ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : อุบัติการณ์การส่งคืนยาจากหอผู้ป่วย หลังการพัฒนาระบบกระจ่ายยาแบบหนึ่งหน่วยใช้ (Unit Dose System) โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์พ.ศ.2558
ผู้แต่ง : สายันต์ มาตบุรมย์ เภสัชกรปฎิบัติการ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ระบบการกระจายบนหอผู้ป่วยที่ใช้ในโรงพยาบาลของประเทศไทยจากการศึกษาเมื่อ ปี 2531 พบว่าส่วนใหญ่ยังใช้ ระบบดั้งเดิม (Traditional drug distribution System) ซึ่งเป็นระบบที่เคยใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยวิธีการแบบย่อๆคือการเบิกยาไปสำรองไว้ที่หอผู้ป่วยสำหรับจ่ายและบริหารให้กับผู้ป่วย ครั้งละประมาณ 3- 5 วัน (อภิฤดี เหมะจุฑา,2531) โดยก่อนหน้านี้ได้มีการศึกษาของต่างประเทศแสดงข้อมูลเปรียบเทียบระบบการกระจายยาแบบดั้งเดิมกับระบบกระจายยาแบบ Unit Dose พบว่าระบบดั้งเดิมทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา(Drug Administration Error) ได้สูงกว่าการกระจายยาแบบ Unit Dose (Berman, 1967) นอกจากนั้นยังมีการรวบรวมผลการศึกษาแบบสังเกตุการณ์ ที่เกี่ยวกับความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา ตั้งแต่ปี 1960-1990 พบว่าระบบการกระจายยาแบบ Unit Dose สามารถลดปัญหาที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนได้ร้อยละ 8.9-19.6 (Allan&Barker, 1990) เช่นเดียวกันกับข้อมูลจากสมาคมเภสัชกรโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกาพบว่าระบบการจ่ายยา Unit Dose นั้นมีข้อดีหลายประเด็นที่พบได้ดังนี้คือ 1.ลดอัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยา 2.สามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาทั้งหมดภายในโรงพยาบาล 3.ทำให้ควบคุมกำกับยาได้โดยการตลอด รวมทั้งสามารถติดตามผลการใช้ยาได้ดีขึ้น 4.สามารถคิดราคายาได้ถูกต้อง และยุติธรรมต่อผู้ป่วย 5.ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการคืนยา 6.ลดปริมาณ และมูลค่าของยาคงคลังทั้งหมด และสืบเนื่องจากข้อดีของระบบดังกล่าว ทางสมาคมเภสัชกรโรงพยาบาลในประเทศสหรัฐอเมริกา (American Society of Hospital Pharmacist; ASHP) ได้แนะนำให้โรงพยาบาลในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ระบบกระจายยาแบบ Unit Dose เพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาของโรงพยาบาล (ASHP statement,1989) ต่อมาสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลของไทยก็ได้แนะนำให้โรงพยาบาลในประเทศไทยให้นำลักษณะเด่นที่สำคัญของระบบกระจายยา Unit Dose มาประยุกต์ใช้ในระบบการจ่ายยาให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไปเพื่อรองรับการพัฒนามาตรฐานตามโครงการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation) (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลประเทศไทย,2542) โรงพยาบาลกมลาไสยตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2519 เป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง ต่อมาในปี พ.ศ 2539 ได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลขนาด 90 เตียง จนถึงปัจจุบัน ในช่วงประมาณปี 2540 โรงพยาบาลกมลาไสยได้นำระบบการจ่ายยาผู้ป่วยในแบบ One day dose หรือ Daily dose System เข้ามาใช้ คือการจัดยาไปสำหรับการบริหารยาผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลใน 1 วันซึ่งผลการดำเนินงานของระบบการกระจายยารูปแบบดังกล่าว พบว่ายังมีข้อจำกัดหรือ ปัญหาในการดำเนินงานหลายประเด็น เช่น การมียาเหลือคืนโดยไม่ทราบสาเหตุ ยาที่คืนก็ไม่ได้คิดหักค่ายาคืนกับผู้ป่วย หรือ การเบิกยาเพิ่มทั้งที่ยาจ่ายไปครบแล้ว นอกจากนั้นยังพบว่าไม่สามารถติดตามตรวจสอบกลับถึงการบริหารยาที่หอผู้ป่วยในเรื่องประสิทธิภาพในการบริหารได้ครบตามคำสั่งใช้ยา หรือมีการให้ยาที่ขาดหายไปใน ช่วงเวลาไหน ในเดือน ธันวาคม 2556 ฝ่ายเภสัชกรรมได้พัฒนางานโดยนำระบบการกระจายยาผู้ป่วยใน แบบ หนึ่งหน่วยใช้ (Unit Dose System) มาประยุกต์ใช้ในโรงพยาบาลซึ่งระบบดังกล่าวมีรูปแบบใน การกระจายยาที่พร้อมใช้กับผู้ป่วย แบบหนึ่งหน่วยบรรจุต่อหนึ่งหน่วยใช้ และมีการบันทึกการจ่ายยาให้ผู้ป่วยแต่ละราย หลังจากที่ฝ่ายเภสัชกรรมมีการทบทวนข้อมูลข้อดีจากหลายการศึกษา การนำระบบจ่ายยา แบบหนึ่งหน่วยใช้ (Unit Dose System) มาพัฒนาและปรับใช้ในโรงพยาบาลกมลาไสย จึงถือเป็นการพัฒนาคุณภาพระบบงานเพื่อเพิ่มมาตรฐานในระบบการจ่ายยาให้ตอบสนองต่อเป้าประสงค์ของโรงพยาบาลในเรื่องการดูแลผู้ป่วย (Patient Safety) อีกทั้งยังเป็นการเป็นการพัฒนางานตามวงจรการควบคุมคุณภาพ (Quality control improvement) ในอันที่จะส่งผลดีต่อทั้งผู้ป่วยและบุคลากรที่ปฏิบัติงานให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และพัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ไม่หยุดนิ่งต่อไป  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษา จำนวน และประเภทของยาที่คืน มาจากหอผู้ป่วยโรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อศึกษา สาเหตุของการคืนยา จากหอผู้ป่วย  
กลุ่มเป้าหมาย : จำนวนและรายการยาที่ถูกส่งกลับมาที่ห้องจ่ายยา (ระยะเวลา 3 เดือน)  
เครื่องมือ : แบบบันทึกข้อมูลอุบัติการณ์การส่งคืนยาจากหอผู้ป่วย หลังการพัฒนาระบบกระจ่ายยาแบบหนึ่งหน่วยใช้ (Unit Dose System) โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์พ.ศ.2557  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. รวบรวมยาที่เหลือจากหอผู้ป่วยในต่าง ๆ ส่งคืนที่ห้องจ่ายยาใน 2. งานจ่ายยาในดำเนินการแยกประเภทยา 3. งานจ่ายยาในทำการวิเคราะห์สาเหตุการคืนยาของหอผู้ป่วยในเป็นรายบุคคล 4. สรุปผลการวิเคราะห์สาเหตุการคืนยาของหอผู้ป่วยใน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง