|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่ออัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก งานห้องคลอด โรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
วรนุช บุญสอน |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum hemorrhage) หมายถึงภาวะที่มีการสูญเสีย
เลือดเนื่องจากการคลอดมากกว่า 500 มิลลิลิตร ในการคลอดทางช่องคลอด เป็นภาวะแทรกซ้อนและเป็นสาเหตุนำของภาวะทุพพลภาพที่สำคัญและเสียชีวิตของมารดาทั่วโลก (World Health Organization: WHO, 2012) องค์การอนามัยโลก (World Health Organization[WHO]) รายงานข้อมูลการตายของมารดาทั่งโลกในปี ค.ศ. 2013 อยู่ที่ 210 ต่อการเกิดมีชีพ 100,000 ราย และพบว่า เป็นสาเหตุการตายของมารดาจากภาวะตกเลือดหลังคลอดสูงถึงร้อยละ 30 ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยคือการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก คือ 1-2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด (Early Postpartum hemorrhage) (International Federation of Gynecology[FICO], 2012) สำหรับประเทศไทยสถานการณ์การเสียชีวิตของมารดาในปี ค.ศ.2013-2015 อยู่ที่ 22.2, 23.3 และ24.6 ต่อการเกิดมีชีพ 100,000 ราย ตามลำดับ (สำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, 2559) ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยตั้งเป้าอัตราการเสียชีวิตของมารดาในปี 2561 ไม่เกิน 17 ต่อการเกิดมีชีพ 100,000 ราย (สำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, 2561)
จากอุบัติการณ์การเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดโรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
ปีงบประมาณ 2558-2560 พบอัตราการเกิดร้อยละ 2.18 , 2.94 และ 5.08 ตามลำดับ (งานเวชระเบียนห้องคลอด , 2560 ) ซึงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งได้วิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดปัญหา พบว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดคือ ภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดี (Uterine atony) ร้อยละ 100 และมีหลายสาเหตุ (Combined factor)ในการเกิดทั้งจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี เศษรกค้าง และการฉีกขาดช่องทางคลอด ร้อยละ 87 และจากการฉีดขาดช่องทางคลอด ร้อยละ 20 ซึ่งปัจจัยส่งเสริมให้เกิดอุบัติการณ์ที่สูงขึ้นได้แก่ เป็นหญิงตั้งครรภ์แรกที่มีความสัมพันธ์กับการคลอดล่าช้า กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มดลูกหดรัดตัวไม่ดีก่อนคลอดและการการคลอดยาวนานในระยะที่หนึ่ง และระยะที่สองของการคลอด กลุ่มที่ให้ยาเร่งคลอดแล้วมีภาวะ Precipitate labor หลังรกคลอดมีเลือดออกมากกว่า 300 มิลลิลิตร ทารกตัวโต รวมทั้งปัจจัยเกี่ยวกับเทคนิคในการทำคลอด การทำคลอดรก และการประเมินการฉีกขาดของช่องทาคลอด เป็นต้น
ถึงแม้ในปัจจุบันมีการพัฒนาแนวทางการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดแต่กระบวนการทำยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด เช่น การประเมินภาวะเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่องจะทำเมื่อแรกรับ การดูแลตามแนวทางการ Early management ไม่ได้ทำทุกราย การดูแลไม่ได้แก้ไขที่สาเหตุของการตกเลือดหลังคลอดที่เร่งด่วนก่อนทำให้มีการสูญเสียเลือดเพิ่มมากขึ้นจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี บุคลากรส่วนหนึ่งยังมีการประเมินการสูญเสียเลือดด้วยสายตาทำให้เกิดการประเมินการสูญเสียเลือดน้อยกว่าความเป็น ส่งผลให้เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดที่รุนแรง (Severe postpartum hemorrhage) และภาวะช็อก (Shock) ตามมา
จากความสำคัญและสภาพปัญหาในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะตกเลือด ของงานห้องคลอด โรงพยาบาลสมเด็จที่มีอยู่ในปัจจุบันหน่วยงานห้องคลอดจึงพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด และศึกษาผลของการพัฒนาแนวทางการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก ของงานห้องคลอด โรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด ในกลุ่มผู้คลอดที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติฯ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
หญิงตั้งครรภ์ที่รับไว้ดูแลในห้องคลอดโรงพยาบาลสมเด็จ ที่คลอดทางช่องคลอด เป็นกลุ่มที่แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด |
|
เครื่องมือ : |
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการกำกับการวิจัย
1. เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แนวทางการป้องกันภาวะตกเลือด
หลังคลอดที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การดูแลใน 4 ระยะของการคลอด ได้แก่
1.1 การดูแลในระยะรับใหม่ ประกอบด้วย 1) การประเมินภาวะเสี่ยง
ในทุกระยะของการคลอด 2) การดูแลเมื่อมีภาวะเสี่ยง 3) การประเมินภาวะเสี่ยงต่อการคลอดติดไหล่
1.2 การดูแลในระยะรอคลอด ประกอบด้วย 1) การใช้
Partograph ในการเฝ้าคลอด 2) การให้สารน้ำอย่างเพียงพอ 3) การบรรเทาความปวด 4) ประเมินFull bladder ทุก 2 ชั่วโมง 5) แนวปฏิบัติการดูแลในการให้ยาเร่งคลอด
1.3 การดูแลในระยะคลอด ประกอบด้วย 1) จัดท่าในการเบ่งคลอด
ศีรษะสูง 30-45 สวน2) ปัสสาวะทุกรายเมื่อย้ายเข้าห้องคลอด 3) ประเมินสัญญาณชีพทุก 30 นาที 4) การตัดแผลฝีเย็บเมื่อมีข้อบ่งชี้ 5) ห้ามดันยอดมดลูก 6) การทำคลอดตามเทคนิค การทำ Active management of the third stage of labor 7) คลึงมดลูกหลังรกคลอด 1 นาที 8) แนวปฏิบัติการประเมินการฉีกขาดช่องทางคลอด 9) แนวปฏิบัติการตรวจรก 10) รกไม่คลอดภายใน 20นาที รายงานแพทย์ 11) ประเมินการสูญเสียเลือดโดยถุงตวงเลือด 12) ให้ Oxytocin drip ทุกรายหลังคลอด 13) การ Early management 14 ) แนวปฏิบัติการดูแลตามระดับความรุนแรงของการสูญเสียเลือด
1.4 การดูแลในระยะ 2 ชั่วโมงหลังคลอด ได้แก่ 1) ประเมินการ
หดรัดตัวของมดลูก 2) ประเมินสัญญาณชีพ 3) ประเมินแผลฝีเย็บ 4) ประเมิน Bladder full 5) ประเมินระดับยอดมดลูก
2. เครื่องมือที่ใช้ในการกำกับการวิจัย คือแบบบันทึกการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ
โดยทำการเช็ครายการตามแบบบันทึก ได้แก่ การบันทึกข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์ ภาวะเสี่ยง และกิจกรรมที่ครอบคลุมแนวปฏิบัติทั้ง 4 ระยะ
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
เนื่องจากแนวปฏิบัติทางการพยาบาลครั้งนี้ ผู้ใช้แนวปฏิบัติซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพในห้องคลอดทั้งหมด 8 คนจะต้องมีส่วนร่วมในการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล และเป็นผู้ร่วมวิจัย จึงได้มีการเตรียมความรู้และทักษะของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับแนวปฏิบัติทางการพยาบาล โดยดำเนินการดังนี้
1. ประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด ที่
พัฒนาขึ้นแก่ผู้ร่วมวิจัยทุกคน โดยได้ทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวกับการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดและแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดและได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น
2. ผู้วิจัยทำการฝึกทักษะการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือด
หลังคลอด รวมถึงการใช้เครื่องมือในการประเมิน และการบันทึกข้อมูล
9. วิธีการรวบรวมข้อมูล
1. กลุ่มเปรียบเทียบศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้คลอดที่เข้ารับการรักษาที่ห้องคลอด
ระหว่างเดือนตุลาคม2559 ถึง กันยายน 2560 โดยเก็บข้อมูลตามแบบบันทึกข้อมูล และบันทึกข้อมูลการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด
2. กลุ่มทดลอง เป็นกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล โดยคัดเลือกจากผู้คลอดทุกรายที่เข้า
รับบริการระหว่างเดือน เมษายน 2561 ถึง มีนาคม 2562 ที่คลอดทางช่องคลอด โดยให้การดูแลผู้คลอดตามแนวปฏิบัติทางการพยาบาลฯ บันทึกข้อมูลการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด ได้ผลดังนี้
การปฏิบัติตามแนวทางป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด การดูแลในระยะรับใหม่ และการดูแลในระยะรอคลอดสามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ร้อยละ 100 การดูแลในระยะคลอด กิจกรรมที่สามารถปฏิบัติได้ตามแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ร้อยละ 100 การทำคลอดตามเทคนิค แนวปฏิบัติการตรวจรก การทำ Active management of the third stage of labor การไม่ดันยอดมดลูกขณะเบ่งคลอด การคลึงมดลูกและการประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ส่วน แนวปฏิบัติการประเมินการสูญเสียเลือด การ Early management การดูแลตามระดับความรุนแรงของการสูญเสียเลือด การตัดแผลฝีเย็บเมื่อมีข้อบ่งชี้ การประเมินการฉีกขาดช่องทางคลอดสามารถปฏิบัติได้ร้อยละ 80 และ การดูแลในระยะ2 ชั่วโมงหลังคลอด สามารถปฏิบัติได้ ร้อยละ 100
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
1. ด้านการปฏิบัติการพยาบาล
จากผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างขึ้นสามารถป้องกันภาวะตก
เลือดหลังคลอดได้ ดังนั้นจึงควรนำแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น ไปปรับใช้กับหน่วยงานอื่น และปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงานนั้นๆ
2. ควรมีการติดตามประเมินผลระยะยาวถึงผลการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันภาวะ
ตกเลือดหลังคลอดของพยาบาลวิชาชีพ และมีการกำกับการปฏิบัติตามแนวทางอย่างต่อเนื่อง
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|