|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : นวัตกรรม ซีดีหมอลำเตือนโรคStroke |
ผู้แต่ง : |
สายสวาท คนหาญ, สุนันท์ เพ็งโสภา,ญานิกา วุฒิสาร |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ต้องได้รับการรักษาในทันที ภายใน 4.30 ชม. แต่ในบริบท โรงพยาบาลห้วยผึ้งต้องได้เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลภายใน 2 ชมเนื่องจากมีข้อจำกัดในการดูแลรักษา ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำเป็นต้องส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์หรือโรงพยาบาลแม่ข่าย จากข้อมูลการให้บริการ พบว่า มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้าสู่ระบบ Stroke Fast tract ในปี 2557-2561 ร้อยละ 12.5, 14.28,16.66, 52.94และ 25 ตามลำดับ เมื่อทบทวนข้อมูล พบว่า สาเหตุของการมารับบริการล่าช้ากว่าที่ Stroke fast track กำหนดนั้น เกิดจาก ผู้ป่วยไม่ทราบอาการผิดปกติของโรคหลอดเลือดสมองที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล รอญาติมาส่งเพราะคิดว่าไม่รีบร้อนและไม่อันตราย |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าสู่การรักษาได้ทันระยะGolden periodโรคหลอดเลือดสมองได้ตามเป้าหมาย
2. เพื่อให้ประชาชนทราบอาการของโรคStroke
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเข้ารับการรักษาหลังจากมีอาการใน 2 ชม. ร้อยละ30
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่มีค่า CVD Risk ระดับ 3 ขึ้นไปทราบอาการของโรคStroke ร้อยละ 80
|
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. วิเคราะห์หาสาเหตุปัญหาแล้วนำมาหาวิธีแก้ไขปัญหา
2. จัดทำแผนของบประมาณ
3.จัดเตรียมอุปกรณ์ วิทยากร (หมอลำ)ดำเนินการอัดและแจกจ่ายให้กับผู้นำชุมชนเปิดที่หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน
4. ติดตามเพื่อทราบผลการดำเนินการตลอดจนปัญหาอุปสรรคและนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเข้ารับการรักษาหลังจากมีอาการใน 2 ชม. ร้อยละ42.10
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่มีค่า CVD Risk ระดับ 3 ขึ้นไปทราบอาการของโรคStroke ร้อยละ .....
(กำลังอยู่ในช่วงศึกษาข้อมูลเพื่อพัฒนาต่อไป)
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
การดำเนินการในการแก้ปัญหาสุขภาพในแต่ละพื้นที่ต้องมีแนวทางหลายอย่างเรียนรู้ได้แต่เรียนแบบอาจจะใช้ไม่ได้ในบางพื้นที่ |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|