ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาความรู้และทักษะในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดาหลังคลอด
ผู้แต่ง : จารวี เพ็งโสภา ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : นมแม่นับเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์มากมายทั้งต่อทารก มารดา จากประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO)และองค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ(UNICEF) จึงได้สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั่วโลก โดยให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวโดยไม่ป้อนอาหารอื่นเลยแม้แต่น้ำตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งลูกอายุครบ 6 เดือน (exclusive breastfeeding) หลังจากนั้นจึงเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควบคู่กับอาหารเสริมตามวัยจนกระทั่งลูกอายุครบ 2 ปี หรือนานกว่านั้น และจัดทำโครงการโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก (Baby Friendly Hospital) เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ประสบความสำเร็จ โดยยึดขั้นตอน “บันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่” (ten steps to successful breastfeeding) เป็นแนวทางในการปฏิบัติ(WHO/UNICEF, 2003) ในประเทศไทย ซึ่งรพ.ห้วยผึ้งก็ได้ร่วมดำเนินการในโครงการโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกด้วยเช่นกัน แต่เรายังพบว่าปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ประสบความสำเร็จนั้นเกิดจากตัวแม่เองด้วย อาทิเช่น แม่วัยเรียน แม่ทำงานนอกบ้าน น้ำนมมาน้อย ลูกไม่ยอมดูดนม หัวนมแตก หัวนมบอด เจ็บหัวนม เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้แม่เกิดความท้อแล้วเลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมมากขึ้น หากแม่ได้รับความปรึกษาแนะนำอย่างถูกต้องเหมาะสมจากบุคลาการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีความพร้อมความชำนาญประสบการณ์เพียงพอ ก็จะทำให้มีการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จมากยิ่งขึ้น จำนวนผู้รับบริการปี2557-2560 มีจำนวนผู้รับบริการ 85, 141, 103และ 115 ตามลำดับ อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน (ร้อยละ) 64.95, 62.14,79.31และ66.67จากการเก็บข้อมูลทำให้ทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลที่จำนวนผู้รับบริการไม่คงที่ และเก็บข้อมูลไม่ได้ครบตามจำนวนผู้ที่มารับบริการคลอดที่รพ. จึงมีการต่อยอดพัฒนาจากการเก็บข้อมูลแบบเดิมเปลี่ยนเป็นการติดตามเยี่ยมหลังคลอดทางโทรศัพท์  
วัตถุประสงค์ : เพื่อส่งเสริมพัฒนาความรู้และทักษะในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดาหลังคลอด  
กลุ่มเป้าหมาย : มารดาหลังคลอดทุกราย  
เครื่องมือ : ร้อยละของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. วิเคราะห์หาสาเหตุปัญหาแล้วนำมาหาวิธีแก้ไขปัญหา 2. จัดให้ความรู้มารดาหลังคลอดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 3. มีการติดตามเยี่ยมหลังคลอด โดยการโทรติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทุก 2,4,6 เดือนพร้อมทั้งให้ความปรึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทางโทรศัพท์ 4. สรุปปัญหาในแต่ละเดือนเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่สำเร็จ  
     
ผลการศึกษา : จำนวนเดือน ปีงบ ปี 57 ปี 58 ปี 59 ปี 60 ปี 61 กินนมแม่อย่างเดียว 2 เดือน 89.26 89.63 76.99 76.38 97.5 กินนมแม่อย่างเดียว 4 เดือน 86.14 70.54 86.46 56.56 56.25 กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน 64.95 62.14 79.31 42.79 50  
ข้อเสนอแนะ : จากการข้อมูลยังพบปัญหามารดาไปทำงานต่างจังหวัด แม่อยู่ในวัยเรียน พบปัญหาหัวนมสั้น บอด บุ๋มหลังคลอด เนื่องจากไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะหลังคลอดเมื่อมีปัญหาเต้านมแม่หลังคลอดรู้สึกว่าลูกไม่ยอมดูดนมเนื่องจากมีปัญหาหัวนม เอาลูกเข้าเต้าลำบาก ส่งผลให้มารดาเกิดความท้อแท้ เหนื่อยล้าจากการให้ลูกดูดนมแม่ จึงไปเสริมนมผสมให้ลูกแทน จึงคิดต่อยอดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จมากขึ้นโดยมีการลงไปให้ความรู้ในส่วนของ ANC ด้วย และมีการเน้นการตรวจร่างกายขณะตั้งครรภ์มากขึ้น  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)