ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้กลไกการจัดการระบบสุขภาพอำเภอ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นางรักปราณี ถนอมเงิน ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล :  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางถนนด้วยการจัดการระบบสุขภาพอำเภอ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาการจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางถนนภายใต้การจัดการระบบสุขภาพอำเภอ จำนวน 40 คน 2) กลุ่มประเมินผลลัพธ์ คือประชาชนอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ใช้รถใช้ถนน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 360 คน  
เครื่องมือ : การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ข้อมูลเชิงปริมาณ 1) แบบประเมินอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนด้านการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน จำนวน 10 ข้อ และ 2) แบบสอบถามการดำเนินการตามนโยบายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนอำเภอคำม่วง จำนวน 30 ข้อ 3) รายงานอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากโปรแกรมบันทึกข้อมูลอุบัติเหตุโรงพยาบาล ข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการถอดบทเรียนการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางการจราจรภายใต้ระบบสุขภาพอำเภอ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2561– เดือนพฤษภาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบอัตราการเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตทางถนน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  
     
ผลการศึกษา : ผลการศึกษาการพัฒนารูปแบบการป้องกันการเสียชีวิตและลดอุบัติเหตุทางถนนด้วยกลไกการจัดการระบบสุขภาพอำเภอ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์สรุปเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นวางแผน ประกอบด้วย (1) การจัดตั้งคณะกรรมการจัดการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอ และการกำหนดบทบาทหน้าที่ (2) การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา และวิเคราะห์จุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน (3) การจัดทำแผนพัฒนาการป้องกันการเสียชีวิตและลดอุบัติเหตุทางถนน 2. ขั้นปฏิบัติ ประกอบด้วย 9 กิจกรรม ได้แก่ (1) การจัดการข้อมูล การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาด้านการบาดเจ็บ (2) การสอบสวนการบาดเจ็บอุบัติเหตุทางการจราจร (3) การจัดการสิ่งแวดล้อมด้านวิศวกรรมจราจร (4) การจัดตั้งด่านชุมชน (5) การดำเนินงานมาตรการองค์กรความปลอดภัยทางการจราจร (6) การบังคับใช้กฎหมาย (7) การสื่อสารความเสี่ยง (8) การส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาพด้านการป้องกันอุบัติเหตุ และ(9) การคืนข้อมูล ขั้นที่ 3 การประเมินผลการดำเนินงาน ขั้นที่ 4 การสะท้อนข้อมูลการวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จและถอดบทเรียน จากการดำเนินงานดังกล่าวส่งผลให้การดำเนินงานการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนอยู่ในระดับดีเยี่ยม ความคิดเห็นของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยอำเภอคำม่วงโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅= 3.58 S.D. = 0.64) และอัตราการเกิดอุบัติเหตุ ปี 2562ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ร้อยละ 73.14 ลดลงร้อยละ 16.75 เมื่อเปรียบเทียบกับ ปี2561ในช่วงเวลาเดียวกัน และไม่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง