ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การดูแลรักษาผู้ป่วย Stroke
ผู้แต่ง : สุนันท์ เพ็งโสภา,ระดาวัลย์ แก้วกิ่ง,ขนิษฐา ไชยทองศรี,วานิช ศรีสุข,จารุวรรณ คงอาจ,ดวงพร วิชัยโย,ละมัย ศิริษา,กนกพร โชคทวีทรัพย์ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : ข้อมูล จากปีที่ผ่านๆ มาพบว่าการประเมินคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) มีความล่าช้าและขาดความถูกต้อง อีกทั้งการนำส่งผู้ป่วยของญาติล่าช้า ไม่ตระหนักถึงอาการเจ็บป่วย เนื่องจากญาติขาดข้อมูล ความรู้เรื่องโรค และไม่ทราบถึงช่องทางการเข้าถึงโรงพยาบาลอย่างรวดเร็วและทันท่วงที บุคลากรทางโรงพยาบาลจึงมีแนวคิดกระจายข้อมูลการให้ความรู้ผ่านหน่วยงาน EMS ชุมชน อสม. และในคลินิกผู้ป่วยเรื้อรัง และจัดทำแบบฟอร์มการเก็บข้อมูล เพื่อการเก็บข้อมูลที่ง่ายขึ้นและแม่นยำ  
วัตถุประสงค์ : : - เพื่อให้ชุมชนมีความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และตระหนักถึงความสำคัญเพื่อเข้ารักษาให้ทันตามระยะเวลา - เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ได้เข้าถึงระบบบริการที่ง่ายขึ้น และรวดเร็วภายในเวลาที่กำหนด - เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำ  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ดูแลผู้ป่วยทุกราย ผู้ป่วย Strokeทุกราย ทีมกู้ชีพทุก อปท.  
เครื่องมือ : 1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมาโดย EMS มากกว่าร้อยละ 30 2. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันที่เข้าระบบ Stroke Fast Track มากกว่าร้อยละ 30 3. อัตราการตาย น้อยกว่าร้อยละ 5 4. Door to Refer ภายใน 30 นาที มากกว่าร้อยละ 50  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. พัฒนาระบบ EMS โดยการประชาสัมพันธ์ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน สายด่วน 1669 เมื่อเกิดอาการฉุกเฉินดังกล่าว และให้ความรู้กับบุคลากรเช่น เจ้าหน้าที่กู้ชีพชุมชน และ อสม. 2. ประสานการคัดกรองกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง DM/HT/AF ที่มีในคลินิกในโรงพยาบาล และใน รพ.สต. เพื่อให้ความรู้กับผู้ป่วยและญาติ อย่างครอบคลุมทุกสัปดาห์ จัดทำนามบัตรแสดงอาการของโรค/เบอร์โทรติดต่อ EMS ท้องถิ่น จัดทำ CD หมอลำเสียงตามสายประสานงานไปยังผู้นำหมู่บ้านทุกหมู่บ้านให้เปิดเสียงตามสายตอนเช้าของทุกวัน 3. จัดทำสื่อป้ายโมเดลประชาสัมพันธ์เพื่อความเข้าใจอาการสำคัญของโรคที่เข้าใจได้ง่ายขึ้นตามที่สาธารณะ โรงพยาบาล และ รพ.สต ทุกแห่ง 4. จัดทำแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เพื่อง่ายต่อการติดตามข้อมูลผู้ป่วย  
     
ผลการศึกษา : ในรอบปี 2561 (ต.ค 60 -มิ.ย 61) จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 19 คน ที่ผ่านมา พบว่าการมาของผู้ป่วยโดยระบบ EMS 6 คน คิดเป็นร้อยละ 31.6 ผู้ป่วย Stroke เข้าสู่ระบบ Stroke fast track ได้ทันเวลา 8 คนเฉลี่ยร้อยละ 50 และ Door to Refer ภายใน 30 นาที 5 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5 เวลาเฉลี่ย Refer อยู่ที่ 34 นาที  
ข้อเสนอแนะ : การประชาสัมพันธ์เชิงรุก และการให้ความรู้เรื่องโรค การทำนามบัตร และการใช้สื่อเสียงตามสาย ทำให้ประชาชนสามารถประเมินอาการเบื้องต้น และรีบเข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว แต่การนำส่งโดยระบบ EMS ยังน้อยมากเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มีรถยนต์ส่วนตัวซึ่งสะดวกต่อการมารับบริการได้ง่ายกว่า แต่โดยความเป็นจริงแล้วต้องการให้ผู้ป่วยที่เข้าข่ายโรคหลอดเลือดสมองได้รับการนำส่งโดย EMS เพื่อการดูแลที่ดีกว่า ทั้งนี้ต้องเน้นการเพิ่มการประชาสัมพันธ์ผ่านคลินิกโรคเรื้อรังที่มากขึ้น ประชาสัมพันธ์ซ้ำๆ ทุกสัปดาห์เพื่อให้เกิดการจดจำและเกิดการพึงระวังต่อโรคได้มากขึ้น จากการเก็บข้อมูลโดยแบบฟอร์มทำให้ได้เวลาการเข้ารับบริการ ระยะเวลาในการนำส่งได้ถูกต้องแม่นยำ 100%  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)