มลพิษ ซึ่งมีผลต่อความแปรปรวนของอารมณ์ จากการดำเนินงานการป้องกันอุบัติเหตุที่ผ่านมา พบว่า การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรซึ่งขาดการมีส่วนร่วม ความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ศึกษาจึงสนใจศึกษาการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการป้องกันอุบัติเหตุ ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยประยุกต์หลักทฤษฎีกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ Kemmis และ Mc Taggaet (1988)4 มีขั้นตอนคือ การวางแผน(Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนกลับ (Reflection) เพื่อการหาแนวทางที่ดีในการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุและกระตุ้นให้เกิดการดำเนินงานการป้องกันอุบัติเหตุที่ชัดเจนยิ่งขึ้น  
วัตถุประสงค์ : วัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อศึกษาการพัฒนาการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ในชุมชน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มตัวอย่างเป็นแบบ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1.ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุในชุมชน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 50 คน ซึ่ง ประกอบด้วย 1. อปท. 4 คน 2. ผู้นำชุมชน 10 คน3. สอบต.,สท. 10 คน4. อสม. 10 คน5. ครูในโรงเรียน 2คน6. กลุ่มวัยรุ่น 5 คน 7. แกนนำสุขภาพครัวเรือน 5 คน 8. เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุข 2 คน 9.ตำรวจ 1 คน 10 กรมทางหลวง 1 คน กลุ่มที่ 2.กลุ่มประเมินผลลัพธ์ คือ กลุ่มแกนนำสุขภาพจำนวน 100 คน ประกอบด้วย 1) ผู้ประสบภัย 20 2) แกนนำสุภาพ 20 3) อสม. 50 4) วัยรุ่น 10  
เครื่องมือ : แบบสอบถาม ตอนที่ 1 เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป จำนวน 4 ข้อ ตอนที่ 2 แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับกฎจราจรการป้องกันตนเองจากอุบัติเหตุจราจร จำนวน 20 ข้อ ตอนที่ 3 แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากอุบัติเหตุจราจร จำนวน 20 ข้อ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบบันทึกภาคสนาม ถอดบทเรียนการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนที่ 1 Planning การศึกษาบริบทและวิเคราะห์สถานการณ์ ขั้นที่ 2 การจัดทำแผนพัฒนาการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุ โดยใช้กระบวนการ AIC ขั้นที่ 3 Action การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ขั้นที่ 4 Observation กาประเมินผลการดำเนินงาน และขั้นที่ 5 Reflection การวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จและถอดบทเรียนและคืนข้อมูล  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ