ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย
ผู้แต่ง : จริยา แก้วคำภา ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มว่าผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มจำนวนสูงขึ้นโดยในปี พ.ศ.2560 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุจำนวน 11 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17 ของประชากรทั้งหมด ประชากรสูงอายุไทยยังมีปัญหาเรื่องสุขภาพโดยเฉพาะโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเหล่านี้อาจมีผลมาจากพฤติกรรมการกินอาหาร การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้สูงอายุ รพ.สต.คำบง ปี 2559 – 2561 พบว่า.........ตามลำดับ ผู้ศึกษาตระหนักถึงโรคที่อาจมีผลจากพฤติกรรมของผู้สูงอายุจึงได้มีการจัดทำ นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย “ธรรมานามัย” ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์ ท่านเป็นผู้คิดค้นและวางปรัชญาการดูแลสุขภาพด้วยหลักธรรมานามัย “ธรรมานามัย” มาจาก 2 คำ ได้แก่ คำว่า “ธรรมะ” กับ คำว่า “อนามัย” ธรรมะ คือ ธรรมชาติ และส่วนอนามัย คือ การมีสุขภาพกายที่ดี ดังนั้น “ธรรมานามัย” จึงหมายถึง Healthy by natural method หรือการมีสุขภาพดีด้วยวิถีธรรมชาติ โดยหลักธรรมานามัย จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ กายานามัย หรือ Healthy body คือ การมีสุขภาพกายที่ดี โดยการทำท่าบริหาร หรือการออกกำลังกาย ต่าง ๆ จิตตานามัย หรือ Healthy mind คือ การมีสุขภาพจิต สุขภาพใจที่ดี ชีวิตานามัย หรือ Healthy behavior คือ การมีพฤติกรรมในการดำรงชีวิตประจำวันที่ดี  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย  
กลุ่มเป้าหมาย :  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนผู้สูงอายุ 2.ดำเนินการสอนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติโดยใช้หลักการดูแลสุขภาพธรรมานามัย ดังนี้ -กายานามัย เป็นการดูแลสุขภาพทางกาย เช่น การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และสมุนไพร การนวดตนเองแบบแพทย์แผนไทยบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตน -จิตตานามัย เป็นการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องทางจิต เช่นการทำสมาธิบำบัด skt -ชีวิตตานามัย การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่นการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาทำลูกประคบสมุนไพร การจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ 3.ประเมินผลการฝึกอบรม  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง