|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : เก็บข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาศักยภาพ อสม. การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม หมอครอบครัว |
ผู้แต่ง : |
นางสาวจรัสศรี ศรีเวียง |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
กระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้กลวิธีสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทยดำเนินการมากว่า 20 ปี มีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นกลไกสำคัญในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง อสม. ถือเป็นผู้ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศ โดย อสม. 1 คน ดูแลรับผิดชอบประชาชน 8-15 หลังคาเรือน ทำหน้าที่ แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุข บำบัดทุกข์ให้ประชาชน ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งในปัจจุบัน อสม.ต้องมีบทบาทมากขึ้นทั้งในด้านการถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพให้กับคนในชุมชน การให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน การเป็นผู้เชื่อมประสานระหว่างเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ กับประชาชน และกลุ่ม/องค์กรต่าง ๆ ในชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการดูแลจัดการด้านสุขภาพ เชื่อมโยงไปถึงการพัฒนาด้านอื่น ๆ การรวมพลังกับแกนนำสุขภาพอื่น ๆ ในการสร้างสุขภาพ การเฝ้าระวังโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของ รวมถึงเป็นผู้นำในการรณรงค์ด้านสุขภาพต่าง ๆ ในชุมชน จากสภาพปัญหาและวิถีของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ อสม.จำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการจัดการด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมูม่น จึงเล็งเห็นความสำคัญของ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการจัดการด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นและเร่งด่วนของ อสม. ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสม กับสภาพปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่
2. เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชน
3. เพื่อ ฟื้นฟูความรู้ในการดูแลเยี่ยมบ้าน การดูแลแบบองค์รวม (หมอครอบครัว)
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
อสม.ตำบลหมูม่น 113 คน |
|
เครื่องมือ : |
1.แบบประเมินความรู้ อสม.
2.การสนทนากลุ่ม AAR
3.PAOR
4.การถอดบทเรียน สร้างการเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลเชิงลึก
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. รวบรวมและวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน เพื่อคืนข้อมูลการ ดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชนและการดำเนินงานของ อสม. ปัญหา/อุปสรรค ถอดบทเรียน ในปีที่ผ่านมา เพื่อวางแผนและกำหนดทิศทางแก้ไข้ปัญหา
2. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม.ตำบลหมูม่น และเครือข่ายในชุมชน
3. แต่งตั้งคณะทำงาน / ประชุมคณะทำงาน เพื่อกำหนดวิธีดำเนินการและเนื้อหาการอบรม
4.ประสานเครือข่ายในชุมชนที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ผ่านเวทีการประชุมประจำเดือน อสม.
5. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆในการจัดกิจกรรมให้พร้อมดำเนินงาน
6. ดำเนินการอบรมฟื้นฟูศักยภาพ อสม.
7.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสนทนากลุ่ม /PAOR/การถอดบทเรียน สร้างการเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลเชิงลึก โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของชุมชน ภาคีเครือข่าย ในการค้นหาปัญหา และแก้ไข้ปัญหาร่วมกัน
8.กระบวนการถอดบทเรียน AAR |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|