ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : โครงการ To Be Number One. ป้องกันยาเสพติด สร้างสุขภาพ สร้างภูมิคุ้มกัน ตำบลศรีสมเด็จปีงบประมาณ 2562
ผู้แต่ง : นางสาวสวรรยา ภูมิพันธ์ และคณะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแสง ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศที่มีการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทย และทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมแลสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการเมืองและความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะเยาวชนอายุระหว่าง 6-25 ปี จำนวน 21 ล้านคน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ทั้งปัจจุบันและอนาคต แต่จะพบปัญหาอุปสรรค์ที่มีผล ต่อการสร้างคุณภาพชีวิตของเยาวชน เช่นยาเสพติด อบายมุข และปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เป็นต้น จากการศึกษาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พบว่าวัยรุ่นไทยส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมเลียนแบบกัน โดยเฉพาะเรื่องทดลองสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เสพยาเสพติด และมีพฤติกรรมทางเพศ นอกจากนี้ 4 ใน 10 ของวัยรุ่นไทยชอบเที่ยว สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ใช้สารเสพติด มีแนวโน้มของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานมากขึ้น และตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมากขึ้น (รากฐานไทย, 2558) จากปัญหาการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดของเยาวชน รัฐบาลจึงได้ประกาศเป็นนโยบายต่อสู้กับยาเสพติดและถือเป็นนโยบายเร่งด่วนรวมทั้งปรับแผนปฏิบัติการการป้องกันยาเสพติดและแก้ปัญหายาเสพติดในปี พ.ศ. 2546 ได้แก่ 1. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและผู้ติดยาเสพติด (Demand) 2. การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้สารเสพติด (Potential Demand) 3. การควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด (Supply) ประกอบกับทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงมีความความห่วงใยต่อประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและกลุ่มเยาวชนที่เป็นกลุ่มขนาดใหญ่ เพราะมีจำนวนถึง 21 ล้านคนและเป็นกลุ่มที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ เนื่องจากเป็นวัยที่ที่ต้องการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ แต่ยังขาดวุฒิภาวะทางอามรณ์ที่ดีพอ รวมทั้งต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ จึงทรงระกรุณาเป็นองค์ประธานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งปัจจุบันได้ใช้ชื่อเพื่อให้ง่ายต่อการรณรงค์ว่า โครงการ TO BE NUMBER ONE เพื่อรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในประเทศให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ โดยความร่วมมือและรวมพลังจากภาครัฐและเอกชน กระตุ้นปลูกจิตสำนึกของ ปวงชนในชาติให้มีความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักว่าการที่จะเอาชนะปัญหายาเสพติดมิใช่หน้าที่ของ บุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่ทุกคนในชาติจะร่วมแรง ร่วมใจกันเป็นพลังแผ่นดินที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติดให้ได้โดยเร็ว โดยทรงมีพระประสงค์มุ่งเน้นการรณรงค์ในกลุ่มเป้าหมายหลัก คือวัยรุ่นและเยาวชน โดยกลวิธีสร้างกระแสแสดงพลังอย่างถูกต้องโดยไม่ข้องแวะกับยาเสพติด การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้แก่เยาวชนในชุมชน จากที่ได้ลงสำรวจปัญหาในชุมชนตำบลศรีสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่าปัญหาในเรื่องยาเสพติดและการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาอันดับต้นๆที่ควรได้รับการแก้ไข และได้รับสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาจัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดและการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยได้จัดทำโครงการ TO BE NUMBER ONE ป้องกันยาเสพติด สร้างสุขภาพ สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีของชีวิต ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเนื่องจากปัญหาในเรื่องยาเสพติดและการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เกิดจากการขาดวุฒิภาวะ ขาดความรู้ ซึ่งกิจกรรมในโครงการ TO BE NUMBER ONE เป็นกิจกรรมที่จะทำให้วัยรุ่นเกิดความรู้ มีความเข้าใจและนำไปสู่พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดและการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้ และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้วิจัยจึงได้มีความสนใจศึกษาการใช้รูปแบบป้องกันแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาในโอกาสต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษารูปแบบกิจกรรมของโครงการ To Be Number one . ที่มีผลต่อความรู้ของวัยรุ่นในเรื่องยาเสพติดและการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหลังจากเข้าร่วมโครงการ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของวัยรุ่นต่อรูปแบบกิจกรรมของโครงการ To Be Number one. 3. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของวัยรุ่นต่อรูปแบบกิจกรรมของโครงการ To Be Number one  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอายุ 11-15 ปี โดยใช้วิธีการสุ่มจำนวน 50 คน พื้นที่ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : เป็นรูปแบบวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) มีการทดสอบก่อนและ หลังการทดลอง (One group Pre - test Post - test Design) ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2562 – 30 มีนาคมคม 2562 วัดผลการดำเนินงาน ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ TO BE NUMBER ONE ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์1. ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา(Content Validity)นำแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นไป ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาของแบบสอบถามโดยนำแบบสอบถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ประสบการณ์ และความชำนาญ จำนวน 2 ท่าน คือ 1.นางสาวกิ่งแก้ว สาระขันธ์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 2.นายสุรศักดิ์ จ้องสละ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา และขอข้อเสนอแนะ จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขตามที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะ จนได้แบบสอบถามที่ต้องการ 2. ตรวจสอบความเที่ยงของเนื้อหา นำแบบสัมภาษณ์มาเก็บข้อมูล โดยกลุ่มทดลอง จากตำบลหมู่ม่น จำนวน 15 ตัวอย่าง ทดสอบความเที่ยงของเนื้อหา ได้ค่า เท่ากับ 0.81  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1 ขั้นตอนการดำเนินงานและกิจกรรม กิจกรรม ระยะเวลา(เดือน) 1.ขั้นเตรียมการ - ประชุมวางแผน - วิเคราะห์ข้อมูล ปัญหาความต้องการจำเป็น - หาแนวทางแก้ไข กุมภาพันธ์ 2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ 2.3 ประชุมคณะกรรมการดำเนินการงาน กุมภาพันธ์ จัดทำแผนดำเนินการดังนี้ - จัดหาอาคาร/ห้อง พร้อมทั้งตกแต่งให้เอื้อต่อการให้บริการและการจัดการเรียนรู้และกิจกรรม กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2562 3.จัดกิจกรรมตามโครงการ 3 ฐาน - เข้าฐานกิจกรรม ด้านคุณธรรม จริยธรรม - เข้าฐานกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด - เข้าฐานกิจกรรมป้องกันตัวเองลดปัญหาท้องก่อนวัยอันควร - ฐานการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น - ฐานสุขภาพจิตวัยรุ่น - ฐานทักษะการปฏิเสธ/การยับยั้งชั่งใจ - ฐานการคุมกำเนิด - ฐานโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - จัดตั้งชมรมทูบีนำเบอร์วันในตำบลศรีสมเด็จ มีนาคม ๔. ขั้นประเมินผล - จากแบบสอบถาม (Pre – test, Post - test) - จากการสังเกตพฤติกรรม - จากการซักถาม – สอบถาม - รายงานผลระหว่างดำเนินงานและหลังสิ้นสุดการดำเนินงาน - รายงานโครงการฝ่ายบริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประเมินผลตามโครงการ 30 มีนาคม 2562  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง