ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาการให้บริการแพทย์แผนไทยให้เข้าถึงง่ายทุกกลุ่มวัย
ผู้แต่ง : ทัศนีย์ สุลำนาจ,กัมปนาท คำหงศ์สา,สุภาวงษ์ ประทุมวงษ์ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : จากตัวชี้วัดของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่องร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐาน สำหรับโรงพยาบาลชุมชน ต้องได้ ≥ ร้อยละ 20 ซึ่ง ข้อมูล ณ ปัจจุบัน แพทย์แผนไทยโรงพยาบาลห้วยผึ้งมีร้อยละการให้บริการอยู่ที่ ร้อยละ 16.62 ยังไม่ผ่านตัวชี้วัด แสดงให้เห็นว่าประชาชนในอำเภอห้วยผึ้งยังเข้าถึงการบริการแพทย์แผนไทยไม่มากนัก การให้บริการแพทย์แผนไทย อันได้แก่ นวด ประคบ อบสมุนไพร จ่ายยาสมุนไพร ดูแลมารดาหลังคลอดด้วยการทับหม้อเกลือ จากร้อยละผู้ป่วยนอกได้รับบริการแพทย์แผนไทยปีที่ผ่านมา ในปี 2559 ได้ร้อยละ 13.67 / ปี 2560 ได้ร้อยละ 15.49 เมื่ออัตราผลงานเพิ่มขึ้นไม่เป็นที่พอใจ งานแพทย์แผนไทยจึงได้เพิ่มบริการให้สุขศึกษา พูดให้ความรู้ในผู้ป่วยเบาหวานทุกวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ ซึ่งเป็นวันที่ออกตรวจ OPD คู่ขนาน ทำให้ปี 2561 ผลงานขึ้นมาที่ร้อยละ 16.62 เพื่อให้การเข้าถึงแพทย์แผนไทยเพิ่มมากขึ้น งานแพทย์แผนไทยจึงได้ปรึกษากัน วางแผนการให้บริการที่จะบูรณาการให้ความรู้/สุขศึกษาร่วมกับคลินิกอื่นนอกจากคลินิกเบาหวาน ได้แก่ คลินิกความดัน, คลินิกโรคไต, คลินิกCOPD และคลินิกแม่และเด็ก จะมีการจัดทำสื่อให้ความรู้และประสานงานกับแต่ละคลินิกในลำดับต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อการเข้าถึงความรู้/การบริการแพทย์แผนไทยที่ง่ายขึ้น 2. เพื่อได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพรที่ถูกต้องกับอาการ/โรค 3. เพื่อผ่านตัวชี้วัดของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ในเรื่องผู้ป่วยนอกได้รับบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐานสำหรับโรงพยาบาลชุมชน  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเป้าหมาย 1. คลินิกความดัน 2. คลินิกโรคไต 3. คลินิกCOPD 4. คลินิกแม่และเด็ก  
เครื่องมือ : ตัวชี้วัด ร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐาน ≥ ร้อยละ 20  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. งานแพทย์แผนไทยปรึกษา วางแผน การนำองค์ความรู้แพทย์แผนไทยเพื่อป้องกัน/ส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยกลุ่มโรคอื่นนอกจากเบาหวาน ซึ่งมีงานคลินิกที่สามารถนำองค์ความรู้แพทย์แผนไทยไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพได้แก่ คลินิกความดัน, คลินิกโรคไต, คลินิกCOPD และคลินิกแม่และเด็ก 2. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบคลินิก 3. จัดทำสื่อให้ความรู้ เช่น แผ่นโปสเตอร์ สื่อตั้งโต๊ะ ไว้ใช้ให้ความรู้กับผู้มารับบริการคลินิกนั้นๆ 4. บันทึกข้อมูลการให้สุขศึกษาลงในโปรแกรม HosXp  
     
ผลการศึกษา : อยู่ระหว่างการประมวลผล  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ