|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาคุณภาพการถ่ายภาพรังสีท่า L-S spine lateral |
ผู้แต่ง : |
ทัศวรรณ สกุลเดช |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากการที่หน่วยงานเอกซเรย์ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานจากเดิมหน่วยงานทำการถ่ายภาพเอกซเรย์โดยการใช้ฟิล์มเป็นตัวรับรังสี แต่มาปัจจุบันหน่วยงานเปลี่ยนเป็นใช้ระบบ ดิจิตอล CR เป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์อย่างหนึ่งที่มีการพัฒนาระบบการจัดเก็บและส่งภาพทางคอมพิวเตอร์จากการใช้งานของระบบนี้ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการตั้งปรับค่าเทคนิคในเครื่องเอกซเรย์สูงขึ้นจากเดิมอย่างมากก็จะเกิดปัญหาของภาพที่ไม่ชัดบางรายการไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ เช่นการเอกซเรย์กระดูกท่า L-S spine lateral ซึ่งจากค่าเทคนิคเดิมใช้ที่ 85 KV 200 Ma 0.20 mAs แต่ ณ ปัจจุบันใช้เทคนิคที่ 92 KV 200 Ma 0.35 mAs จึงทำให้บางรายต้องได้ทำการถ่ายภาพซ้ำอีกรอบเพราะบางภาพก็จะมีลักษณะขาวมัว ภาพไม่คมชัดรายละเอียดน้อยและผู้ป่วยได้รับรังสีเกินความจำเป็น จากอุบัติการณ์ที่ผ่านมาหน่วยงานได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุ |
|
วัตถุประสงค์ : |
1.เพื่อป้องกันการเอกซเรย์ซ้ำ
2.ลดปัญหาการได้รับรังสีเพิ่ม
3.เพื่อให้ฟิล์มเอกซเรย์มีคุณภาพ ฟิล์ม มีความชัดเจน
4.ลดระยะเวลาการถ่ายภาพเอกซเรย์
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
1.ได้ภาพถ่ายรังสีมีคุณภาพสามารถแปลผลและวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง
2.ลดความเสี่ยงกับผู้ป่วยไม่ให้ได้รับรังสีเกินความจำเป็น
3.ลดระยะเวลาในการทำงานลง
|
|
เครื่องมือ : |
แบบเก็บรายงานที่สร้างขึ้นเอง |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
พัฒนากระบวนการดำเนินงานโดยใช้วงล้อการพัฒนาแบบ P-D-C-A โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. เก็บข้อมูลการถ่ายภาพรังสีย้อนหลัง 6 เดือน เพื่อวิเคราะห์สาเหตุข้อมูล
2. นำภาพถ่ายรังสีที่ได้มาแยกสาเหตุที่ไม่ได้คุณภาพ
3. วิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข
4. กำหนดเกณฑ์คุณภาพของภาพทางรังสี ดังนี้
1. ต้องมีรายละเอียด ของผู้ป่วยชื่อที่ถูกต้อง ชัดเจน
2. ภาพทางรังสีจะต้องไม่พร่ามัว เนื่องจากการเคลื่อนไหวรายละเอียดบนฟิล์มชัดเจน
3. ภาพรังสีจะต้องไม่ขาวจนเกินไป
4. ภาพรังสีจะต้องไม่ดำจนเกินไป
5. ภาพรังสีจะต้องแสดงลักษณะทางกายภาพ กายวิภาคของอวัยวะที่ถูกต้องตามมาตรฐาน
6. ภาพรังสีจะต้องไม่มีสิ่งแปลกปลอมที่บริเวณอวัยวะที่ต้องการตรวจ
7. ภาพรังสีจะต้องมี contrast แยกเนื้อเยื่อและกระดูกชัดเจน
5. เก็บข้อมูลคุณภาพภาพรังสีจากผู้ป่วย10 ราย พบว่าภาพถ่ายมีคุณภาพตามที่กำหนดไว้ทุกราย
6. ปรับเปลี่ยนระบบการทำงานและสื่อสารทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
7. นำแนวทางที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการดำเนินงานจริงและเก็บข้อมูลเพื่อประเมินผล
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
จากการวิเคราะห์และเก็บข้อมูลจากการถ่ายภาพรังสีท่า L-S spine จากเดือน กรกฎาคม 61 ถึง เดือนมกราคม 62 มีผู้ป่วยที่ต้องถ่ายภาพรังสีท่า L-S spine จำนวนทั้งหมด 66 ราย พบว่า ภาพถ่ายทางรังสีที่มีคุณภาพ ตอบสนองการวินิจฉัยของแพทย์จำนวน 48 ภาพ คิดเป็นร้อยละ 72.72 และภาพถ่ายทางรังสีที่ไม่ได้คุณภาพมีจำนวน 18 ภาพ คิดเป็นร้อยละ 27.27 โดยแยกเป็น ปริมาณรังสีมากเกินไปมีจำนวน 5 ภาพคิดเป็นร้อยละ 7.57 ปริมาณรังสีน้อยเกินไปมีจำนวน 9 ภาพ คิดเป็นร้อยละ13.63 จัดท่าไม่ถูกต้องมีจำนวน 2 ภาพคิดเป็นร้อยละ3.03 มีสิ่งแปลอมในภาพมีจำนวน 1 ภาพคิดเป็นร้อยละ1.51 มีการเคลื่อนไหวขณะถ่ายภาพมีจำนวน 1 ภาพ คิดเป็นร้อยละ1.51 เครื่องเอกซเรย์ขัดข้อง 0 ครั้ง ไม่มีผู้ป่วยต้องถ่ายภาพรังสีซ้ำ และระยะเวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสีลดลงจาก 20 นาที /ราย เป็น 10 นาที/ราย ความพึงพอใจของแพทย์ และผู้ป่วยอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 89.00และ 92 ตามลำดับ
ทั้งนี้ จากการศึกษายังพบว่า การนำกริดเข้ามาช่วยทำให้ การปรับตั้งค่าเทคนิคลดลงมาในค่าที่พอรับได้ทำให้ผู้ป่วยได้รับรังสีน้อยลง และระดับการตั้งค่า KV ก็สัมพันธ์กับความหนาของผู้ป่วยด้วยทำให้ได้ภาพที่เหมาะกับการวินิจฉัย ในส่วนของเครื่องเอกซเรย์ซึ่งมีอายุการใช้งานที่นานประสิทธิภาพจึงลดลงตามอายุการใช้งาน ก็ได้มีการดูแลเช็คความพร้อมใช้งานทุกวันเพื่อลดปัญหาดังกล่าว และได้จัดทำแผนการจัดซื้อเพื่อทดแทนตามระบบของหน่วยงาน
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
จากการถ่ายภาพทางรังสีท่า L-S spine โดยการใช้กริดวางซ้อนทับกับแผ่นรับภาพแล้ววางไว้ใต้ลำตัวผู้ป่วย ทำให้ได้ภาพรังสีที่มีความคมชัดมากขึ้น รายละเอียดภาพดีขึ้น ลดการถ่ายภาพซ้ำ ลดระยะเวลาการทำงาน นำมาซึ่งความพึงพอใจของทั้งแพทย์ และผู้ป่วย แต่ก็ยังต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติมอีกเพราะยังมีปัญหาในเรื่องของสัญญาณรบกวนภาพอยู่หรือที่เรียกว่า Noise: ซึ่งจะมีขึ้นมาในบางภาพจึงต้องคิดหาแนวทางมาทำการควบคุมและพัฒนาต่อไป |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
รางวัลผลงานวิชาการระดับดีเยี่ยม ระดับ ระดับจังหวัด |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|