ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของการใช้บัตรสีเตือนภัย ห่างไกลสารพิษ ต่อการลดสารเคมีในเลือดเกษตรกร
ผู้แต่ง : เสาวนีย์ บุตรวงษ์ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้บัตรสีเตือนภัย ห่างไกลสารพิษ ต่อการลดสารเคมีในเลือดเกษตรกร ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองไผ่ ตำบลเสาเล้า อำเภอหนองกุงศรี กลุ่มเป้าหมายคือประชาชนที่มีผลการตรวจเลือดพบสารเคมีตกค้างในเลือดระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยในชุมชนบ้านหนองไผ่ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 14 จำนวน 60 คน ระยะเวลาในการศึกษา ตั้งแต่ ตุลาคม 2560-กันยายน 2561 โดยมีการเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสัมภาษ 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านสุขภาพ ส่วนที่ 3 พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ส่วนที่ 4 ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลแบบหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้นวตกรรมบัตรสีในการแจ้งผลการตรวจเลือดในกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 30 คน แจ้งผลการตรวจด้วยหนังสือแจ้งผลตรวจ กลุ่มที่ 2 แจ้งผลด้วยนวตกรรมบัตรสีเตือนภัย ห่างไกลสารเคมี เก็บข้อมูลการเข้าสู่กระบวนการขับสารเคมีในเลือด ตรวจเลือดซ้ำหลังจากการส่งใบแจ้งผล 30 วัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่1 ไม่มีการใช้นวัตกรรมบัตรสีเตือนภัยห่างไกลจากสารพิษ กลุ่มเป้าหมายมีระดับสารเคมีตกค้างในเลือด ลดลงร้อยละ 26.66 (8) กลุ่มที่ 2 ใช้บัตรสีเตือนภัย ห่างไกลสารพิษ พบว่ากลุ่มเป้าหมายระดับสารเคมีตกค้างในเลือดลดลง คิดเป็นร้อยละ 86.66 (26) จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้นวตกรรมบัตรสีเตือนภัย ห่างไกลสารเคมีในการแจ้งผล มีค่าระดับสารเคมีตกค้างในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < 0.05) ซึ่งระดับสารเคมีในเลือดลดลงมากกว่ากลุ่มที่ 1 คือกลุ่มไม่ใช้นวตกรรมบัตรสีเตือนภัย ห่างไกลสารเคมี ร้อยละ 60 ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงที่มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือด และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเข้าร่วมกิจกรรมการขับสารพิษอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ มากกว่ากลุ่มไม่ใช้บัตรสีเตือนภัย ห่างไกลสารเคมี คำสำคัญ: บัตรสีเตือนภัย ห่างไกลสารเคมี  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการใช้บัตรสีเตือนภัย ห่างไกลสารพิษ ต่อการลดสารเคมีในเลือดเกษตรกร ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองไผ่ ตำบลเสาเล้า อำเภอหนองกุงศรี  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนที่มีผลการตรวจเลือดพบสารเคมีตกค้างในเลือดระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยในชุมชนบ้านหนองไผ่ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 14 จำนวน 60 คน  
เครื่องมือ : แบบสัมภาษ 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านสุขภาพ ส่วนที่ 3 พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ส่วนที่ 4 ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด  
ขั้นตอนการดำเนินการ : โดยเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้นวตกรรมบัตรสีในการแจ้งผลการตรวจเลือดในกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 30 คน แจ้งผลการตรวจด้วยหนังสือแจ้งผลตรวจ กลุ่มที่ 2 แจ้งผลด้วยนวตกรรมบัตรสีเตือนภัย ห่างไกลสารเคมี เก็บข้อมูลการเข้าสู่กระบวนการขับสารเคมีในเลือด ตรวจเลือดซ้ำหลังจากการส่งใบแจ้งผล 30 วัน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง