ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตำบลดงลิง
ผู้แต่ง : เกตุนภา ภูนิลวาลย์ อ๊อด ศักดิ์ศิริ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : การเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วย คือภาวะที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ การทำงานของอวัยวะในร่างกายลดลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยต้องเผชิญกับความตายที่จะเกิดขึ้น ในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน1 เกิดความวิตกกังวล ซึมเศร้า รู้สึกหมดคุณค่าในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น บางรายคิดฆ่าตัวตาย ด้านสังคมผู้ป่วยระยะสุดท้ายรู้สึกหวั่นไหว ท้อแท้กลัวการถูกทอดทิ้งกลัวเป็นภาระต่อคนอื่น ด้านร่างกายต้องเผชิญกับความเจ็บปวด ความไม่สุขสบาย2 ในการดูแลที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมต่อประสานงาน การส่งข้อมูลและตอบกลับ รวมทั้งแผนการดูแลทั้งระหว่างบุคคลและหน่วยงานเพื่อให้เกิดการดูแลที่ต่อเนื่อง3 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บ้านสวนโคก อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ รับผิดชอบจำนวน 6 หมู่บ้าน มีผู้ป่วยระยะสุดท้าย 10 คน จากการวิเคราะห์พบว่าบุคลากรบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะในการประเมินและดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน สถานบริการยังขาดเวชภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น ในการช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานของผู้ป่วย และการดูแลผู้ป่วยที่ผ่านมาการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างหน่วยบริการระดับต่างๆ ยังไม่ดีพอ มีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบเครือข่าย ในการดูแลผู้ป่วยแบบประดับประคองขึ้น  
วัตถุประสงค์ : มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย พัฒนาระบบเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและประเมินผลการปฏิบัติตามระบบที่พัฒนาขึ้น  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยระยะสุดท้าย 10 คน ญาติผู้ป่วย 10 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ทีมสหวิชาชีพ 10 คน รวม 30 คน  
เครื่องมือ : แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความพึงพอใจผู้ให้บริการ แบบประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการ แบบประเมินการปฏิบัติตามระบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การดำเนินงานมี 3 ระยะ คือ 1) ระยะประเมินสถานการณ์ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม 2) ระยะวางแผนและดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยกำหนดแนวปฏิบัติร่วมกัน 3) ระยะประเมินผล มีการติดตามสร้างแรงจูงใจระหว่างการเยี่ยมบ้าน ประเมินความพึงพอใจและสรุปบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง