ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : Kalasin happiness Model กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจน อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : สายรุ้ง วงศ์ศิริ,ชุมพล แสบงบาล, วารุณี สิมมะลา, วันทนีย์ สีสิงห์,จรัญ จุนัน ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : ตามนโยบายของรัฐในการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ขจัดความยากจนให้หมดไปภายใน 2 ปี จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดนำร่องในการดำเนินงาน เนื่องจากมีสัดส่วนคนจนมากถึง ร้อยละ 31.99 มากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว อยู่ที่ 51,147 บาท/คน/ปี และติด1 ใน 6 ของจังหวัดที่มีปัญหาความยากจนเรื้อรัง (รายงานการประมวลผลผลิตภัณฑ์ภาค และจังหวัดของสำนักคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, พ.ศ.2560) และ อำเภอห้วยผึ้ง มีครัวเรือนยากจน 94 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 1.10 ของครัวเรือนทั้งหมด โดยการดำเนินงานได้ยึดหลักแนวคิดและยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสุขภาพชีวิต และระบบสุขภาพชุมชนแบบคุณภาพ และยั่งยืน บูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานราชการ เอกชน และภาคีเครือข่ายหมู่บ้าน ตำบล อำเภอแบบไร้รอยต่อ เพื่อสร้างเสริมให้ครัวเรือนได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิต และมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคง และมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจนที่เข้ารวมโครงการคนกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  
กลุ่มเป้าหมาย : ครัวเรือนยากจนที่เข้ารวมโครงการคนกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 94 ครัวเรือน  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 4 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของครัวเรือน ตอนที่ 2 ข้อมูลความต้องการและการช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการและภาคีเครือข่าย ตอนที่ 3 การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางบันได 9 ขั้นสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนแบบยั่งยืน ตอนที่ 4 การประเมินระดับความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตครัวเรือน โดยใช้เกณฑ์ดังนี้ ด้านอาชีพ ครัวเรือนมีอาชีพมั่นคงและมีอาชีพประจำ ครัวเรือนมีการประกอบอาชีพเสริมและมีรายได้ ครัวเรือนมีรายได้เหลือสามารถเก็บออม ด้านคุณภาพชีวิต สมาชิกในครัวเรือนเข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้ทุกคน ครอบครัวมีความอบอุ่น ครัวเรือนมีส่วนร่วมกิจกรรมในชุมชน ไม่มีสมาชิกครัวเรือนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ครัวเรือนสามารถจัดการบริหารหนี้สินได้ ครัวเรือนพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ปัจจุบัน สามารถเป็นแบบอย่างในการพัฒนาตนเองให้ครัวเรือนอื่นได้ เกณฑ์การให้คะแนน ใช่ = 1 คะแนน ไม่ใช่ = 0 คะแนน ระดับ A คะแนน 8-10 =ครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถพัฒนาตนเอง และเป็นแบบอย่างที่ดีได้ ระดับ B คะแนน 5-7 = ครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถพัฒนาตนเองได้ ระดับ C คะแนน 0-4 = ครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ยังต้องได้รับการสนับสนุน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 1 สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ กลไกการขับเคลื่อน กระบวนการแก้จน 1.1 ประชาสัมพันธ์ความเข้าใจแก่ประชาชน/ส่วนราชการ/คณะทำงาน/เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและบูรณาการทำงานของหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาสังคม 1.2 แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนทุกระดับ ประกอบด้วย (1) คณะกรรมการอำนวยการโครงการ มีผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นประธาน (2) คณะทำงานด้านยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนขั้นพื้นฐาน (ศูนย์ปฏิบัติการ) มรปลัดจังหวัดกาฬสินธุ์และพัฒนาการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานกรรมการ (3) แต่งตั้งคณะทำงานด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (4) คณะทำงานระดับอำเภอ โดยจัดตั้งศูนย์อำนวยการ โดยมีนายอำเภอเป็นประธาน ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง พัฒนาการอำเภอเป็นเลขานุการร่วม - ชุดปฏิบัติการประจำตำบลแก้ไขปัญหาความยากจน โดยมีปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบลเป็นหัวหน้าชุด และนักพัฒนาชุมชนผู้รับผิดชอบประจำตำบลเป็นเลขานุการ - คณะกรรมการหมู่บ้านแก้ไขปัญหาความยากจน โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานคณะกรรมการ - คณะกรรมการคุ้มแก้ไขปัญหาความยากจน โดยมีประธานคุ้มเป็นประธานกรรมการ 1.3 จัดทำระบบโปรแกรมสารสนเทศแก้จน(KHM)เพื่อบันทึกข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย ขั้นตอนที่ 2 ค้นหาคนจนและทราบความต้องการ 2.1 จัดให้มีเวทีประชาคุ้ม เพื่อให้คณะกรรมการคุ้มคัดเลือกและเสนอครัวเรือนยากจน โดยใช้ข้อมูลครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำว่าเกณฑ์ จปฐ. และข้อมูลผู้ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย 2.2 ชุดปฏิบัติการประจำตำบล (ชปต.) ลงพื้นที่สำรวจความเป็นอยู่ ตรวจสอบ และกลั่นกรองครัวเรือนยากจน ว่าเป็นครัวเรือนที่มีแนวคิด ทักษะความสามารถ มีต้นทุนในการดำเนินชีวิต และจะให้ความช่วยเหลืออย่างไร แล้วจัดทำ family Folder 2.3 อำเภอให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นตามปัญหา /ความต้องการ กรณีเกินศักยภาพอำเภอส่งข้อมูลให้ศูนย์ปฏิบัติการจังหวัด 2.4 อำเภอบันทึกข้อมูลครัวเรือน และการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นในโปรแกรม(KHM) 2.5 ชุดปฏิบัติการประจำตำบล ลงพื้นที่คัดแยกสถานะครัวเรือนออกเป็น 3 สถานะ ได้แก่ พัฒนาต่อได้ ต้องสงเคราะห์ ต้องทบทวน และบันทึกลงในโปรแกรม ขั้นตอนที่ 3 ส่งเสริม สนับสนุนและช่วยเหลือครัวเรือนยากจนใน 6 ด้าน 3.1 ครัวเรือนประเภทต้องทบทวน ชุดปฏิบัติการยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนระดับตำบลตรวจเยี่ยมครัวเรือนเพื่อทราบข้อมูล ชักชวนเข้าร่วมโครงการ ปรับทัศนคติ * กรณีครัวเรือนเข้าร่วมอบรมโครงการ”ปรับทัศนคติ” - อำเภอจัดกิจกรรม“ปรับทัศนคติ”โดยให้ศูนย์อำนวยการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนอำเภอดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ทำความเข้าใจแนวทาง และวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการฯ แก่ครัวเรือนเป้าหมาย (2) ทบทวนแนวทางการดำเนินชีวิตที่ผ่านมาของครัวเรือนเป้าหมาย (3) ปรับทัศนคติพร้อมวางแผนชีวิตครัวเรือน (4) จัดทำแบบขอปรับเปลี่ยนสถานะครัวเรือนเป้าหมายกลุ่มทบทวนที่เข้ากิจกรรมปรับทัศนคติ * กรณีครัวเรือนไม่เข้าร่วมกิจกรรม”ปรับทัศนคติ” - ชุดประปฏิบัติการตำบลตรวจเยี่ยมครัวเรือน - จัดทำแบบแสดง ความประสงค์ไม่ขอรับการช่วยเหลือ หลุดจากโครงการ - หากไม่เข้าร่วมเนื่องด้วยเหตุสุดวิสัย จัดทำแบบขอปรับเปลี่ยนสถานะครัวเรือน - รายงานข้อมูลศูนย์ปฏิบัติการยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนขั้นพื้นฐานจังหวัดฯ - บันทึกข้อมูลสถานะในระบบโปรแกรม KHM 3.2 ครัวเรือนประเภทต้องสงเคราะห์ (1) ชุดปฏิบัติการยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนขั้นพื้นฐานระดับตำบลตรวจเยี่ยมครัวเรือน - คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ภายหลังเข้าร่วมโครงการ - ความต้องการความช่วยเหลือด้านการประกอบอาชีพอย่างง่าย/และการสงเคราะห์ (2) อำเภอพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามความต้องการ และส่งความช่วยเหลือกรณีเกิน ศักยภาพให้แก่ศูนย์ปฏิบัติการยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนขั้นพื้นฐานจังหวัดกาฬสินธุ์ (3) ศูนย์ปฏิบัติการยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนขั้นพื้นฐานจังหวัดกาฬสินธุ์ พิจาณาให้ความช่วยเหลือกรณีเกินศักยภาพ (4) บันทึกข้อมูลความช่วยเหลือในระบบโปรแกรม KHM 3.3 ครัวเรือนประเภทพัฒนาต่อได้ (1) ชุดปฏิบัติการยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนขั้นพื้นฐานระดับตำบลตรวจเยี่ยมครัวเรือน (ครั้งที่1) - คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ภายหลังเข้าร่วมโครงการ - ความต้องการในการพัฒนาต่อยอดอาชีพ (2) อำเภอพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามความต้องการในการพัฒนาต่อยอดอาชีพ (3) ศูนย์ปฏิบัติการยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนขั้นพื้นฐานจังหวัดกาฬสินธุ์ พิจาณาให้ความ ช่วยเหลือกรณีเกินศักยภาพ (4) ชุดปฏิบัติการยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนขั้นพื้นฐานระดับตำบลตรวจเยี่ยมครัวเรือน ( ครั้งที่ 2 ต้องห่างจากครั้งที่ 1 อย่างน้อย 1 เดือน ) ประเมินแยกระดับ”ครัวเรือนพัฒนาต่อได้” ขั้นตอนที่ 4 สร้างความยั่งยืนด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(รู้อยู่ รู้กิน รู้ใช้) 4.1 กลุ่มเป้าหมายดำเนินการ - ครัวเรือนประเภทต้องสงเคราะห์ - ครัวเรือนที่สามารถพัฒนาต่อได้ ระดับ A 4.2 โดยแยกการดำเนินการของครัวเรือนตามสถานะดังนี้ 4.2.1. ครัวเรือนประเภทต้องสงเคราะห์ (1) ชุดปฏิบัติการยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนขั้นพื้นฐานระดับตำบลตรวจเยี่ยมครัวเรือน (ครั้งที่1) - คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ภายหลังเข้าร่วมโครงการ - ชวนทำกิจกรรม รู้อยู่ รู้กิน รู้ใช้ และสำรวจความต้องการความช่วยเหลือในการทำ กิจกรรมที่เหมาะสมกับครัวเรือนสงเคราะห์ (2) อำเภอพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามความต้องการ (กิจกรรม รู้อยู่ รู้กิน รู้ใช้) (3) ชุดปฏิบัติการยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนขั้นพื้นฐานระดับตำบลตรวจเยี่ยมครัวเรือน (ครั้งที่ 2 ต้องห่างจากครั้งที่ 1 อย่างน้อย 1 เดือน) ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน รู้อยู่ รู้กิน รู้ใช้ และประเมินคัดกรองสถานะครัวเรือนกลุ่มต้องสงเคราะห์แล้วรายงานข้อมูลให้ศูนย์ฯ เพื่อส่งต่อส่วนราชการส่วนราชการ/หน่วยงาน ที่มีบทบาทหน้าที่หลัก ในการดูแลให้ความช่วยเหลือต่อไป (5) ส่วนราชการที่ให้การสงเคราะห์ครัวเรือน รายงานผลการสงเคราะห์ให้ อำเภอ/ จังหวัด ทราบทุกเดือน (6) บันทึกข้อมูลการให้ความช่วยเหลือ (ครัวเรือนประเภทสงเคราะห์) ลงในโปรแกรม KHM 4.2.2. ครัวเรือนประเภทพัฒนาต่อได้ (1) ชุดปฏิบัติการยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนขั้นพื้นฐานระดับตำบลตรวจเยี่ยมครัวเรือน (ครั้งที่1) ชักชวนการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิต (2) อำเภอพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามความต้องการ (กิจกรรม รู้อยู่ รู้กิน รู้ใช้) (3) ศูนย์ปฏิบัติการยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนขั้นพื้นฐานจังหวัดกาฬสินธุ์ พิจาณาให้ความ ช่วยเหลือกรณีเกินศักยภาพ (กิจกรรม รู้อยู่ รู้กิน รู้ใช้) (4) ชุดปฏิบัติการยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนขั้นพื้นฐานระดับตำบลตรวจเยี่ยมครัวเรือน (ครั้งที่ 2 ต้องห่างจากครั้งที่ 1 อย่างน้อย 1 เดือน) ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน รู้อยู่ รู้กิน รู้ใช้ พร้อมประเมินศักยภาพครัวเรือน โดยดำเนินการดังนี้ - แบบประเมินยกระดับ ครัวเรือน สุขใจ (KHM:D 06) - จัดเวทีประชาคม เพื่อขอมติชุมชน/โดยใช้ฐานข้อมูลด้านรายได้จากข้อมูล จปฐ. ประกอบการพิจารณา (แบบ KHM:D 07 ) ( ) ยังต้องให้ความช่วยเหลือต่อไป ( ) มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และหากครัวเรือนพัฒนาต่อได้ ระดับ A มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ เวทีประชาคมมีมติเห็นชอบว่าช่วยเหลือตัวเองได้ประกอบกับสามารถผ่านเกณฑ์ด้านรายได้ จปฐ. ปีปัจจุบัน ก็แสดงว่าครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถยกระดับเป็น ครัวเรือน สุขใจ (5) บันทึกข้อมูลการดำเนินการสร้างความยั่งยืน (ครัวเรือนประเภทพัฒนาต่อได้)ในโปรแกรม KHM  
     
ผลการศึกษา : 7. ผลการศึกษา 1. ข้อมูลทั่วไป จากการศึกษาพบว่า ครัวเรือนยากจน จำนวน 94 ครัวเรือน มีสมาชิกทั้งหมด 280 ราย เป็นเพศชาย 127 คน ร้อยละ 45.35 เพศหญิง 153 คน ร้อยละ 54.64 นักเรียน 69 คน ร้อยละ 24.64 อายุเฉลี่ย 45 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 84.32 รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนก่อนเข้าร่วมโครงการ 2798.80 บาท/ปี ส่วนใหญ่มีบ้านเป็นของตนเอง ร้อยละ 78.72 พักอาศัยกับญาติ ร้อยละ 23.40 มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ร้อยละ76.59 ของญาติร้อยละ 23.40 ไม่มีที่ทำกิน 1 ราย ร้อยละ 1.06 และต้องการแหล่งน้ำเพื่อประกอบอาชีพ 2 ราย ร้อยละ 2.13 2. ผลการค้นหาปัญหาและความต้องการของครัวเรือน 2.1 ด้านที่อยู่อาศัย จำนวน 30 ครัวเรือน ได้รับการช่วยเหลือ จำนวน 30 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ100 แบ่งเป็นซ่อมแซมที่อยู่อาศัย จำนวน 29 ครัวเรือน สร้างใหม่ 1 ครัวเรือน 2.2 ด้านอาชีพ ต้องการความช่วยเหลือ 86 ราย ได้รับการช่วยเหลือ 86 ราย คิดเป็นร้อยละ100 จำแนกอาชีพได้ดังนี้ 2.2.1 ด้านการเกษตร 38 ราย 2.2.2 ด้านปศุสัตว์ จำนวน 37 ราย 2.2.3 ด้านค้าขาย จำนวน 1 ราย 2.2.4 ส่งเสริมวิชาชีพ จำนวน 4 ราย 2.2.5 ด้านประมง จำนวน 6 ราย 2.3 ด้านสุขภาพ จำนวน 88 ราย ได้รับการช่วยเหลือทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ100 จำแนก ประเภทได้ดังนี้ 1.3.1 โรคประจำตัว/เจ็บป่วยเรื้อรัง จำนวน 35 ราย 1.3.2 สุขภาพด้านอื่น (จิตเวช กล้ามเนื้อ กระดูก) 43 ราย 1.3.3 พิการ 10 ราย 2.4 ด้านสวัสดิการรัฐ จำนวน 7 ราย ได้รับการช่วยเหลือ 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 85.71 ยังไม่ได้รับ การช่วยเหลือ 1 ราย คิดเป็นร้อยละ14.28 2.5 ด้านอำนวยความเป็นธรรม 0 ราย 2.6 ด้านหนี้สิน จำนวน 24 ราย ช่วยเหลือ 24 ราย คิดเป็นร้อยละ100 3. ผลการสร้างความยั่งยืนด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(รู้อยู่ รู้กิน รู้ใช้) พบว่ามีครัวเรือนที่สนใจน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการยกระดับคุณภาพชีวิต และสามารถพัฒนาต่อยอดอาชีพและสร้างรายได้แก่ครัวเรือน จำนวน 63 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 67.02 โดยครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น จำนวน 61 ครัวเรือน ร้อยละ 91.04 มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3477.13 บาท/ครัวเรือน 4. ผลการประเมินระดับความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตระดับ A จำนวน 37 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 39.36 ระดับ B จำนวน 25 ครัวเรือน ร้อยละ 26.59 และ ระดับ C จำนวน 5ครัวเรือน ร้อยละ 5.32 ระดับความพึงพอใจและความคาดหวังในการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจน พบว่า ด้านรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นระดับมาก ร้อยละ 43.61 ด้านความขยันหมั่นเพียร ระดับมากที่สุด ร้อยละ 42.55 ด้านการให้ความร่วมมือกับโครงการ ระดับมากที่สุด ร้อยละ 41.48 ด้านการไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข ระดับมากที่สุด ร้อยละ 34.04 ด้านการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของหมู่บ้าน ระดับมากที่สุด ร้อยละ32.98 ด้านครัวเรือนมีความพร้อมที่จะพัฒนาต่อระดับมากที่สุด ร้อยละ 44.68  
ข้อเสนอแนะ : การผลการศึกษาทำให้ทราบว่าการดำเนินงานตามแนวทาง Kalasin happiness Model มีความเหมาะสมกับศักยภาพและบริบทเชิงเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี โดยการน้อมนำเอาหลักปรัชญาการดำเนินชีวิตตามหลักความพอเพียง ผ่านการบูรณาการและความร่วมมือทุกภาคส่วนในสังคมทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงชุมชนที่ครัวเรือนอาศัยอยู่ สามารถส่งเสริมให้ครัวเรือนยากจนที่มีปัญหา และข้อจำกัดที่ซับซ้อนกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีบนฐานของความยั่งยืนได้ และรูปแบบ หรือแนวทางการดำเนินงานนี้สามารถนำไปขยายฐานการพัฒนาในพื้นที่อื่นๆ หรือประเด็นปัญหาอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังพบข้อจำกัดในการพัฒนาครัวเรือนที่ต้องทบทวน อันเนื่องมาจากมีปัจจัยภายในที่ไม่สนับสนุนการพัฒนา เช่น ครัวเรือนที่เกี่ยวพันกับอบายมุข หรือยาเสพติดเป็นต้น  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง