ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ความปลอดภัยจากการปฏิบัติงานของพนักงานคัดแยกขยะรีไซเคิลชุมชนบ้านคำขาม ตำบล ดงมูล อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2562
ผู้แต่ง : วัชรินทร์ พรมขวัญ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และหามาตรฐานวิธีการปฏิบัติงานที่ ปลอดภัยของพนักงานคัดแยกขยะรีไซเคิล โดยทำการศึกษาใน 5 แผนก คือ แผนกจัดหาขยะรีไซเคิล แผนกขนย้ายขยะรีไซเคิล แผนกคัดแยกชิ้นส่วนขยะรีไซเคิลตามชนิดของขยะ แผนกบดตัดชิ้นส่วนขยะรีไซเคิลให้มีขนาดเล็กลง แผนกบรรจุขยะรีไซเคิล แล้วทำการประเมินความเสี่ยงเพื่อเลือกกลุ่มประชากร หลังจากการประเมินความเสี่ยงแล้วได้กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ แผนกจัดหาขยะรีไซเคิล แผนกคัดแยกชิ้นส่วนขยะรีไซเคิลตามชนิดของขยะ และแผนกบดตัดชิ้นส่วนขยะรีไซเคิลให้มีขนาดเล็กลง รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 20 คน โดยศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การเจ็บป่วยและอันตรายจากการประกอบอาชีพ การสำรวจสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมใน การทำงาน การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในพื้นที่ทำงานของกลุ่มตัวอย่าง และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในกลุ่มอาชีพที่ศึกษา โดยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมด้านพฤติกรรมในการทำงาน การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก และการใช้เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มตัวอย่าง ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ใช้รูปแบบการเรียนรู้และการแก้ปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อให้ได้แนวทางและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขสภาพปัญหา หรืออันตรายที่เกิดจากการประกอบอาชีพ จากนั้นติดตามผลการเรียนรู้ และประเมินผลการดำเนินการเพื่อหาส่วนที่ต้องปรับปรุง เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมกลุ่ม ผลการศึกษา พบว่า พนักงานคัดแยกขยะรีไซเคิลมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ จึงปฏิบัติงาน ด้วยความเคยชินหรือตามประสบการณ์ทำงาน ในบางครั้งจะชอบการทำงานที่ประมาทและมีความเสี่ยง แทนที่จะใช้เครื่องมือ เครื่องทุ่นแรง และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล สาเหตุเพราะพนักงานมีความเคยชินและปฏิบัติงานมาเป็นเวลานาน จึงไม่ให้ความสนใจเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเท่าที่ควร โดยคิดว่าระวังตัวเป็นอย่างดีแล้ว และพนักงานจะปฏิบัติงานในท่าทางเดิมๆ เป็นระยะเวลานาน อีกทั้ง ปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม จึงมีอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงาน เช่น มีบาดแผลตามร่างกาย ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดแขน ปวดขาและเข่า เกิดปัญหากับสุขภาพตา คือ อาการปวดตา เคืองตา ตา พร่า และแสบตา และเกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานขึ้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ เช่น โดนของมีคมบาด โดนกระแทก การหกล้ม การตกจากที่สูง เป็นต้น จากการวิจัยยังพบอีกว่า สาเหตุที่สำคัญของปัญหาความปลอดภัยของพนักงานคัดแยกขยะรีไซเคิล คือ การที่นายจ้างให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานไม่มากเท่าที่ควร ไม่มีการบริหารจัดการ เรื่องความปลอดภัยที่เป็นรูปธรรม ไม่มีการให้ความรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสม ไม่มีการจัดหาอุปกรณ์ ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เพียงพอ และเหมาะสมกับงาน คำสำคัญ : ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ความปลอดภัยของพนักงานคัดแยกขยะรีไซเคิล  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และหามาตรฐานวิธีการปฏิบัติงานที่ ปลอดภัยของพนักงานคัดแยกขยะรีไซเคิล  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ แผนกจัดหาขยะรีไซเคิล แผนกคัดแยกชิ้นส่วนขยะรีไซเคิลตามชนิดของขยะ และแผนกบดตัดชิ้นส่วนขยะรีไซเคิลให้มีขนาดเล็กลง รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 20 คน  
เครื่องมือ : กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ แผนกจัดหาขยะรีไซเคิล แผนกคัดแยกชิ้นส่วนขยะรีไซเคิลตามชนิดของขยะ และแผนกบดตัดชิ้นส่วนขยะรีไซเคิลให้มีขนาดเล็กลง รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 20 คน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : โดยทำการศึกษาใน 5 แผนก คือ แผนกจัดหาขยะรีไซเคิล แผนกขนย้ายขยะรีไซเคิล แผนกคัดแยกชิ้นส่วนขยะรีไซเคิลตามชนิดของขยะ แผนกบดตัดชิ้นส่วนขยะรีไซเคิลให้มีขนาดเล็กลง แผนกบรรจุขยะรีไซเคิล แล้วทำการประเมินความเสี่ยงเพื่อเลือกกลุ่มประชากร หลังจากการประเมินความเสี่ยงแล้วได้กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ แผนกจัดหาขยะรีไซเคิล แผนกคัดแยกชิ้นส่วนขยะรีไซเคิลตามชนิดของขยะ และแผนกบดตัดชิ้นส่วนขยะรีไซเคิลให้มีขนาดเล็กลง รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 20 คน โดยศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การเจ็บป่วยและอันตรายจากการประกอบอาชีพ การสำรวจสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมใน การทำงาน การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในพื้นที่ทำงานของกลุ่มตัวอย่าง และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในกลุ่มอาชีพที่ศึกษา โดยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมด้านพฤติกรรมในการทำงาน การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก และการใช้เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มตัวอย่าง ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ใช้รูปแบบการเรียนรู้และการแก้ปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อให้ได้แนวทางและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขสภาพปัญหา หรืออันตรายที่เกิดจากการประกอบอาชีพ จากนั้นติดตามผลการเรียนรู้ และประเมินผลการดำเนินการเพื่อหาส่วนที่ต้องปรับปรุง เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมกลุ่ม  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง