ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : พัฒนาระบบคัดกรองผู้ป่วย ณ จุดคัดกรองด่านหน้าห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นฤมล ภูสนิทม, สว่างศิลป์ ภูหนองโอง, ปิยขนิษฐ์ เครือศรี, อรพรรณ ศรีภิลา, ศรีสุดา ชาภูมี, ชนิกานต์ มัธยมนันท์, จริญญา ถาวงค์ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นหน่วยงานที่ให้บริการผู้ป่วย ตลอด 24 ชั่วโมง จากการประเมินติดตามข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยและอุบัติการณ์ความเสี่ยง/ข้อผิดพลาดจากการคัดกรองในปี 2559 พบว่าหน่วยงานต้องให้การดูแลผู้ป่วยโดยเฉลี่ย 116.5ราย/วัน ในเวรเช้า 56.9 ราย เวรบ่าย 41.0 ราย และในเวรดึก 18.6ราย แยกตามสัดส่วนผู้ป่วยในแต่ละประเภทคือวิกฤต1.1ราย/วัน Emergency 7.4ราย/วัน Urgency 28.2ราย/วัน Semi-Urgent 12.2 ราย/วันและ N0n-Urgent U 49.5 ราย/วัน ตามลำดับ ด้วยจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการมากขึ้นและมีความรุนแรงของการเจ็บป่วยที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน ได้รับการคัดกรองไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยวิกฤตเฉินจึงได้รับการตรวจที่ล่าช้า มีอาการทรุดลงระหว่างการรอตรวจ จากการทบทวนอุบัติการณ์ความเสี่ยง/ข้อผิดพลาดจาการคัดกรอง พบปัญหาคือ ผู้ป่วยฉุกเฉินให้ไปยื่นบัตรเอง /ผู้ป่วยฉุกเฉินรอตรวจไม่ได้ยื่นบัตรไม่ถูกเรียก จำนวน 8 ครั้ง ผู้ป่วยวิกฤตได้รับการคัดกรองช้า จำนวน 1 ครั้ง ผู้ป่วยฉุกเฉินEmergency+Urgent)รอตรวจ/ได้รับการคัดกรองช้า จำนวน 38 ครั้ง ผู้ป่วยMIรอตรวจ จำนวน 4 ครั้ง ผู้ป่วยStrokeรอตรวจ จำนวน 1 ครั้ง จัดประเภทผู้ป่วยไม่ถูกต้อง จำนวน 24 ครั้ง ผู้ป่วยเป็นลม Shockขณะรอตรวจ จำนวน 1 ครั้ง จากการทบทวนพบสาเหตุของปัญหาคือ การจัดพยาบาลประจำจุดคัดกรองด่านหน้าไม่ครอบคลุมทุกเวร แนวทางการคัดกรองด่านหน้าห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินยังไม่ชัดเจน พยาบาลจุดคัดกรองและพนักงานเปลยังขาดความเข้าใจและความตระหนักในการให้บริการจุดคัดกรอง ดังนั้นเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองและช่วยเหลือแก้ไขภาวะฉุกเฉินเบื้องต้นทันเวลา ลดภาวะแทรกในการดูแลผู้ป่วย อีกทั้งเป็นการเพิ่มคุณภาพในการบริการของหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน การพัฒนาระบบบริการคัดกรองผู้ป่วยที่ต้องถูกต้องจะเป็นเครื่องมือในการช่วยตัดสินใจเพื่อการประสานงานการรับและส่งต่อผู้ป่วยในแผนกอย่างเป็นระบบอย่างเป็นระบบ  
วัตถุประสงค์ : ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองถูกต้อง≥ 95 % เจ้าหน้าที่ ณ จุดคัดกรองด่านหน้าห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน สามารถปฏิบัติตามแนวทางเดียวกัน≥80 %  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่งานห้องฉุกเฉิน  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : วิธีการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 7.1 ขั้นเตรียมความพร้อมในการ - ประชุมทีมในหน่วยงานเพื่อทบทวนปัญหาและร่วมกันปรับปรุงระบบ - ทบทวนภาระงาน ปรับเกลี่ยอัตรากำลังโดยจัดให้มีพยาบาลคัดกรองในเวรเช้า บ่าย - มอบหมายพยาบาลคัดกรองและกำหนดบทบาทหน้าที่ - จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือให้พร้อมในการคัดกรอง - ปรับปรุงแนวทางการคัดกรอง • คัดกรองโดยใช้ระบบ ESI แบ่งผู้ป่วยเป็น 5 ประเภท • จัดทำแบบคัดกรองเบื้องต้น 7.2 ขั้นตอนในการดำเนินการใช้และกำกับติดตามการดำเนินงาน ดำเนินการดังนี้ - ชี้แจงและทบทวนความเข้าใจในการนำแนวทางไปปฏิบัติเปิดโอกาสในซักถามในประเด็นเกณฑ์คัดกรองข้อใดที่ไม่เข้าใจในการปฏิบัติ - นำแนวทางสู่การปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้ชี้แจงเบื้องต้น - หัวหน้างานดูแลกำกับและทำความเข้าใจในการคัดกรองผู้ป่วย 7.3 ขั้นตอนการประเมินผลและทบทวนความเหมาะสมการของใช้แนวทางการคัดกรอง ดำเนินการดังนี้ - ประเมินความเหมาะสมในการคัดกรองผู้ป่วย ปัญหาข้อผิดพลาดที่พบร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่พยาบาลแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน ทุกวันก่อนการสิ้นสุดการปฏิบัติงานเวรเช้าในเวลา 15.45 น. สรุปและแนะนำข้อควรปฏิบัติเพิ่มเติมให้กับเจ้าหน้าที่คัดกรองรับทราบ และเปิดโอกาสให้ซักถามประเด็นข้อสงสัย - หัวหน้าเวรสรุปข้อมูลการคัดกรองและติดตามอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการคัดกรองผู้ป่วยทุกเวร - ผู้รับผิดชอบสรุปข้อมูล ตัวชี้วัดทุกเดือน - ทบทวนการพัฒนาระบบคัดกรอผู้ป่วยทุก 3 เดือนเพื่อปรับแนวทางในเหมาะสมกับการปฏิบัติงานและตามข้อเสนอแนะต่าง 8.การประเมินผลการเปลี่ยนแปลง  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ