|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ในพื้นที่ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
เกษม ไชยฤทธิ์*, อำพร อนุทัย**, วรกร วิชัยโย |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคพยาธิใบไม้ตับเป็นหนึ่งในหลายๆ โรคที่มีความสำคัญทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก โรคพยาธิใบไม้ตับเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน และพบว่ามีการติดเชื้อซ้ำบ่อยๆในระยะยาว ถือได้ว่าโรคพยาธิใบไม้ตับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับต้นๆ ของประเทศอัตราความชุกของโรคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี2557 พบว่ามีค่าความชุกอยู่ที่ 16.9 ต่อแสนประชากร และแยกเป็นรายจังหวัดเรียงจากมากสุดไปน้อยสุด คือ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น และมหาสารคาม และมีอัตราความชุก คือ 22.3, 18.9, 11.0 และ 10.8 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ความชุกโรคพยาธิใบไม้ตับในเขตสุขภาพที่ 7 ขอนแก่น ได้จำแนกรายกลุ่มอายุ ปี 2557 (30 cluster sampling, modified Kato Katz) อยู่ในช่วงอายุ 50-59, 40-49 และ มากกว่า 60 ปี ตามลำดับ มีร้อยละอยู่ที่ 27.8, 27.6 และ 27.2 ตามลำดับ (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์, 2557) และจากการายงานอัตราความชุกของโรคพยาธิใบไม้ตับของจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ในปี 2556, 2554 และ 2552 มีอัตราความชุก 13.4, 25.9 และ 27.4 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และในปี พ.ศ. 2557 จากการสุ่มตรวจพยาธิใบไม้ตับในจังหวัดกาฬสินธุ์ จากกลุ่มตัวอย่าง 771 ตรวจพบ ไข่พยาธิใบไม้ตับ 165 คน คิดเป็นร้อยละ 23.2 (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์, 2557) |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุตั้งแต่ 30ปีขึ้นไปในพื้นที่ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์จำนวน6,462คน ได้กลุ่มตัวอย่างที่จำนวน 400คน |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุตั้งแต่ 30ปีขึ้นไปในพื้นที่ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์จำนวน6,462คน ได้กลุ่มตัวอย่างที่จำนวน 400คน |
|
เครื่องมือ : |
แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับแบ่งดังนี้ คือแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป และแบบสัมภาษณ์ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analytic Study) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับแบ่งดังนี้ คือแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป และแบบสัมภาษณ์ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาสำหรับข้อมูลทั่วไป และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานเพื่อใช้หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการป้องกันโรค ใช้ค่า Chi-Square กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่p-value <0.05 และการหาอัตราการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับโดยใช้ค่า Odds Ratio และ 95% CI |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
พบว่ามีกลุ่มที่ไม่เสี่ยงฯ จำนวน 128คน ร้อยละ 32.0จากการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับมีนัยสำคัญที่ p-value<0.05 จำนวน 9ปัจจัยได้แก่ข้อมูลทั่วไป เช่น คนที่ไม่ประกอบอาชีพรับจ้างมีอัตราป้องกันโรคเป็น 2.16เท่า(95%CI=1.15-7.42)และคนที่ไม่ได้ทำนาปรังมีอัตราป้องกันโรคเป็น 1.90 เท่า (95%CI=1.14-3.18) และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคฯ แบ่งได้ดังนี้พฤติกรรมการไม่กินปลาดิบ ดังนี้ (1)คนที่ไม่ติดใจในรสชาติอาหารจากปลาดิบมากกว่าทำให้สุกมีอัตราป้องกันโรคเป็น 2.70เท่า (95%CI=1.70-4.27) (2)คนที่ไม่กินอาหารจากปลาดิบตามคำชักชวนของเพื่อนหรือเพื่อนบ้านมีอัตราป้องกันโรคเป็น 3.00เท่า (95%CI=1.93-4.66) (3)คนที่ไม่กินอาหารจากปลาดิบตั้งเด็ก มีอัตราป้องกันโรคเป็น 1.67เท่า (95%CI=1.09-2.55) (4)คนที่ไม่กินอาหารอาหารจากปลาดิบเพื่อเข้าสังคม มีอัตราป้องกันโรคเป็น 1.89เท่า (95%CI=1.04-3.45) (5) คนที่ไม่กินอาหารอาหารจากปลาดิบในช่วงฤดูฝนหรือช่วงทำนา มีอัตราป้องกันโรคเป็น 1.80 เท่า (95%CI=1.05-3.09) และ (6) คนที่ไม่กินอาหารอาหารจากปลาดิบในช่วงฤดูแล้งโดยเฉพาะช่วงที่มีการเปิดบ่อให้หาปลา มีอัตราป้องกันโรคเป็น 2.71 เท่า (95%CI=1.10-6.60) ตามลำดับ และด้านความรู้ พบว่า คนที่มีความรู้ในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ อยู่ในระดับสูง มีอัตราการป้องกันโรค 0.14 เท่า(95%CI=0.049-0.396) |
|
ข้อเสนอแนะ : |
ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป ถึงแม้จะพบว่าบุคคลที่มีพฤติกรรมในการกินปลาดิบแล้วไม่เสี่ยงต่อการป่วยต่อโรคพยาธิใบไม้ตับ แต่ก็เป็นเพียงกลุ่มตัวอย่างในบางส่วนที่ได้ทำการศึกษาซึ่งพบว่ามีร้อยละของความไม่เสี่ยงน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา และพบว่า ความตระหนักและหลักการปฏิบัติยังไม่ถูกต้องเท่าที่ควร การให้ความตระหนักเรื่องการกินอาหารจากปลาดิบโดยเฉพาะการไม่ไปชิมอาหารที่ทำจากอาหารปลาดิบ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินที่เหมาะสมโดยเฉพาะให้กินสุกที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมการกินของคนอีสาน วิธีการทำให้เกิดความตระหนักถึงผลกระทบต่อชีวิต และทรัพย์สิน การสูญเสียของสถาบันครอบครัวอันเป็นผลมาจากการป่วยเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับสืบไป |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|