|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็ก0-5 ปี โดยการสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วม ของภาคีเครือข่ายสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านโนนสะอาด อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
รัตนมาลา ภูชมศรี, สันติ อุทรังษ์,จอมศรี สุคนธะ,สุธาทิพย์ สิมมะลิ |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากการสำรวจพัฒนาการเด็กปฐมวัยของกรมอนามัย พบว่า ภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ มีเพียงร้อยละ 70.21 มากกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 9.07 น้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 7.36 และความสูงเทียบอายุตามเกณฑ์ ร้อยละ 76.66 เตี้ย ร้อยละ 9.10 น้ำหนักเทียบส่วนสูง พบว่า สมส่วน ร้อยละ 67.71 อ้วน ร้อยละ 6.75 และพบความชุกของปัญหาภาวะโภชนาการเกินในเด็กวัยเรียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนการสำรวจ IQ นักเรียนไทยทั่วประเทศ พบ IQ เฉลี่ย 98.59 ต่ำกว่าค่ากลางมาตรฐานสากล (IQ =100) และเมื่อดูในภาพรวมของประเทศ พบว่า มีเด็กเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 48.5) ที่มีปัญหาระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ (IQ <100) และยังพบเด็กกลุ่มที่มีปัญหาระดับสติปัญญาบกพร่อง (IQ <70) อยู่ถึงร้อยละ 6.50 เมื่อเทียบกับมาตรฐานสากลคือ ไม่ควรเกินร้อยละ 2 จากที่ผ่านมางานด้านสุขภาพ ส่วนมากคิดว่าเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าสาธารณสุขฝ่ายเดียวทำให้การดำเนินในการคัดกรองพัฒนาการเด็กทำได้ไม่ครอบคลุมตามกลุ่มเป้าหมาย ระบบในการเชื่อมประสาน ระหว่าง รพ แม่ข่าย / รพ.สต. /ศพด/สุขศาลา/ชุมชน ที่ไม่ชัดเจน การคืนข้อมูลลงสู่ชุมชนยังมีน้อย ทำให้ชุมชนไม่ตระหนักและไม่เห็นความสำคัญของเรื่องพัฒนาการเด็ก จากปัญหาและผลกระทบดังกล่าวข้างต้น การแก้ปัญหาสุขภาพของทุกกลุ่มเด็ก 0-5 ปี โดยการสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก0-5 ปี ให้มีสุขภาพดีพัฒนาการตามวัยตัวชี้วัดตัวหนึ่งในเป้าประสงค์ที่ 3 คนกาฬสินธุ์ทุกกลุ่มวัยและกลุ่มคนพิการได้รับการส่งเสริม เฝ้าระวัง ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสภาพ ที่มีมาตรฐาน และส่งผ่านสู่กลุ่มวัยอย่างมีคุณภาพ ให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพอนามัยดีและคุณภาพชีวิตที่ดีมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการ โดยแบบคัดกรอง DSPM 100% ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการตามเกณฑ์และเพื่อให้เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม |
|
วัตถุประสงค์ : |
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
|
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์(อสม. 35 คน,ครูอนามัยโรงเรียน 4 คน,ตัวแทนผู้ปกครอง 14 คน ) จำนวน 53 คน ระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือน 1 ตุลาคม 2560- 31 มีนาคม 2561 โดยการ 1)การสะท้อนปัญหาและข้อมูลสู่ชุมชน 2) ภาคีเครือข่ายร่วมกำหนดบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในการตรวจคัดกรองและกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 3) ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการกับภาคีเครือข่ายในการใช้แนวทาง DSPM เพื่อให้สามารใช้แบบคัดกรองได้ถูกต้อง 4) คัดกรองพัฒนาการเด็ก อสม 1ครั้ง/เดือนครู 1 ครั้ง/เดือน และเจ้าหน้าที่ 1 ครั้ง/เดือน และรณรงค์ คัดกรองตรวจพัฒนาการเด็ก 1 ครั้ง/ปี 5)ส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็ก กลุ่มปกติ กลุ่มสงสัย กลุ่มล่าช้า 6)วิเคราะห์ปัญหาโดยภาคีเครือข่าย/ทีม เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขและส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็ก(PDCA) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล 1) แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม ( Focus Group Discussion )เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประชุมกลุ่มย่อยกลุ่มละ 8 – 10 คนบันทึกการสนทนากลุ่มด้วยเครื่องบันทึกเสียงและการจดบันทึก 2)แบบประเมินDSPM 3)แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|