ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การจัดการความรู้ของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : วัชรินทร์ คำมะภา ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : พระราชพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 11 กำหนดไว้ว่า ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริม พัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็น บุคลากรที่มีประสิทธิภาพ สมรรถนะ และมีการเรียนรู้ร่วมกัน การจัดการความรู้ เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ขององค์กร ที่กระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารต่างๆ มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ได้โดยง่ายและการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีความใฝ่รู้ รวมทั้งการนำความรู้ที่มีอยู่มาปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด ซึ่งความรู้ของบุคคลที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ ความรู้ที่ฝังภายในตัวบุคคลหรือความรู้แบบไม่ชัดแจ้ง และ ความรู้ภายนอกบุคคลหรือความรู้แบบชัดแจ้ง แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข มีการกำหนดแผนงานที่ 14 เรื่อง การพัฒนางานวิจัย และนวัตกรรมด้านสุขภาพ ซึ่งส่งเสริมให้หน่วยงานสาธารณสุขมีการจัดการความรู้ อันนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดและการสร้างนวัตกรรมด้านสุขภาพ และมุ่งเน้นให้หน่วยงานต่างๆนำองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง นำไปสู่การผลิตและบริการที่ทันสมัย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและตอบสนองต่อประเด็นเร่งด่วนตามยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาประเทศ รวมทั้งภารกิจของหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข คือ ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข และระบบสุขภาพยั่งยืน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้กำหนดกรอบการประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี 2561 ในเป้าประสงค์ที่ 4 ระบบบริหารจัดการของหน่วยงานสาธารณสุขมีความเป็นเลิศ ทันสมัย โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จในการจัดการองค์ความรู้ของหน่วยบริการและภาคีเครือข่าย คือ หน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับมีการสร้างองค์ความรู้เป็นแหล่งเรียนรู้ของการบริหารจัดการ และการแก้ปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อตอบสนองนโยบายสาธารณสุข และนำไปใช้ประโยชน์การตัดสินใจทางการบริหารจัดการ และการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอสามชัย เป็นองค์กรใหม่ที่แยกจากคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอคำม่วง ที่ต้องมีการปรับโครงสร้างองค์กร บุคลากร งบประมาณ ฯลฯ ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการความรู้ การถ่ายทอดความรู้จากองค์กรเดิม บุคลากรเดิมแก่องค์กรใหม่ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเดิมที่มีอยู่ ต้องถูกแบ่ง บุคลากรใหม่ต้องมาเรียนรู้งาน และสอนงานกันใหม่ การย้ายของบุคลากรทำให้องค์กรต้องสูญเสียองค์ความรู้ไป อันส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอสามชัยเป็นอย่างยิ่ง จากที่ผ่านมาคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอสามชัยได้ดำเนินการสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านจัดการความรู้ให้แก่บุคลากร รวมทั้งจัดให้มีเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แต่ก็ยังพบว่า การจัดการความรู้ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งพบว่า มีปัญหาหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาการไม่แบ่งปันความรู้ ปัญหาการจัดเก็บความรู้ที่มีความหลากหลายทั้งที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ และไม่เป็นอิเล็กทรอนิกส์กระจัดกระจาย เมื่อต้องการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจแบบเร่งด่วนไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งปัญหาการประยุกต์ใช้ความรู้ยังไม่เชื่อมโยงกับงาน และไม่สอดคล้องกับบริบท การขาดการประชาสัมพันธ์เผยแพร่เทคนิคการทำงานเมื่อเปลี่ยนงาน หรือโยกย้ายไปปฏิบัติงานแห่งใหม่ ความรู้ต่างๆที่จำเป็นในการปฏิบัติงานไม่มีการถ่ายทอดความรู้เพื่อการปฏิบัติงานแก่ผู้ร่วมงาน และบุคลากรใหม่ จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจในเรื่องการจัดการความรู้ของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลการพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ ของ คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวนทั้งสิ้น 88 คน  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ใช้แบบสอบถาม โดยมีองค์ประกอบของแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะคำถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check list) มีจำนวน 9 ข้อ ประกอบด้วย คุณลักษณะทางประชากร ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ ตำแหน่ง สถานที่ทำงาน ระยะเวลาการทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่วนที่ 2 แบบสอบถามการจัดการความรู้ เพื่อสอบถามว่าองค์กรมีการดำเนินการในเรื่องการจัดการความรู้ โดยประยุกต์ใช้แบบประเมินตนเองเรื่องการจัดการความรู้ ของ คณะกรรมการการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยศิลปากร : 12-16 ตามองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการจัดการความรู้ ด้านภาวะผู้นำ ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านโครงสร้างองค์กร และด้านการวัดผลการจัดการความรู้ ประกอบด้วยข้อคำถามปลายปิด มีจำนวน 29 ข้อ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ตัวเลือก ได้แก่ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ไม่เห็นด้วย ไม่แน่ใจ เห็นด้วย และเห็นด้วยอย่างยิ่ง ส่วนที่ 3 ข้อแนะนำ/การเสนอแนะอื่นๆ เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อเสนอแนะทั่วไป/ข้อควรปรับปรุงแก้ไขในการทำวิจัยในครั้งนี้ และครั้งต่อไป ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบเติมคำ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนการสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในการสร้างแบบสอบถามเพื่อใช้ในการเก็บรวบข้อมูล ผู้ศึกษามีขั้นตอนการจัดทำ ดังนี้ 1. ศึกษาค้นคว้าเอกสาร งานวิจัยและนิยามศัพท์เฉพาะที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ เพื่อนำมากำหนดขอบเขตขององค์ประกอบต่างๆและเนื้อหาที่จะนำมาสร้างแบบสอบถามให้ครอบคลุมทุกตัวแปร 2. สร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการความรู้ให้ครบถ้วน และสอดคล้องกับนิยามศัพท์เฉพาะ 3. ผู้วิจัยนำเครื่องมือไปเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบ ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหา ภาษาและความถูกต้อง (IOC) โดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป พบว่า ข้อคำถามทุกข้อในทุกตอนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 4. นำเครื่องมือไปทดลองใช้ (Try Out) กับผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอในเขตพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 30 ชุด เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือโดยการหาค่าอำนาจจำแนกด้วยสูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Item-total Correlation) ซึ่งคัดเลือกที่มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป แล้วนำไปหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ตามสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค(Cronbach) โดยมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.91 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ผู้ศึกษาทำหนังสือถึงโรงพยาบาลสามชัย และสาธารณสุขอำเภอสามชัย เพื่อขอความอนุเคราะห์เก็บข้อมูล 2. นำแบบสอบถามไปเก็บข้อมูลจากผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอสามชัย จำนวน 88 ชุด 3. ทำการเก็บรวบรวมแบบสอบถามและตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล 4. ทำการลงรหัสข้อมูลในแบบสอบถามและนำข้อมูลบันทึกลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง