|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ศาสตร์ของความเป็นทีม |
ผู้แต่ง : |
ยุทธพงษ์ ภามาศ, วานิช รุ่งราม
|
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
การป้องกันควบคุมโรคเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการสาธารณะที่รัฐพึงจัดให้กับประชาชน ภารกิจของทีม SRRT ในการตอบสนองเหตุการณ์ เน้นการเฝ้าระวัง หยุดหรือกำจัดการแพร่ระบาดของโรคโดยเร็ว ซึ่งต้องใช้ศาสตร์ทุกอย่าง ไม่ยึดติดศาสตร์สมัยเก่า ปัจจุบันเราอาศัยวิทยาศาสตร์แผนใหม่ ทั้งเรื่อง Pathology, Biology, Microbiology, Molecular biology ที่สำคัญ คือ “ศาสตร์ของความเป็นทีม”
ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว หรือ SRRT อำเภอนามน เป็นอีกหนึ่งกลุ่ม ที่มีบทบาทหน้าที่ในการป้องกัน และควบคุมโรคในพื้นที่ 5 ตำบล เนื้อที่ประมาณ 245 ตารางกิโลเมตร ประชากรมากกว่า 35,000 คน แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรค และข้อจำกัดของการทำงานก็ไม่ใช่การเกิดโรคระบาดรุนแรง แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นภายในทีม SRRT เช่น ขาดการประสานงาน การเชื่อมโยงข้อมูล ขาดแคลนบุคลากร และขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา และอำเภอนามนต้องรับการประเมินมาตรฐานการดำเนินงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ในวันที่ 17 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 โจทย์สำคัญที่ทีมของเราต้องกลับมาทบทวนการทำงานของทีมอีกครั้ง
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อรับประเมินมาตรฐานทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว หรือ SRRT อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว หรือ SRRT อำเภอนามน จำนวน 7 คน |
|
เครื่องมือ : |
แบบประเมินมาตรฐานทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. การทบทวน สังเคราะห์ วิเคราะห์ ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานที่ผ่านมา พบจุดอ่อน จุดแข็ง และโอกาสในการพัฒนา
2. กำหนดเป็นนโยบายหลักผู้บริหารในการดำเนินงาน
3. การพัฒนาทีม SRRT
3.1 การวิเคราะห์สถานการณ์โรคร่วมกัน
3.2 การประชุมอย่างน้อย 2 ครั้งต่อเดือน โดยมีหัวหน้าทีมเข้าร่วมการประชุมทุกครั้ง
3.3 การอบรมให้ความรู้ด้านระบาดวิทยาและการสอบสวนโรค โดยหัวหน้าทีม
4. ทีมมีการออกปฏิบัติงานและออกสอบสวนโรคร่วมกัน กรณีมีการระบาดเกิดขึ้น
4.1 แบ่งหน้าที่การปฏิบัติงานอย่างชัดเจน
5. การนำเสนอรายงานการสอบสวนโรค กรณีเกิดการระบาด
6. การติดตามและประเมินผล
6.1 นำเสนอสถานการณ์ด้านระบาดวิทยาก่อนวาระการประชุม คปสอ.
6.2 นำเสนอสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพที่เป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ ในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการ
6.3 แจ้งเตือนสถานการณ์ด้านระบาดวิทยาทาง Social media เช่น Line, Facebook
7. การถอดบทเรียน ปัญหาและอุปสรรคในการออกปฏิบัติงานทุกครั้ง
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ผลจากการทุ่มเท แรงกาย แรงใจ ของทีมตลอดระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา ในวันที่พวกเราได้รับการประเมินมาตรฐาน SRRT จาก สคร. 7 ขอนแก่น ซึ่งทีมเราได้รับความคาดหวังจากผู้บริหารและความกดดันที่เกิดขึ้นภายในทีม ทำให้เกิดความเข้าใจ ร่วมมือ ร่วมใจกันภายในทีม และทุกคนทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ตลอดระยะเวลา 3 ชั่วโมงครึ่งของการประเมิน แววตาของทีมเต็มไปด้วยความหวัง และความพยายามของทีมเราก็เป็นผลสำเร็จ เราทุกคนสามารถพาทีม SRRT อำเภอนามน ผ่านการประเมินในระดับดี อย่างไม่มีเงื่อนไข สร้างความดีใจให้ทีมและผู้บริหาร และสิ่งสำคัญที่เราได้มากกว่าผลการประเมิน คือ คำว่า “ทีม” ที่มีความมั่นใจมากพอที่จะร่วมกันขับเคลื่อนงาน SRRT อำเภอนามนให้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอนาคต |
|
ข้อเสนอแนะ : |
1. ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านการเฝ้าระวังและควบคุมโรค
2. การสื่อสารที่รวดเร็ว เข้าถึง ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการที่ทันท่วงที และไม่เป็นทางการ ตลอด 24 ชั่วโมง
3. การทำงานเป็นทีม
4. มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|