|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : CG .4.0 (Care Giver ที่พึงประสงค์) |
ผู้แต่ง : |
ประทุมมาศ ไชยสุนทร, สุกฤทตา ศรีณะพรม, ประภาพรรณ คำเล็ก และCare Giver ตำบลทุ่งคลอง |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับงบการจัดสรรงบประมาณ ดำเนินงานโครงการเพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ใน ปี 2560 มีการจัดอบรม ผู้ดูแลผู้สูงอายุ Care Giver หลักสูตร 70 ชั่วโมงของกรมอนามัย มีการแบ่ง ผู้สูงอายุเพื่อให้ Care Giver ดูแลตามเกณฑ์ที่กำหนด ตามแบบสำรวจคู่มือการคัดกรองและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน แบบประเมินความสามารถการดูแลกิจวัตรประจำวัน (ADL: Activity Daily Loss) และแบบบันทึกแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan)โดย Care Manager และแบบบันทึกการปฏิบัติงานประจำวันของผู้ดูแลผู้สูงอายุ Care giver/Care Manager ที่ผ่านการอบรมจากกรมอนามัย เมื่อได้ปฏิบัติงานพบว่าปัญหาผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ตามมิติที่พบ 4 มิติ (กาย อารมณ์ สังคม และสภาพแวดล้อม) จึงมีการประสานงานระหว่าง Care Giver กับ Care Manager เป็นไปตามบันทึกแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan) ที่ Care Manager จัดทำสำหรับให้ Care Giver ใช้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตามสมรรถนะของแต่ละบุคคล แต่ด้วยความแตกต่างของ Care Giver ไม่ว่าเรื่องเพศ อายุ ความรู้ด้านเทคโนโลยียุคปัจจุบัน ความมีจิตอาสา ของบุคคล รวมถึงภาระงานทั้ง Care Giver กับ Care Manager และสหวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง จะทำอย่างไรที่จะสามารถทำให้ Care Giver สามารถในการบริหารจัดการได้ โดยมี Care Manager เป็นผู้เสนอแนะ เนื่องจากภาระงานของ Care Manager และทีม Care Giver ที่มีหลายบทบาท ทั้งในชุมชนส่วนร่วมกับภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจะมีปัญหาที่แตกต่างกันไป |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อพัฒนาศักยภาพ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ Care Giver หลักสูตร 70 ชั่วโมงของกรม อนามัย ให้สามารถเป็น Care Manager ในการจัดการกับปัญหาผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่อยู่ในความดูแลได้อย่างองค์รวม ตามมิติที่พบ 4 มิติ (กาย อารมณ์ สังคมและสภาพแวดล้อม) |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลทุ่งคลอง จำนวน 62 คน ที่มี ADL อยู่ที่ 0-11 คะแนน Care Giver ที่ปฏิบัติงานจริงในตำบลทุ่งคลอง จำนวน 28 คน |
|
เครื่องมือ : |
แบบสำรวจคู่มือการคัดกรองและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน แบบประเมินความสามารถการดูแลกิจวัตรประจำวัน (ADL: Activity Daily Loss) และ แบบบันทึกแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan) โดย Care Manager และแบบบันทึกการปฏิบัติงานประจำวันของผู้ดูแลผู้สูงอายุ Care giver/ Care Manager |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการแก้ไขปัญหาตามที่พบในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงรายบุคคล ตามปัญหาของมิติที่พบ
จากการส่งข้อมูลภาพถ่ายผลการแก้ไขปัญหาเข้ามาในกลุ่มไลน์ และตามแบบประเมินความสามารถการดูแลกิจวัตรประจำวัน (ADL: Activity Daily Loss) ของผู้สูงอายุหลังดำเนินกิจกรรม ผลการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามปัญหาที่พบในมิตินั้นๆ พัฒนาศักยภาพ CG .4.0 (Care Giver ที่พึงประสงค์) ให้มีคุณลักษณะดังนี้
1. เทคโนโลยีพอประมาณ คือ มีโทรศัพท์ที่สามารถถ่ายภาพได้ และส่งภาพได้ มีวิธีโต้ตอบกับ Care Manager ผ่านทางไลน์ได้เมื่อเกิดปัญหา เพราะทีมจะใช้กลุ่มไลน์ในการติดตามงานและประเมินผลการดำเนินงาน 2. ประสานงานรอบทิศ คือ สามารถประสานได้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ องค์กรในชุมชน นอกชุมชน 3. พันธมิตรภาคี เน้นภาคีทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และ 4. สุขฤดีที่ได้ทำ คือเมื่อทำแล้วไม่ทุกข์ ให้ฝึกใจเป็นสุขอยู่เสมอ เป็นการทำบุญ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงรายบุคคล แผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan) ตามการดำเนินงานปกติ โดย Care Manager จำนวน 45 ราย คิดเป็นร้อยละ 72.58 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงรายบุคคล แผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan) ตามการดำเนินงานที่ต้องใช้สมรรถนะ Care Giver 4.0 จำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.41 ราย จากการศึกษา Care Giver ตำบลทุ่งคลองทั้งหมด 28 ราย พบว่า เพศหญิงร้อยละ 96.4 อายุ น้อยสุดที่ 33 และมากที่สุด 65 ปี อายุเฉลี่ย 44.5 ระดับการศึกษามัธยมศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน 1-2 ปี Care Giver ที่สามารถใช้สมรรถนะ Care Giver 4.0 ได้จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 60.71และที่ยังไม่ผ่านใช้สมรรถนะ Care Giver 4.0 จำนวน จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 39.28 เนื่องจากไม่สามารถพัฒนาให้มีคุณสมบัติ CG.4.0 ที่พึ่งประสงค์ ได้ดังนี้ 1.เทคโนโลยีพอประมาณ ยังไม่สามารถส่งภาพได้ ไม่สามารถโต้ตอบกับทีมและ Care Manager ผ่านทางไลน์ได้เมื่อเกิดปัญหา เนื่องจากอายุมากกว่า 60 ปี 2. ประสานงานรอบทิศบางท่านไม่สามารถประสานงานได้ต้องรอ Care Manager เนื่องจากประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านจิตอาสาที่ยังมีน้อย 3.พันธมิตรภาคี ไม่เคยมีบทบาทด้านเป็นผู้นำในชุมชนมาก่อนทั้งด้านผู้นำโดยธรรมชาติหรือผู้นำแบบทางการ
และ 4. สุขฤดีที่ได้ทำ บางครั้งเกิดความเครียดเมื่อความต้องการของครอบครัวมีมากต้องการความช่วยเหลือตลอด หรือมีข้อจำกัดด้านสุขภาพที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
1.เทคโนโลยีพอประมาณ จากช่วงวัยของอายุ ที่แตกต่างกัน ช่วงเวลาที่มีเทคโนโลยี แต่จัดให้มีทีมพี่เลี้ยงที่อายุยังน้อยได้มีการแก้ไขปัญหาโดยการส่งภาพเข้าไปในกลุ่มไลน์ CG พี่เลี้ยงจะเพิ่มข้อมูลที่จำเป็นเพิ่มเติม หรือไปเป็นทีมละ 2-3 คนช่วยถ่ายภาพและส่งภาพพร้อมคำอธิบายประกอบ
2. ประสานงานรอบทิศ ในกรณีที่ยังไม่สามารถประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทันท่วงทีหรือเกิดปัญหาที่นอกเหนือความสามารถ Care Manager ยังคงต้องคอยเป็นพี่เลี้ยงและประสานงานร่วมกัน
3. พันธมิตรภาคี ส่วนมากจะเป็นองค์กรด้านแหล่งทุนภายในชุมชนที่ CG สามารถขอรับสนับสนุนได้ และแหล่งอื่นภายในองค์กรภายนอก เช่น พมจ. กองทุนด้านสวัสดิการในชุมชน Care Manager และทีมสหวิชาชีพ จะคอยเป็นพี่เลี้ยงเสนอแนะแนวทางดำเนินงาน
4. สุขฤดีที่ได้ทำ เนื่องจากส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ จะเสริมแรงโดยการเน้นการทำบุญกุศลอย่างหนึ่งเพื่อเป็นสะพานบุญเมื่อเราเกิดปัญหาจะมีคนมาคอยดูแลและช่วยเหลือ จากการที่เคยให้และดูแลผู้อื่น
จากการศึกษาพบว่าการแก้ไขปัญหาตามที่พบในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงรายบุคคล ตามมิติที่พบ แต่ละบุคคลแตกต่างกัน การประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยากง่ายแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่จะประสานงาน และขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะบุคคลของ Care Giver ที่จะสามารถพัฒนาได้รวมถึงอายุ ประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านจิตอาสาอื่นๆมาก่อน บทบาทที่เคยได้รับทางด้านสังคมในชุมชน
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|