ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบการให้บริการฟันปลอม
ผู้แต่ง : ทันตแพทย์ ธันวา อิทรสุขสันติ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : “ฟันปลอม” เปรียบได้กับเป็นฟันชุดที่ 3 ของปาก รองจากฟันน้ำนมและฟันแท้ ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยทันตแพทย์ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนที่มีฟันไม่ครบทั้งปาก เพราะถ้ามีช่องว่างระหว่างฟันแล้วไม่ใส่ฟันปลอม ก็จะส่งผลทำให้ฟันที่อยู่ข้างเคียงโยก ล้ม หรือเอียง และทำให้ฟันหลุดเพิ่มได้ ทำให้การสบฟันผิดปกติ ซึ่งจะทำให้โครงสร้างของใบหน้าผิดรูปไปจากเดิม การไม่ใส่ฟันปลอมยังทำให้เหงือกอักเสบ เพราะเศษอาหารอาจมากระแทกเหงือกบริเวณที่ฟันหลุดออกไป เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุเพราะมีเศษอาหารติดค้างบริเวณซอกเหงือก ทำให้การเคี้ยวอาหารไม่มีประสิทธิภาพ เพราะคนที่ฟันมีช่องว่างและไม่ใส่ฟันปลอมมักจะเคี้ยวอาหารเพียงข้างเดียว ทำให้บดเคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด เกิดความเมื่อยล้าบริเวณกราม และกระเพาะทำงานหนัก นอกจากนั้นยังทำให้พูดไม่ชัดในกรณีที่ฟันด้านหน้าหลุด ส่งผลต่อการประกอบอาชีพ หน้าที่การงาน และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือทำให้เสียบุคลิก หมดความมั่นใจ ไม่กล้าส่งรอยยิ้มให้ใคร การทำฟันปลอม มีหลายขั้นตอนและจำเป็นต้องนัดผู้ป่วยมาให้บริการหลายครั้ง ซึ่งจะต้องส่งงานไปผลิตที่ห้องปฏิบัติการทำฟันปลอม แล้วรอรับส่งกลับมา ต่อครั้ง ซึ่งอาจใช้เวลานานประมาณ 1-3 เดือน  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อลดระยะเวลารอคอยในการใส่ฟันปลอม 2.เพื่อให้คนไข้เกิดความพึงพอใจในการใส่ฟันปลอม 3.เพื่อจูงใจให้คนไข้มาใส่ฟันที่โรงพยาบาลมากขึ้น กว่าทำฟันปลอมเถื่อน  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยฟันปลอม 51 คน  
เครื่องมือ : - เวลาการรอฟันปลอมของผู้ป่วยลดลง -ความพึงใจในการใส่ฟันปลอม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 10. เดือน ผู้ป่วยฟันปลอม (คน) ผู้ป่วย ที่รอฟันปลอมนานกว่า 6 สัปดาห์ อัตราผู้ป่วย ที่รอฟันปลอมนานกว่า 6 สัปดาห์ หมายเหตุ ตุลาคม 4 0 0% พฤศจิกายน 7 1 14.3% ผู้ป่วย เลื่อนนัด ธันวาคม 10 0 0% มกราคม 5 1 20% วันหยุด ปีใหม่ กุมภาพันธุ์ 10 0 0% มีนาคม 15 1 6.7% ทันตแพทย์ ลา รวม 51 เฉลี่ย 5.9%  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง