|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ใส่ใจสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์ส่งเสริมป้องกันพบปัญหาแล้วนัดรักษาต่อ |
ผู้แต่ง : |
กนกวรรณ บรรณสาร |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ช่วงตั้งครรภ์ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะส่งผลต่อสุขภาพช่องปากในอนาคตอีก 70-80 ปีข้างหน้าของบุตรในครรภ์ ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ (Antenatal care: ANC) ก่อนอายุครรภ์ 8 สัปดาห์ การดูแลสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์จึงเป็นงานที่สำคัญมากเนื่องจากมีผลต่อเนื่องในการดูแลทันตสุขภาพของบุตรในอนาคต ซึ่งจากการสำรวจสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ พบปัญหาสุขภาพช่องปากที่ต้องได้รับการรักษา 95 คน คิดเป็น 32.64% แต่มีอัตราการเข้ารับบริการของหญิงตั้งครรภ์เพียง 27.43% ประกอบกับรูปแบบการเข้ารับบริการทันตกรรมยังไม่เป็นรูปธรรมและครอบคลุม จึงได้พัฒนารูปแบบการเข้ารับบริการทันตกรรมของหญิงตั้งครรภ์ ของอำเภอสมเด็จขึ้น เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการรักษาทางทันตกรรมและตระหนักถึงปัญหาของสุขภาพช่องปากของบุตรในอนาคต |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
2. เพื่อลดปัญหาสุขภาพช่องปากในหญิงตั้งครรภ์
3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ตระหนังถึงปัญหาสุขภาพช่องปากของตัวเอง
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากเข้ารับการรักษาทางทันตกรรม |
|
เครื่องมือ : |
แบบสำรวจการตรวจสุขภาพช่องปากในหญิงตั้งครรภ์ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ให้ทราบถึงปัญหาและแจ้งแนวทางการปฏิบัติใหม่
- ยกเลิกระบบสติ๊กเกอร์ 3 สี
- ออกแบบเป็นระบบนัด จัดทำบัตรนัดพร้อมระบุเดือนที่นัดการรักษา
- ออกตรวจสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์ บูรณาการร่วมกับกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม
- อธิบายความสำคัญของการรักษาสุขภาพช่องปากจากแม่สู่ลูกแจ้งปัญหาสุขภาพช่องปากที่ตรวจพบ
- นัดรักษาทางทันตกรรมในกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากโดยจะลงเดือนนัดเมื่อมีอายุครรภ์ 4-6 เดือน
- หากหญิงตั้งครรภ์เข้ารับการรักษาทางทันตกรรมแล้วยังมีการรักษาอย่างอื่นอีกเจ้าหน้าที่จะนัดรักษาต่อเนื่อง จนกว่าจะไม่พบปัญหาสุขภาพช่องปาก
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ตัวชี้วัด ผล
หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ10 ทุกปี 35.81
หญิงตั้งครรภ์มารับบริการทางทันตกรรมเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 12.64 เนื่องจากมาตามการนัดรักษา แนวทางในการพัฒนางานต่อเพื่อให้สะดวกในการเข้าถึงบริการคือ ส่งต่อเข้ารับบริการในวันที่ตรวจฟันไม่ต้องรอคิวและจัดทำกลุ่มไลน์ เพื่อแจ้งรายชื่อผู้ต้องเข้ารับการรักษาในเดือนนั้นๆ และยังเป็นช่องทางในการให้ความรู้ได้อีกด้วย
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|