|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาแนวทางการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดโรงพยาบาลหนองกุงศรี |
ผู้แต่ง : |
วาสนา โคตรศักดิ์ ,อัญชลี ภูมีศรี |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
การตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมที่พบได้บ่อย เป็นสาเหตุการเสียชีวิตและทุพพลภาพของมารดาหลังคลอด ทำให้นอนโรงพยาบาลนานขึ้น และส่งผลเสียต่อความสามารถของมารดาในการดูแลทารก จากสถิติปีงบประมาณ 2556-2559 พบมารดาตกเลือดหลังคลอด จำนวน 5 ราย, จำนวน 6 ราย ,จำนวน 4 ราย,จำนวน 3 ราย ตามลำดับ จากการทบทวนอุบัติการณ์พบว่า สาเหตุของการตกเลือดหลังคลอดส่วนใหญ่ร้อยละ80มาจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี ซึ่งมีความสัมพันธ์กับมารดาที่มีภาวะซีด คลอดทารกตัวโต มดลูกหดรัดตัวไม่ดีขณะรอคลอด เคยคลอดทางช่องคลอดมากกว่า 4 ครั้ง และมีประวัติเคยตกเลือดหลังคลอด ในจำนวนนี้มีมารดาตกเลือดหลังคลอดที่เสียเลือดมากกว่า 1000 ml. จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 44.44 ได้รับการรักษาด้วยการให้เลือด 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 75 จึงเห็นว่าการค้นหามารดาที่มีความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด การวางแผนป้องกัน และการรักษาที่รวดเร็ว สามารถลดอัตราและความรุนแรงของการตกเลือดหลังคลอด |
|
วัตถุประสงค์ : |
พัฒนาแนวทางการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดโรงพยาบาลหนองกุงศรี |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
หญิงตั้งครรภ์มารับริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลหนองกุงศรี |
|
เครื่องมือ : |
แนวทางการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดโรงพยาบาลหนองกุงศรี |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
พัฒนาระบบการเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้ งานฝากครรภ์มีการพัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง เมื่อหญิงตั้งครรภ์มารับริการฝากครรภ์ที่แผนก ANC งานฝากครรภ์จะคัดกรองมารดาทุกราย เมื่อพบมารดาที่ความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดจะได้รับการเฝ้าติดตาม แก้ไข ส่งปรึกษาแพทย์หรือสูติแพทย์ เพื่อตรวจUltrasound ประเมินความเสี่ยงมารดาในไตรมาสที่ 1 และ 3 และส่งต่อข้อมูลให้งานห้องคลอด เมื่อมารดามาคลอดที่ห้องคลอด งานห้องคลอดจะคัดกรองมารดาแรกรับทุกรายเพื่อประเมินระดับความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดและประเมินต่อเนื่องระหว่างรอคลอด เมื่อพบมารดามีความเสี่ยงแพทย์จะมาประเมินมารดกลุ่มนี้ที่ห้องคลอดทุกราย มารดาที่มีความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดจะได้รับการดูแลตามระดับความเสี่ยงต่ำ ปานกลาง หรือสูง ขณะคลอดมีการประเมินการสูญเสียเลือดอย่างแม่นยำ เมื่อมีการตกเลือดเกิดขึ้นจะใช้แนวปฏิบัติการรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดที่ได้มาตรฐาน งานเภสัชจะจัดหายาที่ใช้ในภาวะฉุกเฉินเช่น Cytotec , Nalador , Methergin งาน Lab & Blood bank เตรียมเลือดให้พร้อมและสามารถให้เลือดได้ภายใน 30 นาที ที่ห้องหลังคลอดมีมาตรฐานการเฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอดทั้งมารดากลุ่มเสี่ยงและไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง มีการให้ความรู้ในการสังเกตอาการตกเลือดทั้งขณะอยู่โรงพยาบาลและเมื่อกลับบ้าน ก่อนจำหน่ายมารดากลับบ้านมารดาจะได้รับได้รับแผ่นพับความรู้การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดทุกราย มีการนัดติดตามตรวจหลังคลอด 2 สัปดาห์ที่ห้องคลอด นอกจากนี้งานห้องคลอดจะประเมินและพัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงและทักษะการช่วยคลอดเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดควบคู่ไปด้วย และเมื่อพบอุบัติการณ์มีการทบทวนร่วมกันทั้งทีมสหวิชาชีพเพื่อค้นหาสาเหตุและพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|