ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : พฤติกรรมการสูบบุหรี่ต่อการรับรู้ปัญหาสุขภาพช่องปาก ของบุคลากรภาครัฐที่ทำงาน ในเขตตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ทวีศักดิ์ ตรีภพ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการสูบบุหรี่ต่อการรับรู้ปัญหาสุขภาพช่องปาก ของบุคลากรภาครัฐที่ทำงานในเขตตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ บุคลากรภาครัฐที่ทำงานในเขตตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 49 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากนั้นนำข้อมูลจากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปแจกแจงข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ One Sample T-TEST ผลการศึกษาพบว่า ประเภทของบุหรี่ที่สูบมีผลต่อการรับรู้ในระดับต่ำ ค่าเฉลี่ย 1.27 (S.D. = 0.44) ส่วนช่วงเวลาที่สูบบุหรี่ มีผลต่อการรับรู้ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.79 (S.D. = 0.68) อีกทั้งในส่วนของระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่สูบบุหรี่แต่ละมวนห่างกันเป็นเวลากี่นาทีนั้น มีผลต่อการรับรู้ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.49 (S.D. = 0.54) และความสมัครใจที่จะเข้าระบบการรักษาทางทันตกรรมตามความเหมาะสม มีผลต่อการรับรู้ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.73 (S.D. = 0.44) ด้านการรับรู้ปัญหาสุขภาพช่องปาก พบว่าประเภทของบุหรี่ที่สูบมีผลต่อการรับรู้ปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนช่วงเวลาที่สูบบุหรี่ มีผลต่อการรับรู้ปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อีกทั้งในส่วนของระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่สูบบุหรี่แต่ละมวนห่างกันเป็นเวลากี่นาทีนั้น มีผลต่อการรับรู้ปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และความสมัครใจที่จะเข้าระบบการรักษาทางทันตกรรมตามความเหมาะสม มีผลต่อการรับรู้ปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และในส่วนของการรับรู้ด้านโรคในช่องปาก พบว่าประเภทของบุหรี่ที่สูบมีผลต่อการรับรู้ด้านโรคในช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนช่วงเวลาที่สูบบุหรี่ มีผลต่อการรับรู้ด้านโรคในช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อีกทั้งในส่วนของระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่สูบบุหรี่แต่ละมวนห่างกันเป็นเวลากี่นาทีนั้น มีผลต่อการรับรู้ด้านโรคในช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และความสมัครใจที่จะเข้าระบบการรักษาทางทันตกรรมตามความเหมาะสม มีผลต่อการรับรู้ด้านโรคในช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษา พฤติกรรมการสูบบุหรี่ต่อการรับรู้ปัญหาสุขภาพช่องปาก ของบุคลากรภาครัฐที่ทำงานในเขตตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ บุคลากรภาครัฐที่ทำงานในเขตตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 49 คน  
เครื่องมือ : เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากนั้นนำข้อมูลจากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปแจกแจงข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ One Sample T-TEST  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง