|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาแนวทางคัดกรองผู้ป่วย Sepsis และ Septic shock โรงพยาบาลห้วยผึ้ง |
ผู้แต่ง : |
ดวงพร วิชัยโย,ระดาวัลย์ แก้วกิ่ง, ขนิษฐา ไชยทองศรี, วานิช ศรีสุข,จารุวรรณ คงอาจ, กนกพร โชคดีทวีทรัพย์, สุนันท์ เพ็งโสภา, ละมัย ศิริษา |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรงพยาบาลห้วยผึ้งเป็นโรงพยาบาล 30 เตียง ไม่มีอายุรแพทย์และพยาบาลเฉพาะทาง มีแพทย์ทั่วไป 3 คน สถิติการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ 3 ปีย้อนหลัง (ปี 2558 – มิถนายน 2561) พบผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อ ปี 2558,2559 และ 2560,2561 มี 9 ราย, 25 ราย ,37 ราย ,และ 21 ราย ตามลำดับ กลุ่มเสี่ยงพบมากในผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะในกลุ่มเบาหวาน และกลุ่มไตวายเรื้อรัง โรคติดเชื้อที่ทำให้เกิด อันดับ ภาวะปอดอักเสบ (Pneumonia), ภาวะติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (UTI) , ติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร (AGE), แผลติดเชื้อ (Cellulitis) ตามลำดับพบ การส่งผู้ป่วย Septic shock ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลจังหวัดล่าช้า ตั้งแต่ปี ปี 2558 – มิถุนายน 2561 จำนวน 33.33 %, 32 %, 13.51 % ,71.42% ตามลำดับ จากการทบทวนเวชระเบียนพบปัญหาการวินิจฉัยได้ช้ามาจากอาการที่ไม่ชัดเจน ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยล่าช้าการรักษาจะช้า ก่อนหน้าทีมบุคลากรใช้แบประเมินการคัดกรองโดยใช้ SIRs score จึงได้นำแบบคัดกรองโดยใช้ Quick SOFA เพื่อปรับปรุงกระบวนการคัดกรอง ผู้ป่วยกำหนดซึ่งเน้นการวินิจฉัยอย่างรวดเร็วการให้ยาปฏิชีวนะในเวลา การส่งต่อที่ทันเวลา |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. ผู้ป่วยวินิจฉัย Sepsis และ Septic shock ได้รับการคัดกรองโดยใช้ QuickSOFA
2. ผู้ป่วยวินิจฉัย Sepsis และ Septic shock ได้รับการรักษาและส่งต่อได้อย่างที่เหมาะสมและทันเวลา
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยวินิจฉัย Sepsis และ Septic shock ทุกราย โดย
1. ผู้ป่วยวินิจฉัย Sepsis และ Septic shock ได้รับการคัดกรองโดยใช้ QuickSOFA
2. ผู้ป่วยวินิจฉัย Sepsis และ Septic shock ได้รับการรักษาและส่งต่อได้อย่างที่เหมาะสมและทันเวลา
|
|
เครื่องมือ : |
ตัวชี้วัด
1. อัตราผู้ป่วยได้รับวินิจฉัย ภายใน 1 ชม. >ร้อยละ 80
2. อัตราผู้ป่วยได้รับ การเจาะ H/C ภายใน 45 นาที >ร้อยละ 80
3. อัตราผู้ป่วยได้รับ IV antibiotic ภายใน 1 ชั่วโมง >ร้อยละ 80
4. อัตราผู้ป่วยได้รับส่งต่อภายใน 90 นาที >ร้อยละ 80
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
Plan
1. ปรับปรุงแบบคัดกรองโดยใช้ QuickSOFA
2. ปรับปรุงแนวทางการคัดกรองและการประเมินซ้ำในผู้ป่วยที่สงสัย Sepsis และ Septic shock
Do
1. จัดทำแนวทางการคัดกรอง Sepsis และ Septic shock ได้รับการคัดกรองโดยใช้ QuickSOFA
2. พัฒนาระบบการเข้าถึงบริการโดยการคัดกรอง ณ จุดคัดแยก โดยใช้ QuickSOFA
3. ปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย Sepsis และ Septic shock ตามGuideline Sepsis2018
4. กำหนดระยะเวลารอผล Lab เพื่อการ ที่เหมาะสม ตามแนวทางที่กำหนด CBC ภายใน 30 นาที
5. กำหนดระยะเวลาในการได้รับยา IV ATB ภายใน 1 ชั่วโมง หลังแพทย์วินิจฉัย
6. เฝ้าระวังและติดตามอาการผู้ป่วย Sepsis โดยใช้ SOS score ในการประเมินทุก 30 นาที - 1 ชม.
เพื่อให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมและทันเวลา
7. เน้นบุคลากรปฏิบัติตามแนวทาง IC เพื่อป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลต่อเนื่อง
8. มีการทบทวน case การดูแลผู้ป่วย Sepsis ทุกรายร่วมกับ ทีมสหวิชาชีพ ทุก 3 เดือน
9. นำเสนอข้อมูลที่พบปัญหาให้เจ้าหน้าที่ทุกคนในหน่วยงานได้รับทราบ และหาแนวทางการแก้ไขปัญหา
Check: จากการดำเนินงานในช่วง 3 เดือนแรก เดือน ตุลาคม 2560 ถึง มิถุนายน 2561 จำนวนผู้ป่วย Sepsis ทั้งหมด 21 ราย และเกิดภาวะSepsis และ Septic Shock มีแนวโน้มลดลง เมื่อเทียบกับปี 2560 และยังพบจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิตจากภาวะ severe sepsis จำนวน 1 ราย และข้อมูลอื่นๆ ดังต่อไปนี้
ลำดับ ตัวชี้วัด เป้าหมาย 2558
2559
2560 2561-มิ.ย.2561
1 อุบัติการณ์เสียชีวิตจาก Septic shock < 30% 11.11
(1/9) 8
(2/25) 5.4
(2/37) 4.7
(1/21)
2 Door to Dx.ภายในเวลา 1 ชั่วโมง 0 33.33
(3/9) 32
(8/25) 13.51
(5/37) 71.42
(15/21)
3 Door to H/C ภายใน 45 นาที 80% 33.33
(3/9) 28
(7/25) 87.18 (33/37) 85.71
(18/21)
4 Door to Antibiotic ภายในเวลา 1 ชั่วโมง 80% 88,88
(8/9) 64
(16/25) 81.08
(30/37) 71.42
(15/21)
5 Door to refer ภายใน 90 นาที 80% 66.66
(6/9) 68
(17/25) 40.54
(15/37) 52.38
(11/21)
6 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ CPG sepsis 80 % 33.33
(3/9) 28
(7/25) 86.48
(32/37) 46.66
(15/21)
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ลำดับ ตัวชี้วัด เป้าหมาย 2558
2559
2560 2561-มิ.ย.2561
1 อุบัติการณ์เสียชีวิตจาก Septic shock < 30% 11.11
(1/9) 8
(2/25) 5.4
(2/37) 4.7
(1/21)
2 Door to Dx.ภายในเวลา 1 ชั่วโมง 0 33.33
(3/9) 32
(8/25) 13.51
(5/37) 71.42
(15/21)
3 Door to H/C ภายใน 45 นาที 80% 33.33
(3/9) 28
(7/25) 87.18 (33/37) 85.71
(18/21)
4 Door to Antibiotic ภายในเวลา 1 ชั่วโมง 80% 88,88
(8/9) 64
(16/25) 81.08
(30/37) 71.42
(15/21)
5 Door to refer ภายใน 90 นาที 80% 66.66
(6/9) 68
(17/25) 40.54
(15/37) 52.38
(11/21)
6 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ CPG sepsis 80 % 33.33
(3/9) 28
(7/25) 86.48
(32/37) 46.66
(15/21)
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
1. ออกแบบระบบการประเมิน QuickSOFA ในเวชระเบียน เพื่อให้บุคลากรเข้าถึงการประเมินได้ง่าย
2. ปรับระบบการให้ยา IV antibiotic ทันทีที่แผนกอุบัติเหตุฉุกฉิน
3. มีการ Monitor ผู้ป่วย Sepsis และ Septic shock โดยใช้ SOS Score ขณะสังเกตอาการที่ห้องฉุกเฉิน
4. พัฒนาการติดตามและการรายงานผลการเพาะเชื้อในทันทีเพื่อให้ได้ยา IV antibiotic ให้ครอบคลุมเชื้อ
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|