ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบในการป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดีและพยาธิใบไม้ตับ ในชุมชน ตำบลเจ้าท่า
ผู้แต่ง : นายอ๊อด ศักดิ์ศิริ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : มะเร็งตับและท่อน้ำดีพบมากในภาคอีสาน1 ประชาชนเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับจากการบริโภคปลาน้ำจืดดิบที่มีตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ตับเกาะอยู่ พยาธิใบไม้ตับอาศัยอยู่ในร่างกายผู้ป่วยจนโรคพัฒนากลายเป็นมะเร็งท่อน้ำดีใช้เวลาประมาณ 20 – 30 ปี2 กระทรวงสาธารณสุข ได้แก้ปัญหานี้โดยการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิและรักษาทุกราย ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ สนับสนุนให้ประชาชนสร้างและถ่ายอุจจาระลงส้วม และการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรค3 แต่ยังพบปัญหาการติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีอยู่ จากพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบยังไม่หมดไปจากคนไทยภาคอีสาน4เพื่อแก้ปัญหานี้ผู้ศึกษาใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามแนวคิดของ Stringer ที่ว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์พูดคุยในประเด็นปัญหาร่วมกับผู้อื่น ทำให้เกิดจิตสำนึกในการแก้ปัญหา บรรยากาศในความเท่าเทียมกันทำให้เข้าใจกัน หาทางออกร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาในชุมชนได้สำเร็จ  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อพัฒนารูปแบบในการป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดีและพยาธิใบไม้ตับในชุมชนตำบลเจ้าท่า  
กลุ่มเป้าหมาย : 1.ประชาชนในพื้นที่หมู่บ้านรับผิดชอบ รพ.สต.ท่าเพลิง 8 หมู่บ้าน 2.นักเรียนชั้นประถมศึกษา ๔ โรงเรียน  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล - ผู้ศึกษา - แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป - แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก - แนวทางการเสวนากลุ่มย่อย - แนวทางการประชุมระดมสมองสะท้อนคิด - เครื่องมือในการเก็บบันทึกข้อมูล (เครื่องบันทึกเสียง กล้องถ่ายรูป สมุดบันทึก) 2. Intervention - ชุดให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบ -โปสเตอร์ป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ - กิจกรรมจดหมายถึงพ่อ - นักเรียนขาเลาะเคาะประตูชวนเลิกกินปลาดิบ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้เวลา 16 เดือน ธ.ค.59 – มี.ค.61 ในพื้นที่หมู่บ้านรับผิดชอบ รพ.สต.ท่าเพลิง 8 หมู่บ้าน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ (1) ระยะการศึกษาสภาพปัญหาและพฤติกรรมสุขภาพ (2) ระยะปฏิบัติการ ผู้ร่วมศึกษาคือผู้ที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับในอุจจาระ ปี 2559 - 2560 จำนวน 365 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษา ๔ โรงเรียน จำนวน 80 คน รวม 445 คน ผู้ร่วมศึกษาได้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ เริ่มจากการร่วมในการให้ข้อมูลด้านสุขภาพ การวางแผน การสร้างชุดให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบ การดำเนินการตามแผน การสร้างองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนทัศนะคติแก่คณะกรรมการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ผู้ผ่านการอบรม ให้ความรู้และติดโปสเตอร์ป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับทุกครัวเรือน จัดเวทีการแสดงความคิดเห็นและสะท้อนคิดของคนในชุมชน จัดกิจกรรมจดหมายถึงพ่อเพื่อชวนให้สมาชิกในครอบครัวเลิกกินปลาดิบในทุกโรงเรียน กิจกรรมนักเรียนขาเลาะเคาะประตูชวนเลิกกินปลาดิบ และปรับแผนตามปัญหาที่พบในแต่ละกิจกรรม (3) ระยะประเมินผล เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจาก แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพและแบบติดตามการกินปลาดิบและการตรวจอุจจาระหาไข่หนอนพยาธิในประชาชน ผู้ร่วมศึกษาสรุปผลการพัฒนาเครือข่ายการสร้างเป็นกติกาชุมชน งานบุญหรืองานศพปลอดปลาดิบ เมื่อพบปัญหาในการดำเนินกิจกรรม เครือข่ายร่วมกันวางแผนในการแก้ไข เพื่อเข้าสู่วงรอบใหม่ของระบวนการพัฒนา  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ระดับดี ระดับ ระดับเขต  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง