ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียนเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ทวีศักดิ์ ตรีภพ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ การพัฒนารูปแบบเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียนเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม (Participatory actionresearch : PAR)และ ใช้กระบวนการ PAOR ตามแนวคิดของ เคมมิส และแมกทากาด (Kemmis &Mc Taggart. 1990) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Action) ขั้นสังเกตการณ์ (Observe) และขั้นสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มเป้าหมาย 80 คน คือแกนนำนักเรียนในแต่ละโรงเรียน โรงเรียนละ 10 คน จำนวน 8 โรงเรียนในเขตรับผิดชอบ ภายใต้ชื่อแกนนำยุวชนทันตกรรมตำบลหนองบัว ร่วมกับครูอนามัยในแต่ละโรงเรียนโดยมีการศึกษาขั้นตอนที่ 1 การร่วมกันตระหนักในปัญหา จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพในโรงเรียนและแจ้งผลการสำรวจสุขภาพช่องปากของนักเรียนคืนข้อมูลถึงผู้บริหารในแต่ละโรงเรียน และได้ทำการทดสอบยุวชนทันตกรรมตำบลหนองบัว ในด้านความรู้ ความเข้าใจ ในด้านการดูแลช่องปาก ก่อนให้ความรู้พบว่า ค่าเฉลี่ยด้านความรู้อยู่ระหว่าง 2.65 ถึง 2.67 แสดงว่า กลุ่มเป้าหมายมีมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการการดูแลช่องปากอยู่ในระดับปานกลางและทดสอบหลังการให้ความรู้ พบว่า ค่าเฉลี่ยด้านความรู้อยู่ระหว่าง 3.69 ถึง 3.73 แสดงว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการการดูแลช่องปากในระดับมาก แสดงให้เห็นว่ามีความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม ส่วนขั้นตอนที่ 2 การร่วมวางแผนและกำหนดทางเลือก ประกอบด้วย การรณรงค์ไม่ดื่มน้ำอัดลมและขนมหวานในโรงเรียนโดยการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายและจัดบอร์ดให้ความรู้เรื่องโรคที่เกิดขึ้นในช่องปาก และเชิญชวนให้นำแปรงสีฟันมาจากบ้านแล้วลงมือปฏิบัติโดยการสอนและแนะนำการแปรงฟันที่ถูกวิธีหลังทานอาหารกลางวัน พบว่า ดัชนีความสอดคล้องมีค่าอยู่ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 แสดงว่า แผนการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียนที่กลุ่มเป้าหมายและผู้วิจัยร่วมกันพัฒนา มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ พบค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.33 ถึง 4.63 แสดงว่าแผนการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียนมีความเหมาะสมในระดับมาก ถึง มากที่สุด ขั้นตอนที่ 3 การร่วมลงมือปฏิบัติ กลุ่มเป้าหมายและผู้วิจัยดำเนินการติดตามตรวจสอบ ตามแผนการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียนที่ร่วมกันระดมความคิดขึ้น พบว่า กลุ่มเป้าหมายสามารถปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียนตามขั้นตอนที่กำหนด โดยการรณรงค์ไม่ดื่มน้ำอัดลมและขนมหวานในโรงเรียนโดยการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายและจัดบอร์ดให้ความรู้เรื่องโรคที่เกิดขึ้นในช่องปาก และลงมือปฏิบัติโดยการสอนและแนะนำการแปรงฟันที่ถูกวิธีทำให้ประสบผลสำเร็จส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ขั้นตอนที่ 4 การร่วมประเมินผลและรายงานผล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับแผนการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียนโดยผู้วิจัย ครูและนักเรียน พบว่า กลุ่มเป้าหมายพอใจในการพัฒนารูปแบบเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียนทุก ๆ ขั้นตอน สามารถแนะนำ ช่วยเหลือและให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียนด้วยกันได้อย่างเหมาะสม และดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียนของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง การเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงการแปรงฟันที่ถูกวิธีหลังอาหารกลางวันเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียน พบว่า คะแนนเฉลี่ย กลุ่มเป้าหมายก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียนโดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  
วัตถุประสงค์ : เพื่อ การพัฒนารูปแบบเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียนเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเป้าหมาย 80 คน คือแกนนำนักเรียนในแต่ละโรงเรียน โรงเรียนละ 10 คน จำนวน 8 โรงเรียนในเขตรับผิดชอบ  
เครื่องมือ : โดยวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม (Participatory actionresearch : PAR)และ ใช้กระบวนการ PAOR ตามแนวคิดของ เคมมิส และแมกทากาด (Kemmis &Mc Taggart. 1990) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Action) ขั้นสังเกตการณ์ (Observe) และขั้นสะท้อนผล (Reflection)  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การพัฒนารูปแบบเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียนเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม (Participatory actionresearch : PAR)และ ใช้กระบวนการ PAOR ตามแนวคิดของ เคมมิส และแมกทากาด (Kemmis &Mc Taggart. 1990) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Action) ขั้นสังเกตการณ์ (Observe) และขั้นสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มเป้าหมาย 80 คน คือแกนนำนักเรียนในแต่ละโรงเรียน โรงเรียนละ 10 คน จำนวน 8 โรงเรียนในเขตรับผิดชอบ ภายใต้ชื่อแกนนำยุวชนทันตกรรมตำบลหนองบัว ร่วมกับครูอนามัยในแต่ละโรงเรียน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง