ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : นวัตกรรม บันได้ 10 ขั้น สร้างสรรค์ชุมชนปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานบุญ
ผู้แต่ง : อริยาภรณ์ ไชยศรี และคณะ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : การดื่มสุราเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคม และเศรษฐกิจนับวันจะรุนแรงมากขึ้น และวัฒนธรรมประเพณีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักจะมีการเลี้ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับผู้ที่มาร่วมงาน ทั้งงานบุญ งานประเพณี งานกฐิน ซึ่งจะพบประชาชนในชุมชนมีพฤติกรรมการดื่มเหล้า ตามมาด้วยการทะเลาะวิวาท ปัญหายาเสพติด และเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายอย่างไม่จำเป็น จากปัญหาดังกล่าวจึงได้พยายามหามาตรการและวิธีการป้องกัน แก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ชุมชนเป็นชุมชนปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในงานบุญงานประเพณี โดยใช้บันได้ 10 ขั้น สร้างสรรค์ชุมชนปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานบุญ เป็นแบบแผนในการดำเนินงาน เริ่มจาก 1)จัดตั้งคณะทำงาน ด้วยการเน้นผู้นำชุมชนในทุกฝ่ายทุกด้านมาร่วมเป็นคณะกรรมการอย่างน้อย 15 คน 2) เก็บข้อมูลในชุมชน 3) วิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม 4) ประชาคมคืนข้อมูลให้ชุมชนระดับหมู่บ้าน สร้างการมีส่วนร่วมและกำหนดกฎกติกา ในชุมชน 5) รณรงค์ ประชาสัมพันธ์และประกาศเจตนารมณ์ในการเป็นชุมชนปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานบุญ 6) ดำเนินงานบุญงานประเพณีปลอดเครื่องดื่มในชุมชน คณะกรรมสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าภาพหรืองานที่จัดขึ้นว่าผ่านไปได้ด้วยดี 7)จัดเก็บข้อมูลหลังดำเนินการ 8)จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลหลังดำเนินงานและถอดบทเรียนในชุมชน 9)จัดหา เวทียกย่องชื่นชมผู้ดำเนินงาน ทั้งคณะกรรมการและตัวเจ้าภาพงานบุญ 10) รณรงค์ให้เกิดความต่อเนื่อง ผลจากการใช้นวตกรรม พบว่าสามารถดำเนินงานบุญงานประเพณีที่กำหนดไว้ในกติกาชุมชน ทั้ง 4 งาน (งานศพ งานบวช งานบุญ งานกฐินส่วนรวม ) คิดเป็นร้อยละ 100 และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ย 30,000 บาท/งาน ประชาชนในชุมชนบ้านหนองไผ่ หมู่ที่ 14 มีความพึงพอใจมากที่สุด ในการรักษาและส่งเสริมประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่น ร้อยละ 97.33 ลดภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 96.67 การใช้นวัตกรรม บันได้ 10 ขั้น สร้างสรรค์ชุมชนปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานบุญ สามารถทำให้เกิดชุมชนปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานบุญงานประเพณีได้ กลไกสำคัญแรกที่คือคณะทำงานที่เข้มแข็งและมาจากทุกภาคส่วนทุกกลุ่มของชุมชน การคัดเลือกคณะกรรมการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของชุมชนจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จในครั้งนี้ได้  
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ชุมชนเป็นชุมชนปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในงานบุญงานประเพณี  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรชุมชนบ้านหนองไผ่  
เครื่องมือ : บันได้ 10 ขั้น สร้างสรรค์ชุมชนปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานบุญ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การดำเนินงาน เริ่มจาก 1)จัดตั้งคณะทำงาน ด้วยการเน้นผู้นำชุมชนในทุกฝ่ายทุกด้านมาร่วมเป็นคณะกรรมการอย่างน้อย 15 คน 2) เก็บข้อมูลในชุมชน 3) วิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม 4) ประชาคมคืนข้อมูลให้ชุมชนระดับหมู่บ้าน สร้างการมีส่วนร่วมและกำหนดกฎกติกา ในชุมชน 5) รณรงค์ ประชาสัมพันธ์และประกาศเจตนารมณ์ในการเป็นชุมชนปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานบุญ 6) ดำเนินงานบุญงานประเพณีปลอดเครื่องดื่มในชุมชน คณะกรรมสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าภาพหรืองานที่จัดขึ้นว่าผ่านไปได้ด้วยดี 7)จัดเก็บข้อมูลหลังดำเนินการ 8)จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลหลังดำเนินงานและถอดบทเรียนในชุมชน 9)จัดหา เวทียกย่องชื่นชมผู้ดำเนินงาน ทั้งคณะกรรมการและตัวเจ้าภาพงานบุญ 10) รณรงค์ให้เกิดความต่อเนื่อง  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง