|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาที่นอนรักษาในหอผู้ป่วยชาย |
ผู้แต่ง : |
รักชนก ถวิลการ, และคณะ |
ปี : 2561 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
หอผู้ป่วยชายเป็นหอที่รับผู้ป่วยนอนรักษาตลอด 24 ชั่วโมง ทุกกลุ่มอายุ ทุกโรค และมีมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยแต่ละประเภท หรือแต่ละกลุ่มโรค ตั้งแต่ก่อนปี 2559 ยังไม่มีการพบเชื้อดื้อยาภายในหอผู้ป่วยชาย หน่วยงานก็ได้มีการควบคุมดูแลเมื่อพบผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการติดเชื้อ เช่น Pulmonary TB ,Pneumonia , Diarrhea , อีสุกอีใส , งูสวัด เป็นต้น หรือโรคอุบัติการณ์ใหม่ จะมีมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยโดยจัดเข้า Zone แยกโรค และจัดเข้าห้องแยกโรค คือ ห้องแยก 2 และดูแลตาม Standard Precaution จนปัจจุบัน และในปี 2559 พบอุบัติการณ์ ผู้ป่วยมารักษาที่ตึกผู้ป่วยชายเนื่องจากแผลผ่าตัดไส้ติ่ง 2 ราย ได้แก่
รายที่ 1 ผ่าตัดไส้ติ่งที่ รพร.กุฉินารายณ์ แผลอักเสบมีหนอง หลังตัดไหม จึงได้ส่ง Pus culture และพบเชื้อดื้อยา
รายที่ 2 เป็นผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่ง ที่ รพ.กาฬสินธุ์ ก็พบปัญหาเช่นเดียวกัน
ปีงบประมาณ 2560 มีผู้ป่วยส่งกลับมารักษาต่อ จาก รพ.กาฬสินธุ์ 11 ราย มานอนรักษาต่อที่ รพ.เขาวง เพื่อให้ยาปฏิชีวนะ10-14 วัน ส่งผลให้เพิ่มค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น มีโอกาสเกิดการแพร่กระจ่ายเชื้อดื้อยาในหอผู้ป่วยได้สูง เนื่องจากหน่วยงานยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ และประสบการณ์ในการดูแลเฉพาะผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยา หน่วยงานจึงได้พัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาที่นอนรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยขึ้นเพื่อให้บุคลากรปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1.เพื่อป้องกันการแพร่กระจ่ายเชื้อดื้อยาในหอผู้ป่วยชาย
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อดื้อยาที่นอนรักษาตัวในหอผู้ป่วยชาย |
|
เครื่องมือ : |
เวชระเบียน , แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
2. ทบทวนและจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วย MDR และสื่อสารให้บุคลากรนำมาปฏิบัติได้ดังนี้
2.1 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหลัก Standard Precaution เรื่องปฏิบัติตามหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากการสัมผัส( Contact Precaution )
2.2 จัดให้ผู้ป่วยอยู่ห้องแยก 2 กรณีห้องไม่ว่างจัดแยก Zone และใช้ม่านแก้วกั้นกับผู้ป่วยอื่นพร้อมติดป้านเตือน
2.3 แยกอุปกรณ์ , ของใช้ในการดูแลผู้ป่วย
2.4 ติดป้ายเตือน Contact Precaution ที่ Chart ผู้ป่วย
2.5 ให้ความรู้เรื่อง MDR และแผนการรักษาของแพทย์
2.6 ป้องกันการแพร่กระจ่ายเชื้อ MDR แก่ผู้ป่วย/ญาติ และผู้ดูแล โดยการให้ความรู้
• เรื่อง การล้างมือ โดยใช้ Alcohol hand rub และ 4 % Chlorhexidine กับน้ำสะอาดตามหลัก 5 Moment
• เตรียม Alcohol hand rub ไว้ที่เตียงผู้ป่วย และนำกลับไปใช้ต่อที่บ้านต่อเนื่อง
• การทำความสะอาดของใช้ และการจัดการขยะ
3. ควบคุมติดตาม การดูแลผู้ป่วย MDR ขณะรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเขาวงให้เป็นแนวทางเดียวกัน จนกระทั่งจำหน่าย
4. ส่ง CBC ,UA หลังให้ ATB ครบ
5. ให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติก่อนจำหน่าย เน้นการทำความสะอาดมือ โดยการล้างมือ การรับประทานยาต่อเนื่องจนครบ การจัดการขยะติดเชื้อ และการมาพบแพทย์ตามนัด
6. ประสานศูนย์COCส่งต่อข้อมูลให้ รพ.สต.ที่ผู้ป่วยอยู่ในเขตรับผิดชอบ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังที่ชุมชน
7. สรุปผล และวิเคราะห์ผลการดำเนินงานทุกสิ้นเดือน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|