|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแนวคิด”เข้าถึง พึงใจ จากกันไปอย่างมีความสุข” |
ผู้แต่ง : |
นายจิรขจร จันทร์ศรีหา |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองคือ การดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยโรคที่คุกคามต่อชีวิตและคุณภาพชีวิต รวมไปถึงครอบครัวของผู้ป่วยในลักษณะองค์รวมครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เพื่อบรรเทาและป้องกันความทุกข์ทรมาน และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวดีขึ้น (WHO, 2002; กวีวัณณ์ วีรกุล, 2554) เป็นการเยียวยาคนทั้งคนโดยรวมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เยียวยาทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ (ประเวศ วะสี, 2552) การดูแลรักษาแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว ควรเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่แรกที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หายจนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต ส่วนการดูแลครอบครัวและผู้ดูแลจะครอบคลุมไปจนถึงระยะเวลาหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต (WHO, 2002; สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ,มปป.)
ในปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของประเทศไทย ได้มีการจัดทำแนวทางดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักในการประเมินและดูแลผู้ป่วย ให้แก่สถานบริการด้านสุขภาพ เช่น แนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ของกระทรวงสาธารณสุข
ผลจากการศึกษาและนำแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองมาใช้ พบว่า บริบทของชุมชนในแต่ละพื้นที่ของประเทศมีความแตกต่างกัน การนำแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองมาใช้จึงควรมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับชุมชนของแต่ละพื้นที่
จากเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้ทางคณะกรรมการการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโรงพยาบาลสมเด็จ ได้ทำการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพชุมชนผู้รับบริการในเขตอำเภอสมเด็จ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้รับบริการได้เข้าถึงระบบการดูแลแบบประคับประคอง เกิดความพึงพอใจทั้งแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล และผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ(good death)
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1.เพื่อให้ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคับประคอง ได้เข้าถึงระบบการดูแลมากขึ้น
2.เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลที่มารับบริการเกิดความพึงพอใจ
3.เพื่อให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคองและครอบครัว ในเขตอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
เครื่องมือ : |
-แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการแบบประคับประคอง จัดทำโดยกองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข
-แบบประเมินPaliative Performance Status version.2
-แบบประเมินอาการรบกวนของผู้ป่วย(ESAS)
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
มีการเริ่มดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือน มกราคม2562โดยการดำเนินงานมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การประเมินสภาพปัญหา ผู้จัดทำได้ศึกษาสภาพปัญหาการให้บริการของกลุ่มผู้ป่วยที่ควรได้รับการดูแลแบบประคับประคองจากการสนทนากลุ่มเพื่อค้นหาปัญหา จากกลุ่มผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย และกลุ่มอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน (อสม.) นอกจากนี้ผู้จัดทำได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยใช้แนวทาง การสัมภาษณ์ที่ประยุกต์มาจากการศึกษาของ ทัศนี สรรค์นิกร (2553)
ขั้นตอนที่ 2 การวางแผน ทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง และระบบการดูแล รวมทั้งแนวทางในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่ใช้ในปัจจุบัน แล้วนำปัญหาที่ได้และวรรณกรรม ที่สืบค้นมา นำมาประชุมระดมสมองในทีมสหสาขาวิชาชีพ จัดทำร่างแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองให้สอดคล้องกับวิถีชุมชน อำเภอสมเด็จ ซึ่ง ได้เกิดแนวทางในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่การวินิจฉัยจนถึงการดูแลในชุมชน
ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติ โดยการนำแนวทางในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง โดยย่อดังนี้
-การเข้าถึงการรับบริการ ได้แก่ มีการค้นหากลุ่มผู้ป่วยในชุมชน โดยทีมเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต ในเขตอำเภอสมเด็จ และเพิ่มช่องทางในการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล เช่นทางไลน์
-ผู้ป่วยได้รับบริการทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ ตามแนวปฏิบัติที่ได้จัดทำขึ้น
-มีระบบการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย และให้การดูแลผู้ป่วยและครอบครัวจนถึงระยะหลังเสียชีวิต
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผล ประเมินผลหลังดำเนินการพัฒนาระบบไปใช้ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ จากแบบสอบถาม ความพึงพอใจในการได้รับการดูแลแบบประคับประคอง และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ต่อ การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคับประคองจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ ค่าเฉลี่ยร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยและผู้ดูแลทั้งหมดราย เป็นเพศชาย12ราย เพศหญิง2ราย ผู้ดูแลผู้ป่วยจำนวน14ราย ในช่วงวันที่1มกราคม25625ถึงวันที่31มีนาคม2562 พบว่ามีผู้ป่วยที่ได้รับส่งต่อข้อมูลเพื่อเข้ารับการดูแลแบบประคับประคองรายใหม่จากชุมชนทั้งหมด5ราย มารับการตรวจคัดกรองที่ ร.พ จำนวน9ราย ผุ้ป่วยและผู้ดูแลมีความพึงพอใจร้อยละ95.2 แะจากการสอบถามข้อมูลจากผู้ดูแลพบว่าผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ จำนวน13ราย คิดเป็นร้อยละ92.8
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ควรให้การดูแลอย่างครอบคลุมทั้งมิติทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ การทำแนวทางการดูแลผู้ป่วย ควรมีความสอดคล้องกับชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|