ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : บริการทันตกรรมอย่างไรให้ลดฟันผุในเด็กนักเรียนประถมศึกษา
ผู้แต่ง : กนกวรรณ บรรณสาร ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของ ต.สมเด็จ และ ต.ลำห้วยหลัว อำเภอสมเด็จ ปี พ.ศ. 2559 พบว่าอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กประถมศึกษามีร้อยละฟันแท้ผุ 35.39 โดยมีอัตราการเข้ารับบริการเฉลี่ยในปี 2559 คือร้อยละ 11.3 จากสถานการณ์ฟันแท้ผุที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงและอัตตราการเข้ารับบริการที่ต่ำ แม้ว่าจะมีการตรวจสุขภาพช่องปากและแจ้งผลการตรวจให้ผู้ปกครองทราบเพื่อมาเข้ารับการรักษาแต่ยังคงมีอัตราการเข้ารับบริการที่ต่ำ จึงได้พัฒนารูปแบบการเข้ารับบริการทันตกรรมในนักเรียนระดับประถมศึกษาขึ้น เพื่อให้นักเรียนยังคงมีฟันแท้ใช้งานได้ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษา ได้รับการอุดฟันแท้ผุที่อุดได้ 2. เพื่อลดอัตราโรคฟันผุในเด็กนักเรียนประถมศึกษา  
กลุ่มเป้าหมาย : นักเรียนชั้นประถมศึกษา ได้รับการอุดฟันแท้ผุที่อุดได้  
เครื่องมือ : แบบสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษา  
ขั้นตอนการดำเนินการ : วางแผนคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบปราศจากฟันผุ 1 โรงเรียน - ติดต่อประสานงานกับโรงเรียนทั้ง 10 โรงเรียนในการนำนักเรียนมาอุดฟันที่ รพ. - มีทั้งหมด 5 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำนักเรียนมาอุดฟันที่ รพ. ได้ - ออกตรวจสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนทุกโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ 2 ตำบล - แจ้งรายชื่อผู้ต้องได้รับการอุดฟันกับทางโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ทางโรงเรียนนำเด็กมารับ บริการที่โรงพยาบาลตามวันที่นัดหมาย โดยมีใบขออนุญาตผู้ปกครอง - จัดกิจกรรมทันตสุขศึกษาที่โรงเรียนต้นแบบปราศจากฟันผุ และนัดนักเรียนทุกคนรักษาแบบสมบูรณ์ทั้งช่องปากที่ รพ. - ส่วนโรงเรียนที่ไม่เข้าร่วมโครงการมีการแจ้งเอกสารปัญหาสุขภาพช่องปากเพื่อให้ผู้ปกครองทราบและพามารับบริการที่ โรงพยาบาลด้วยตนเอง  
     
ผลการศึกษา : ตัวชี้วัด ผล นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้รับการอุดฟันแท้ผุที่อุดได้ ร้อยละ50 84.40 อัตราโรคฟันผุเด็กนักเรียนประถมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการลดลง 3% 25.09 โรงเรียนต้นแบบ Cavity free 1 โรงเรียน เนื่องจากปัญหาสุขภาพช่องปากในนักเรียนหนึ่งคนต้องมีการนัดรักษาหลายครั้งจึงจะสมบูรณ์ทั้งช่องปากแม้จะนำนักเรียนมาอุดฟันแล้วแต่ยังไม่สมบูรณ์ทั้งช่องปากจึงพบอัตราโรคฟันผุไม่แตกต่างจากปี2560 อย่างไรก็ตามการทำให้เกิดโรงเรียนต้นแบบปราศจากฟันผุช่วยให้หลายๆโรงเรียนตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพช่องปากมากขึ้นง่ายต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียน  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)