ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : มาตรวจตามนัด ป้องกัน ขาดยา
ผู้แต่ง : ดรุณี กลีบมะลิ,ผ่องใส ก้องเวหา,พัชรินทร์ ทัพวิเศษ,วิไลวรรณ ชมวีระ,วิวาพร แสนบุญ,ปาริชาติ ศิริธรรมจักร,ญาณิกา วุฒิสาร,รัชนี งามแสง,ไพฑูรย์ คงสามารถ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลห้วยผึ้งเปิดให้บริการโรคเรื้อรังความดันโลหิตสูง, เบาหวาน และคลินิกไตเรื้อรัง ใน วันอังคาร, พุธ , พฤหัสบดี และวันศุกร์ พบว่าในแต่ละวันจะมีจำนวนผู้ป่วยมารับบริการในคลินิกมาก น้อยแตกต่างกัน เนื่องจากผู้ป่วยบางคนมาไม่ตรงนัด ปัญหา 1.ผู้ป่วยคลินิกโรคเรื้อรังมาตรวจไม่ตรงนัด 2. ผู้ป่วยเกิดความไม่พึงพอใจ  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับยาต่อเนื่องตามนัด 2. เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจ  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน , ความดันโลหิตสูง และ โรคไตวายเรื้อรัง  
เครื่องมือ : 1.ร้อยละผู้ป่วยมาตามนัดคิดเป็น 95% 2.ความพึงพอใจของผู้รับบริการมากขึ้น  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประชุมทีมงานโดยนำปัญหาและสาเหตุมาวิเคราะห์ 2. หาแนวทางแก้ไขปัญหา 3 จัดระบบนัดหมายผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่เกินวันละ 80 คน 4.มอบหมายให้พยาบาล 1 คน จัดตารางนัดหมายในวันคลินิกเรื้อรัง ให้กับทีมงาน ได้แก่ แพทย์ พยาบาลหลังตรวจ 5.ประสานงานกับผู้ดูแลระบบ โปรแกรม Hos- xp เพื่อนำระบบเทคโนโลยีมาช่วยงาน 6.ช่วงบ่ายของวันคลินิกเรื้อรังนั้นๆ จะให้ผู้รับผิดชอบนำรายชื่อผู้ป่วยที่ไม่มีตามนัด และส่งข้อมูลไปที่ รพ.สต.ในพื้นที่ คปสอ.ห้วยผึ้งเพื่อติดตามให้ผู้ป่วย หรือญาติมารับยาต่อไป 6. ติดตามประเมินผล และค้นหาปัญหา เพื่อพัฒนาให้ระบบนัดหมายดียิ่งๆ ขึ้นไป Performance :  
     
ผลการศึกษา : 1.ร้อยละผู้ป่วยมาตามนัดคิดเป็น 80% 2.ร้อยละความพึงพอใจคิดเป็น 88.35% ถอดบทเรียน - ยังพบว่ามีผู้ป่วยที่ไม่ตระหนักเรื่องของการมาตามนัด เพราะบอกว่ายังมียากินเหลืออยู่ - ปรับเพิ่มคลินิกโรคความดันโลหิตสูง ในเขตตำบลนิคมห้วยผึ้ง เป็นบ่ายวันพฤหัสบดี เพื่อลดปริมาณผู้ป่วยในวันคลินิกโรคความดันโลหิตสูงที่มีเพียงวันอังคารแค่วันเดียว  
ข้อเสนอแนะ : การจัดยาให้ตรงจำนวนวันนัดหมายของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ขาดยา และมารับบริการตามนัด  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ