ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : จุฑามาส คำไสว ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่ “ภาวะประชากรสูงอายุ” คือ มีสัดส่วนประชากร ผู้สูงอายุมากกว่า ร้อยละ 11.9 ของประชากรทั้ง ประเทศ ในปี 2553 และในปี พ.ศ. 2573 จะเพิ่ม เป็นมากกว่า 2 เท่าตัว อยู่ที่ร้อยละ 25 (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้สูงอายุไทย, 2555) ซึ่งมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ทุกภาคส่วน ให้ความสำคัญกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตมาก จากการสำรวจสภาวะใน ช่องปากผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำบง พบว่า ในกลุ่ม ผู้สูงอายุมีการสูญเสียฟันสูงถึงร้อยละ 90.24 โดยพบ ผู้ไม่มีฟันเหลือ อยู่ในปากเลยร้อยละ 2.43 มีฟันเหลือ ในช่องปากเฉลี่ย 19.57 ซี่ มีฟันผุร้อยละ 67.50 และค่าเฉลี่ยฟัน ผุถอนอุด 11.58 ซี่ต่อคน ผู้มีฟันผุ ที่ยังไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 56.3 เป็นโรคปริทันต์ ร้อยละ 42 และผู้มีฟันเพียงพอสำหรับการเคี้ยว อาหาร คือ มีฟันใช้งานไม่น้อยกว่า 20 ซี่ พบร้อยละ 52.50 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำบง โดยงานทันตสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยการให้ความรู้ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ยังพบว่ามีผู้สูงอายุที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบ โรคเหงือกอักเสบ โรคฟันผุ และโรคของเนื้อเยื่ออ่อนภายใน ช่องปาก ผู้สูงอายุยังมีการสูญเสียฟันหลายซี่ โดยปกติโรคในช่องปาก เป็นโรคที่ป้องกันได้ ถ้ามีพฤติกรรมอนามัยที่ถูกต้อง ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคในช่องปาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนารูปแบบ การดำเนินงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับ การส่งเสริมสุขภาพ ผู้ศึกษาเดิมเป็นทันตบุคลากร ได้ปฏิบัติหน้าที่ เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับผู้สูงอายุจึงตระหนัก ถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพ ช่องปากและกระตุ้นให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสุขภาพในช่องปาก จึงทำการศึกษาเพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและดัชนีคราบจุลินทรีย์และผลการใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปาก ทั้งนี้ เพื่อนำผลการศึกษาไปปรับใช้กับการวางแผนการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คำบง ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้สูงอายุที่มารับบริการทันตกรรมของรพ.สต.คำบง จำนวน 20 คน  
เครื่องมือ : สีผ้อมฟัน แบบบันทึกดัชนีคราบจุลินทรีย์ โมเดลสาธิตการแปรงฟัน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดย ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีฟันแท้ใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำบง และเข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นประจำ จำนวน 20 คน โดยเข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบ การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบไปด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก โรคฟันผุและโรคปริทันต์ อาหารกับช่องปาก การดูแลสุขภาพในช่องปากด้วยตนเอง การตรวจฟันด้วยตนเอง การสาธิต การฝึกปฏิบัติทำความสะอาดช่องปากที่ถูกวิธี การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก และแบบบันทึกดัชนีคราบจุลินทรีย์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยด้วยการทดสอบหาค่าที (paired sample t-test)  
     
ผลการศึกษา : ภายหลังจากการจัดการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุ มีระดับพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก มีระดับที่ดีขึ้น และ ระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ อยู่ในระดับน้อยลง  
ข้อเสนอแนะ : การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และดัชนีคราบจุลินทรีย์ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการ ดูแลสุขภาพช่องปากมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นหรือไม่ ภายหลังจากการจัดการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุมีระดับพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ช่องปาก มีระดับที่ดีขึ้น และ ระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ อยู่ในระดับน้อยลง รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ มีกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก โรคฟันผุและโรคปริทันต์ อาหารกับสุขภาพช่องปาก การดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองและตรวจฟัน ด้วยตนเอง มีการฝึกทักษะ ทดลองปฏิบัติทำความสะอาดช่องปากที่ถูกวิธี ร่วมกับการใช้สื่อต่างๆ โดยมีเนื้อหาวิธีการ และการสื่อสารที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้สูงอายุ ประกอบกับมีการจัดกิจกรรมที่ต่อเนื่อง มีการกระตุ้น ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกันในการปฏิบัติ ทำให้เกิดมีกำลังใจ มั่นใจ และให้ความร่วมมือในการดูแลสุขภาพช่องปาก ทั้งยังเป็นกระบวนการการดูแลสุขภาพช่องปากที่ต่อเนื่อง สามารถช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีขึ้น และทำให้ผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตระหนักถึงระดับความรุนแรงของ คราบจุลินทรีย์โดยการตรวจสอบแผ่นคราบจุลินทรีย์ได้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้การทำ ความสะอาดช่องปากด้วยวิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธี เมื่อการดูแลรักษาสุขภาพของช่องปากที่ดี เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้มีสุขภาพเหงือกและฟันที่ดี สุขภาพฟันที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยให้ดูดี และรู้สึกดี แต่ยังช่วยทำให้รับประทานอาหาร และพูดได้ดีขึ้นอีกด้วย สุขภาพช่องปากที่ดีจึงถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการมีคุณภาพชีวิต ที่ดีได้  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ