|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการส่งเวรพยาบาลบนหอผู้ป่วยหญิง |
ผู้แต่ง : |
นางเพียงขวัญ แตงอ่อน |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
กระบวนการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วย เป็นการสื่อสารที่มีความสำคัญหากมีการสื่อสารที่ดีมีประสิทธิภาพจะช่วยส่งผลให้การบริการดูแลผู้ป่วยบรรลุเป้าหมายตามแผนการรักษาพยาบาลที่กำหนดไว้อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง จากสภาพปัจจุบันยังมีโอกาสพัฒนากระบวนการรับส่งเวรทางการพยาบาลซึ่งพบว่าบุคลากรสื่อสารการส่งเวรไม่เป็นแนวทางเดียวกัน ลำดับเหตุการณ์ขั้นตอนต่างกัน ส่งข้อมูลซ้ำซ้อน เสียงเบา เตรียมข้อมูลไม่ครบถ้วน การนำเทคนิคการสื่อสาร SBAR (Situation, Background, Assessment, Recommendation) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย (Patient Safety Goal : PSG : SIMPLE) P 2.1 Effective Communication –SBAR มาประยุกต์ใช้ในการรับส่งเวร ซึ่งจะช่วยลดอุบัติการณ์ความเสี่ยงจากกการรับส่งข้อมูลระหว่างเวร ที่ไม่มีประสิทธิภาพ และลดระยะเวลาของการรับส่งเวร ซึ่งระยะเวลาในการรับส่งเวร เฉลี่ย 24 นาที เวลาต่ำสุด 11 นาที ในเวรดึก เวลาสูงสุด 89 นาที ในเวรเช้า(อ้างในพรพิลาศ พลประสิทธิ์,2547) ระยะเวลาในการรับ-ส่งเวร โดยใช้แนวคิด Lean พบว่าเวลาต่ำสุด คือ 20 นาทีสูงสุด 35 นาที (อ้างในสันทัด ศศิวณิช,2550)
ตึกผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีจำนวนเตียง 34 เตียง แยกเป็นเตียงสามัญ จำนวน 32 เตียง และห้องแยกโรค จำนวน 2 ห้อง ให้บริการผู้ป่วยทุกประเภททั้งด้านอายุรกรรม ศัลยกรรม สูติ-นรีเวชกรรม กุมารเวชกรรม จิตเวช และ ศัลยกรรมกระดูก จากสถิติผู้ป่วย ปี 2559-2562 (ม.ค.59-พ.ค.62) มีจำนวนผู้ป่วย 1.747 , 2,188 ,และ 2344 คน ตามลำดับ ยอดผู้ป่วยเฉลี่ยต่อวัน เท่ากับ 24-27คน ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการรับ-ส่งเวร นาน ส่งต่อข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือคลาดเคลื่อน สูญเสียเวลาทำงาน เกิดความล่าช้าในการทำงาน และการประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ผู้ป่วยอาจต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้นจากความผิดพลาดของข้อมูลการรักษา จากสถิติการเก็บข้อมูลก่อนการพัฒนา ช่วง 3 เดือน (ม.ค.61-มี.ค.62) พบว่าจำนวนอุบัติการณ์ความเสี่ยงจากการส่งต่อข้อมูลระหว่างเวรไม่ครบถ้วน จำนวน มี 12 ครั้ง และระยะเวลาในการรับส่งเวร เฉลี่ย เป็น 63.9 นาที
ดังนั้นผู้ศึกษาในฐานะพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลสมเด็จ จึงมีการพัฒนารูปแบบการรับ-ส่งเวรของพยาบาล โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการสื่อสาร SBAR ให้มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเพิ่มคุณภาพในการดูแลผู้ป่วย อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย ประทับใจบริการ ช่วยลดอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่เกิดจากการรับส่งข้อมูลระหว่างเวรไม่ครบถ้วน และลดระยะเวลาในการรับส่งเวร ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลผู้ป่วยระหว่างเวรโดยใช้เทคนิคการสื่อสาร SBAR เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย
2. เพื่อลดอุบัติการณ์ความผิดพลาดในขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยเนื่องจากการรับส่งข้อมูลระหว่างเวรไม่มีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้มีมาตรฐานหรือแนวทางในการรับส่งเวร ที่ปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน
4. เพื่อลดระยะเวลาในการส่งเวร
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
พยาบาลวิชาชีพที่ปฎิบัติงานในตึกหญิงจำนวน 9 คน |
|
เครื่องมือ : |
แบบบันทึกขณะรับส่งเวรทำให้เกิดความสะดวกครบถ้วนสามารถนำมาทบทวนได้เมื่อจำเป็นทำให้ข้อมูลในการส่งเวรให้เวรถัดไปรับทราบและดูแลผู้ป่วยมีความต่อเนื่อง |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. มีการประชุมระดมสมอง วิเคราะห์หาสาเหตุ พบสาเหตุ 4 ด้าน ได้แก่
ด้านบุคลากร ด้านข้อมูลการสื่อสาร ด้านอุปกรณ์/เครื่องมือการจดบันทึก และด้านสิ่งแวดล้อม
2. มีการวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกัน พร้อมทั้งมอบหมายผู้รับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องชัดเจน
3. วางระบบการการรับ-ส่งเวร โดยมีการกำหนดขั้นตอนในการรับส่งเวร ตั้งแต่การเตรียมตัวก่อนส่ง
เวร ขณะรับเวรและหลังรับเวร
4. นำเทคนิคการสื่อสาร SBAR (Situation, Background, Assessment, Recommendation)
ซึ่งเป็น เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการติดต่อสื่อสารทุกชนิดที่มีผลต่อความปลอดภัยของ
ผู้ป่วย
S=Situation ข้อมูลของผู้ป่วย เช่น ชื่อ-สกุล อายุ เตียง แพทย์เจ้าของไข้ Diagnosis ปัญหาที่มาโรงพยาบาลและระยะเวลาที่เป็น
B=Background ประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการแพ้ ประวัติการผ่าตัด
A=Assessment การประเมินผู้ป่วย การตรวจร่างกาย สัญญาณชีพ ความเจ็บปวด อาการทางสมอง
ข้อ R=Recommendation ข้อเสนอแนะ เช่น ต้องสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ต้องรายงานแพทย์จากการตรวจต่างๆมีปัญหา เช่น film X-ray คลื่นหัวใจผิดปกติ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผิดปกติ
5. มีแบบบันทึกการรับส่งเวร ที่ชัดเจน
6. เก็บรวบรวมข้อมูล สรุป และวิเคราะห์
7. ตรวจสอบ เพื่อประเมินผลการรับส่งเวร ในการหาโอกาสพัฒนา
8. ปรับปรุงขั้นตอนการรับส่งเวรที่ยังไม่ครอบคลุมและที่ใช้เวลานาน
9. ติดตามนิเทศงาน ประเมินผลการรับส่งเวรและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
จะเห็นได้ว่าก่อนการพัฒนาระยะเวลาในการส่งเวรนานถึง 63.9 นาที มีอุบัติการณ์ความเสี่ยงจากการส่งข้อมูลระหว่างเวรไม่ครอบคลุม ครบถ้วน จำนวน 12 ครั้ง หลังการพัฒนาเวลาในการส่ง
เวรมีแนวโน้มลดลง 53.6และ 44.6 นาที ตามลำดับ และอุบัติการณ์ความเสี่ยงลดลงเหลือ 7 ครั้ง ทำให้เวรดึกได้ลงเวรเร็วขึ้น เวรเช้าเริ่มงานได้เร็วกว่าเดิม มีเวลาทำ nursing round และ pre-conference ใน case ที่สำคัญ แต่ยังต้องมีการปรับปรุงขั้นตอนการรับส่งเวรและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย(ระยะเวลา<30 นาทีและอุบัติการณ์ความเสี่ยง เป็น 0 ครั้ง)
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
1. ควรมีการขยายผลรูปแบบการรับส่งเวร ด้วยเทคนิคการสื่อสาร SBAR ไปยังหน่วยงานอื่น
2. ควรมีการประเมินความพึงพอใจของบุคลากร ในรูปแบบการรับ-ส่งเวรด้วย SBAR
3. ควรมีการศึกษาวิจัยหรือ R2R เรื่องระบบการรับ-ส่งเวรของหน่วยงาน
4. นำแนวคิด Lean มาใช้ในการลดขั้นตอนและระยะเวลาการรับ-ส่งเวร
5. จัดทำแบบบันทึกการรับ-ส่งเวร ที่เป็นรูปเล่มชัดเจน แจกรายบุคคล เพื่อสะดวกในการจัดเก็บ
รวบรวมข้อมูล
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|