ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงโดยการใช้คูปองสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านนาตาหลิ่ว อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : สุปิยา พิมพ์แก้ว, ภูเบศวร์ วิชัยโย, กัลยาณี ศรีเจริญ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : จากการดำเนินงานในปี พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมารับยาที่ รพ.สต.นาตาหลิ่ว ร้อยละ 79.40 และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 73.85 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 44.52 และควบคุมน้ำตาลไม่ได้ ร้อยละ 55.47 ส่งต่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเขาวง ร้อยละ 25.2 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ ร้อยละ 85.42 ไม่อยู่เกณฑ์ ร้อยละ 14.58 ส่งต่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ ร้อยละ 4.17 ซึ่งแนวโน้มของผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการที่ รพ.สต. มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และแนวโน้มของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงกว่าเกณฑ์ และส่งต่อผู้ป่วยกลับไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลมีแนวโน้มมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงได้ทราบภาวะเสี่ยงของตนเอง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม และเจ้าหน้าที่ได้ทราบข้อมูลความเสี่ยงของผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้องเหมาะสม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาตาหลิ่วจึงได้ดำเนินการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง โดยการใช้คูปองสุขภาพ เพื่อเป็นการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเสี่ยง และ เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยที่ไม่เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนากิจกรรม และกระบวนการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง 2. เพี่อเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมภัยสุขภาพจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง 3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถจัดการตนเองและพึ่งตนเองได้อย่างเหมาะสม  
วัตถุประสงค์ :  
กลุ่มเป้าหมาย :  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) ระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง ตุลาคม 2560 – เมษายน 2561 ประชากรคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 134 คน ประกอบด้วย 1.จัดบริการคลินิกเบาหวาน ความดัน เดือนละ 2 ครั้ง เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาล วัดความดันโลหิต พร้อมแบ่งผู้ป่วยตามระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิต ติดสติ๊กเกอร์สีตามระดับความเสี่ยงในแฟ้มประวัติผู้ป่วย และสมุดประจำตัวผู้ป่วย โดยการแบ่งระดับความเสี่ยงตามคูปองสุขภาพ 2. เก็บข้อมูลพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงทั้งที่ควบคุมระดับน้ำตาล ระดับความดันโลหิตได้ และไม่ได้ 3. จัดกิจกรรม ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาล ระดับความดันโลหิตไม่ได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพระหว่างผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลระดับความดันโลหิตได้ดี 4. มอบรางวัลผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยความดันโลหิตตัวอย่าง คือผู้ป่วยที่ได้คูปองสีเขียว 6 เดือน ขึ้นไป และนำคูปองสีเขียวที่น้อยกว่า 6 เดือน มาจับชิงโชคเพื่อมีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัล  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง