|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ฉลากยา 4.0 |
ผู้แต่ง : |
คมสัน ภูสีเขียว และคณะ |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองไผ่ เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนาดกลาง มีจำนวนผู้มารับบริการเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี จากการบันทึกสถิติความคลาดเคลื่อนทางยาจากการให้บริการในครึ่งแรกของปีงบประมาณ ๒๕๖๒ พบอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาจากระบบฉลากยา ระดับ A, B จำนวน 8 ครั้ง ได้แก่ การเขียนชื่อยาไม่ชัดเจน การเขียนวิธีการใช้ยาคลาดเคลื่อน การเขียนฉลากยาขาดวันหมดอายุ ส่งผลให้ผู้รับบริการได้รับยาผิดและมีการบริหารยาที่ผิดพลาด นวัตกรรม “ ฉลากยา 4.0 ”จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาระบบฉลากยาเดิมที่ใช้วิธีการเขียนฉลากยาด้วยลายมือ เป็นระบบพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์แบบใช้ความร้อน พร้อมทั้งนำเทคโนโลยี QR-Code มาใช้บนฉลากยา ตอบโจทย์โรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use : RDU Hospital) เพื่อลดความผิดพลาดในการใช้ยา (medication error) ของผู้มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองไผ่ โดยมีการวางแผนการดำเนินงาน ประชุมชี้แจงการดำเนินงานเพื่อสร้างความเข้าใจของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองไผ่ เสนอแนวทางการดำเนินงานให้ผู้บริหารทราบ สมัครลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ RDU QR Code กลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.มหาราชนครราชสีมา สร้างและรับ QR Code นำมาใช้ในหน่วยงาน จัดทำและพัฒนาชุดฉลากยามาตรฐาน โดยอ้างอิงจากฉลากยาโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล รพ.ระยอง โดยมีขั้นตอนการพัฒนาดังนี้ พัฒนาฉลากยาหรือสติกเกอร์ยาตาม RDU Label เช่น เพิ่มชื่อยาเป็นชื่อภาษาไทย พัฒนาฉลากยาเพิ่มข้อมูลต่างๆของคำแนะนำในการใช้ยา พัฒนาฉลากยาหรือสติกเกอร์ยา ให้มี QR Code แสดงอยู่บนฉลากยา และสามารถลิงค์เข้าถึงข้อมูลคำแนะนำในการใช้ยาต่างๆ ตามที่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ RDU QR Code กลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.มหาราช ติดตั้งเครื่องพิมพ์ฉลากยาแบบใช้ความร้อน พิมพ์ฉลากยาและนำมาใช้ในการให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองไผ่ บันทึกความคลาดเคลื่อนทางยาจากระบบฉลากยา และประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ
ผลการดำเนินงาน พบว่าอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาจากระบบฉลากยาระดับ A, B หลังดำเนินงานเท่ากับ 0 ครั้ง และความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อนวัตกรรมภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด(x= 4.72 ,S.D =.177 ) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกข้อ ได้แก่ ฉลากยา 4.0ทำให้ผู้มารับบริการใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ฉลากยา 4.0ทำให้ผู้มารับบริการมีความเข้าใจในการใช้ยาได้ง่าย ฉลากยา4.0 ทำให้การบริการจ่ายยาเกิดความสะดวก ความพึงพอใจต่อฉลากยา 4.0 มากกว่าฉลากยาแบบเขียนด้วยลายมือ ฉลากยา 4.0ทำให้ได้รับยาตรงตามอาการ ฉลากยา 4.0ทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ไม่ฟุ่มเฟือย ตามลำดับ
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อลดความผิดพลาดในการใช้ยา (medication error) ของผู้มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองไผ่ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองไผ่ |
|
เครื่องมือ : |
ฉลากยา 4.0 |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
โดยมีการวางแผนการดำเนินงาน ประชุมชี้แจงการดำเนินงานเพื่อสร้างความเข้าใจของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองไผ่ เสนอแนวทางการดำเนินงานให้ผู้บริหารทราบ สมัครลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ RDU QR Code กลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.มหาราชนครราชสีมา สร้างและรับ QR Code นำมาใช้ในหน่วยงาน จัดทำและพัฒนาชุดฉลากยามาตรฐาน โดยอ้างอิงจากฉลากยาโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล รพ.ระยอง โดยมีขั้นตอนการพัฒนาดังนี้ พัฒนาฉลากยาหรือสติกเกอร์ยาตาม RDU Label เช่น เพิ่มชื่อยาเป็นชื่อภาษาไทย พัฒนาฉลากยาเพิ่มข้อมูลต่างๆของคำแนะนำในการใช้ยา พัฒนาฉลากยาหรือสติกเกอร์ยา ให้มี QR Code แสดงอยู่บนฉลากยา และสามารถลิงค์เข้าถึงข้อมูลคำแนะนำในการใช้ยาต่างๆ ตามที่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ RDU QR Code กลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.มหาราช ติดตั้งเครื่องพิมพ์ฉลากยาแบบใช้ความร้อน พิมพ์ฉลากยาและนำมาใช้ในการให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองไผ่ บันทึกความคลาดเคลื่อนทางยาจากระบบฉลากยา และประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|