|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : โครงการมาตรฐานร้านอาหาร แผงลอย ปลอดภัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโคก ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
วิลาวัลย์ ประกอบเลิศ |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย รวมไปถึงการจัดหาและเลือกที่จะ
รับประทานอาหาร จากอดีตที่มีการจัดหาวัสดุอาหารมาดำเนินการปรุง การประกอบอาหารเองที่บ้านหรือในครัวเรือน ในปัจจุบันมีการจัดตั้งร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร ไว้บริการอาหารปรุงสำเร็จแก่ประชาชน สะดวกต่อการเลือกซื้อมาเพื่อการบริโภคทั้งในครัวเรือน หรือการจัดเลี้ยงอาหารในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นการควบคุม ดูแล ให้การประกอบกิจการการจัดบริการอาหารโดยสถานประกอบการด้านอาหารเป็นไปอย่าง เหมาะสม เน้นความสะอาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค จึงเป็นงานสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนายกระดับ สถานประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในสถานประกอบการด้านอาหารประเภท ร้านอาหาร แผงลอย และโรงอาหารในโรงเรียนศูนย์เด็กเล็ก จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโคก ได้มุ่งเน้นส่งเสริมให้มีการพัฒนาและยก ระดับสถานประกอบการดังกล่าวให้เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้โดยการตรวจแนะนำสถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การพัฒนาตัวผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ในการเลือกซื้อและการจัดบริการอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคในพื้นที่
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในร้านอาหาร แผงลอย ในพื้นที่รับผิดชอบตามเกณฑ์เกณฑ์มาตรฐาน |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
สำรวจสภาพทางกายภาพของแผงลอยจำหน่ายอาหารกับมาตรฐานกรมอนามัย ร่วมกับ ปัจจัยด้านชีวภาพที่มีผล ต่อคุณภาพอาหารและสุขภาพของประชาชน
วิธีการสุ่มใช้แบบเจาะจง โดยทำการสุ่มสำรวจร้านค้า แผงลอย ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโคก ตำบลดงลิง ทั้ง 6 หมู่บ้าน พบมีแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 13 ร้าน ลงสำรวจทั้งหมด โดยตรวจอาหาร น้ำดื่ม/น้ำใช้ จำนวน 2 ตัวอย่างต่อ 1 แผงลอย ตรวจภาชนะอุปกรณ์ ๒ ตัวอย่างต่อ ๑ แผงลอย และมือผู้สัมผัสอาหาร 1 คนต่อ 1 แผงลอยจำหน่ายอาหาร |
|
เครื่องมือ : |
1. แบบตรวจแผงลอยจำหน่ายอาหารตามหลักสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย
2. แบบบันทึกโคลิฟอร์มแบคทีเรีย
3. ชุดตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น (SI-2) |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1.ประชุมคณะทำงานและชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชน /นักจัดการสุขภาพ /แกนนำสุขภาพ
๒.สำรวจข้อมูลร้านค้า/แผงลอย ในชุมชนวิเคราะห์ข้อมูลในชุมชน/จัดทำฐานข้อมูล
3.จัดประชุมชี้แจง ประชาวิจารณ์ ตั้งกติกาชุมชน พัฒนาเครือข่ายร้านจำหน่ายอาหาร/แผงลอย ในชุมชน แผงลอยจำหน่ายอาหารในโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก และวัด จัดการการบริการด้านอาหารให้ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
4.อบรมและพัฒนาทีมเฝ้าระวังตรวจการปนเปื้อนในอาหาร ชุมชนละ 1 ทีม และตรวจเฝ้าระวังทุกเดือน
5.จัดตั้งทีมออกตรวจประเมินมาตรฐาน ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ผ่านเกณฑ์มอบรางวัล/เกียรติบัตร
6.การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลให้ชุมชนสรุปบทเรียนผลการดำเนินงาน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
การศึกษาครั้งนี้พบว่า ข้อกำหนดที่ปฏิบัติได้ทั้ง ๑๓ แห่ง มีจำนวน 8 ข้อ ส่วนข้อกำหนดที่ทำให้ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสูงสุด คือ ข้อที่ ๒ อาหารปรุงสุก มีการปกปิด หรือ มีการป้องกันสัตว์และแมลงนำโรค
และจากผลการตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น (SI-2) จำนวนตัวอย่างอาหาร 65 ตัวอย่าง พบว่าได้มาตรฐาน จำนวน 59 ตัวอย่าง ไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 6 ตัวอย่าง ชนิดตัวอย่างที่ได้มาตรฐานทุกร้าน มี ๒ ตัวอย่าง คืออาหารปรุงสุก และเขียง และชนิดตัวอย่างที่ผ่านมาตรฐานน้อยที่สุด คือมือผู้สัมผัสอาหาร
จากการที่ทีมอาหารปลอดภัยตำบลดงลิง ออกตรวจประเมินมาตรฐาน ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโคก ตำบลดงลิง พบว่าสภาพทางกายภาพของแผงลอยจำหน่ายอาหารส่วนใหญ่ผ่านข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร ส่วนด้านความสะอาดของอาหารและน้ำ ยังพบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียโดยพบมากที่มือผู้สัมผัสอาหาร ดังนั้นทีมอาหารปลอดภัยตำบลดงลิง จึงมีการควบคุม ดูแล เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในสถานประกอบการด้านอาหารประเภท ร้านอาหาร แผงลอย และโรงอาหารในโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ให้เป็นไปอย่าง เหมาะสม เน้นความสะอาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค มีการตรวจแนะนำสถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และที่สำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนายกระดับ สถานประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข |
|
ข้อเสนอแนะ : |
มีการอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านค้า แผงลอย จำหน่ายอาหาร และมีการอบรมฟื้นฟูความรู้อย่างต่อเนื่อง และมีทีมตรวจประเมินอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ประกอบมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง สามารถปฏิบัติตามสุขวิทยาที่ดี พัฒนาร้านค้า แผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ถูกต้องตามเกณฑ์อย่างยั่งยืนต่อไป |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|