ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังให้สามารถจัดการ กับอาการหายใจลำบากด้วยตนเอง
ผู้แต่ง : ณัฏฐภณิชา ดวงแสง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease: COPDจากการศึกษาข้อมูลพบว่าทั่วโลกมีการเสีย ชีวิตจากโรคนี้ถึง 3 ล้านคนในขณะที่ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำนวน 1.5 ล้านคนต่อปีซึ่งมีค่าใช้จ่ายจากการรักษาถึง 12,735 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2555) ดังรายงานการศึกษาของ ภัคพร กอบพึ่งตน, ชนกพร อุตตะมะ, นาฏยา เอื้องไพโรจน์และปริชาติ ขันทรักรักษ์(2554) สำหรับผู้สูงอายุพบว่าสถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน สำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งหมด 44 จังหวัดสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่ามีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำนวน 132,205 ราย โดยพบมากในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป และข้อมูลสถิติจากเวชระเบียนของโรงพยาบาลกมลาไสย ตำบลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ (2556)มีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มารับบริการจำนวน 394 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุจำนวน 206 ราย คิดเป็นร้อยละ 52.2 นอกจากนี้มีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับบริการด้วยอาการหายใจลำบากที่งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (ER-visit) ในปี พ.ศ. 2555 คิดเป็นร้อยละ 42.21(จำนวน 122 ราย) และกลับมานอนรักษาซ้ำ (Re-admit) คิดเป็นร้อยละ 34.62 (จำนวน 107 ราย) (งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลกมลาไสย, 2556) ในผู้สูงอายุบางรายที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีระดับความรุนแรงของโรคและอาการหายใจลำบากที่บ่อยครั้งจะส่งผลทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ เพิ่มขึ้น  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสบการณ์อาการ และความรุนแรงของอาการหายใจลำบาก กลวิธีการจัดการกับอาการหายใจลำบาก และผลลัพธ์ของการจัดการกับอาการหายใจลำบากด้วยตนเองของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลกมลาไสยจังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่เคยมีประสบการณ์ต่ออาการหายใจลำบาก และความรุนแรง ผลลัพธ์ของการจัดการกับอาการหายใจลำบากด้วยตนเอง ที่มารับบริการในคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ในระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม พ.ศ. 2556จำนวน40 ราย  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสัมภาษณ์ประกอบด้วยรายละเอียด ต่อไปนี้ 1. แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป อันประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ผู้ให้การดูแลผู้ป่วย จำนวน 14 ข้อ 2. แบบสัมภาษณ์ข้อมูลสุขภาพและการเจ็บป่วย ได้แก่ ระยะเวลาการเจ็บป่วยด้วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ประวัติการสูบบุหรี่ การให้ความร่วมมือต่อการรักษา และความถี่ของการเกิดอาการหายใจลำบาก จำนวน 13 ข้อ 3. แบบสัมภาษณ์ประสบการณ์อาการ และความรุนแรงของอาการหายใจลำบาก ของ จุก สุวรรณโณ (2549)  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ การจัดการกับอาการหายใจลำบากของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่เคยมีประสบการณ์อาการหายใจลำบาก ซึ่งมารับบริการ ณ คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยมีคุณสมบัติที่กำหนดไว้และใช้เกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ 30 เลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) จำนวน 40 ราย  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง