ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดร่วมกับโรคจิตเวช อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ฌานิญมนธ์ นาลาบ, ผกามาศ คิสารัง, จีรนันท์ พรรณอินทร์, ธนาพร ศิริโส ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย วัณโรคเกิดได้ทุกอวัยวะของร่างกายส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอด ซึ่งสามารถแพร่เชื้อได้ และในปัจจุบัน พื้นที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มขึ้นทุกปี ปี 2560-2562 จำนวนผู้ป่วยวัณโรค 73, 68 และ 72 ราย ตามลำดับ และพบผู้ป่วยวัณโรคปอดร่วมกับโรคจิต มีปัญหาซับซ้อน ดังนี้ วัณโรคปอดระยะแพร่กระจายเชื้อ sputum AFB 3+ และ โรคจิตเวช มีอาการเอะอะโวยวาย ทำร้ายบิดามารดา ทำร้ายผู้อื่น และชุมชนหวาดกลัวผู้ป่วย ด้วยปัญหานี้ผู้วิจัยจึงได้วิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยเริ่มจากการสัมภาษณ์ ผู้ป่วย บิดา มารดา และเพื่อนบ้าน พบว่า ส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่า ผู้ป่วยจะมีอาการเอะอะโวยวาย และกลัวว่าตนเองจะเป็นอันตราย อีกทั้งกลัวติดเชื้อวัณโรคจากผู้ป่วย ได้สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับ บิดา มารดา และ คนในชุมชนใหม่ ให้เข้าใจ คำว่าผู้ป่วยจิตเวช และผู้ป่วยวัณโรคว่ามีแนวทางในการดูแล ให้อาการสงบและสามารถดำเนินชีวิตเหมือนคนทั่วไปได้ การแยกผู้ป่วยเพื่อดูแลอาการทางจิตให้สงบ สร้างความเข้าใจกับชุมชนให้ยอมรับผู้ป่วยว่าไม่ใช่บุคคลอันตราย และวางแผนการดูแลผู้ป่วยในชุมชน กำกับการกินยาวัณโรค และยาจิตเวช โดย อสม. ส่งผลให้ผู้ป่วยรักษาวัณโรคหาย อาการทางจิตสงบ ผู้ป่วยดำเนินชีวิตในชุมชนได้อย่างสงบ ชุมชนและสังคมยอมรับ ไม่หวาดกลัวผู้ป่วย  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดร่วมกับโรคจิตเวช  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 คน ดังนี้ ผู้ป่วยวัณโรคปอดร่วมกับโรคจิตเวช 1 คน, บิดา มารดา พี่ชาย, ผู้นำชุมชน เพื่อนบ้าน อสม.ในชุมชน  
เครื่องมือ : แบบสัมภาษณ์สาเหตุ ของการหวาดกลัวผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  
ขั้นตอนการดำเนินการ : รูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดร่วมกับโรคจิตเวช ดังนี้ 1.ประชุม วิเคราะห์ วางแผนการดูแล เพื่อ ให้ชุมชนเข้าใจในตัวผู้ป่วย การเกิดโรคทางจิต และโรควัณโรค และเพื่อให้ผู้ป่วยได้รักษาอาการทางจิต และรักษาวัณโรค 2. จัดกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้สอดคล้องกับปัญหาของผู้ป่วยเป็นรายกรณี โดยการยึด ครอบครัว และชุมชนเป็นศูนย์กลาง โดยมีกระบวนการดังนี้ 1) ให้ความรู้เรื่องโรค เข้าใจโรคจิต และโรควัณโรค 2) พาชุมชนมาเยี่ยมผู้ป่วย ทุก 1 สัปดาห์ เพื่อใจเข้าใจอาการของผู้ป่วย 3) ดูแลอาการทางจิตของผู้ป่วยในโรงพยาบาลจนอาการสงบ และชุมชนพร้อมยอมรับ 4)วางแผนการดูแลผู้ป่วยร่วมกับชุมชน ในการกำกับการกินยาวัณโรคและยาจิตเวช. 5) มีช่องทางด่วนให้ อสม.ผู้ดูแลเมื่อผู้ป่วยมีอาการทางจิต โดยการโทรทันที และ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมาดูแลทันที 6) เยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรค เพื่อเสริมพลังให้ผู้ดูแล และให้กำลังใจผู้ป่วย  
     
ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยวัณโรคปอดร่วมกับโรคจิตเวชจำนวน 1 ราย ญาติ 3 ราย และผู้นำชุมชน เพื่อนบ้าน อสม.16 ราย รวม 20 ราย มีกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยตามรูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดร่วมกับโรค จิตเวช อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่าผู้ป่วยวัณโรคร่วมกับโรคจิต อาการทางจิตไม่กำเริบ และ รับยาวัณโรคจนครบการรักษา 6 เดือน รักษาโรควัณโรคหาย และ อาการทางจิตสงบ สามารถอยู่ในสังคมได้ และ สังคมเข้าใจ และสามารถดูแลผู้ป่วยได้โดยชุมชนเอง  
ข้อเสนอแนะ : ผู้ป่วยวัณโรคปอดร่วมกับโรคจิตเวช ญาติและชุมชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่า ผู้ป่วยจะมีอาการเอะอะโวยวาย และกลัวว่าตนเองจะเป็นอันตราย อีกทั้งกลัวติดเชื้อวัณโรคจากผู้ป่วย ถ้าหากได้สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับ บิดา มารดา และ คนในชุมชนใหม่ ให้เข้าใจคำว่าผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยวัณโรค ว่ามีแนวทางในการดูแล ให้อาการสงบและสามารถดำเนินชีวิตเหมือนคนทั่วไปได้ การแยกผู้ป่วยเพื่อดูแลอาการทางจิตให้สงบ สร้างความเข้าใจกับชุมชนให้ยอมรับผู้ป่วยว่าไม่ใช่บุคคลอันตราย และวางแผนการดูแลผู้ป่วยในชุมชน กำกับการกินยาวัณโรค และ ยาจิตเวช โดย อสม. ส่งผลให้ผู้ป่วยรักษาวัณโรคหาย อาการทางจิตสงบ ผู้ป่วยดำเนินชีวิตในชุมชนได้อย่างสงบ ชุมชนและสังคมยอมรับ ไม่หวาดกลัวผู้ป่วย รูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดร่วมกับโรคจิตเวช อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ สามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยร่วมอื่นๆร่วมกับจิตเวชได้ ถ้าหากมีการสร้างความรู้ความเข้าใจกับญาติ และชุมชนในพื้นที่ และมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง