ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาคลินิกดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
ผู้แต่ง : ดรุณี กลีบมะลิ,ผ่องใส ก้องเวหา,พัชรินทร์ ทัพวิเศษ,วิไลวรรณ ชมวีระ,วิวาพร แสนบุญ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : โรงพยาบาลห้วยผึ้ง เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง ให้การตรวจรักษาโรคทั่วไป/อุบัติเหตุฉุกเฉินและคลอดปกติ และโรคเรื้องรัง กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ด้วยสถิติปี 2558,2559,2560,2651 ตามลำดับ ดังนี้ 3,006 ,3,120และ 3,393,3422 ในการดำเนินงานคลินิกโรคไตวายเรื้อรัง พบอุบัติการณ์ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยDM /HT ปี 2559 CKD Stage 3 ,4.5 พบอัตราร้อยละ 9.88 /3.08/1.73 ปี 2560 CKD Stage 3 ,4.5 อัตราร้อยละ 10.34,1.87,1.25 ตามลำดับ ได้รับการดูแลล่าช้าพบปัญหาการเข้าถึงการบำบัดทดแทนไต การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา 1. ขาดการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ในโรคเบาหวาน เพื่อวินิจฉัยโรคไตเรื้อรัง 2. การเข้าถึงการบริการบำบัดทดแทนไตยังน้อย 3. ผู้ป่วยขาดการดูแลตนเองต่อภาวะเสี่ยงการเกิดโรคไตเรื้อรังและ ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับโรค  
วัตถุประสงค์ : 1. พัฒนาระบบบริการคลินิกดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง แยกคลินิกและวันการบริการชัดเจน 2.ค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง ในโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคไตเรื้อรัง เพื่อ การเข้าถึงการบริการบำบัดทดแทนไต  
กลุ่มเป้าหมาย : 1. ผู้ป่วยไตวายระยะที่ 4 (GFR = 15-19)ให้คำปรึกษาส่งพบ อายุระแพทย์โรคไตเพื่อเตรียมความพร้อมในการบำบัดทดแทนไต (ตามความสมัครใจ) 2. ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายส่งต่อเพื่อทำ CAPD/HD เปลี่ยนไต /ประคับประครอง(คามความสมัครใจ)  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. จัดตั้ง CKD clinic/คลินิกรักษ์ไตโดย ทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคไต 2. ประชุมชี้แจงแนวทางในเรื่องการดูแลป้องกันโรคไตให้กับทีมทำงานและเจ้าหน้าที่/ รพ.สต. 3. ค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโดยมีการส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคไตเรื้อรัง เมื่อแรกวินิจฉัยและมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง 4. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังตั้งแต่ระยะที 1- 3 ให้บริการบูรณาการร่วมกับ NCD คลินิก วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี 5. ผู้ป่วย ระยะที่ 4-5 (GFR = 15-19 / 0-15)ให้บริการวันศุกร์ และส่งต่อเพื่อพบ อายุระแพทย์โรคไต รพ.กุฉินารายณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการบำบัดทดแทนไต 6. ประเมินผลการดำเนินงานและปรับปรุงเป็นระยะ  
     
ผลการศึกษา : ลำดับ ตัวชี้วัด เป้าหมาย ปี 2558 ปี 2559 ปี 2560 ปี 2561 ตค-มีค 1. ผู้ป่วยDM/HTได้รับการคัดกรองโรคไตเรื้อรัง > 90 % 81.27 70.80 75.86 50.69 2. BP<140/90 mmHg > 60 % 82,25 78.77 89.59 87.3 3. ผู้ป่วยได้รับACEI /ARBs > 60 % NA 70.69 37.30 27.03 4. ผู้ป่วย eGFR<4 mlmin/1.73/year >65% NA 64.5 65.83 59.77 5 ผู้ป่วยได้รับบำบัดทดแทนไต HD CAPD คน 2 2 2 1 2 0 0 0 ผู้ป่วยไตวายระยะที่ 4 (GFR = 15-19) ปี2559 ,2560 ,2561จำนวน 68 ,48,42 คน ส่งพบ อายุระแพทย์โรคไต ตามความพร้อมและศักยภาพของผู้ป่วยจำนวน 32 และ 25,20 คนตามดับ จำนวนส่งต่อ เป็นร้อยละ 47.06 และ 52.09 ,47.61 และ ได้รับการบำบัดทดแทนไต  
ข้อเสนอแนะ : 1.ลดจำนวนผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังCKD -4 รายใหม่จากการคัดกรองในกลุ่มเสี่ยง DM/HT 2.พัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดไต เช่น CAPD , Hemodialysis 4.พัฒนาระบบการเข้าถึงของผู้ป่วยในการรับบริการบำบัดทดแทนไต 5.จัดตั้งชุมชนรักษ์ไตในระดับหน่วยบริการปฐมภูมิ  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ