|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาแนวทางกระบวนการจัดระบบเครื่องมือแพทย์เพื่อลดการ Re-sterile ในหน่วยจ่ายกลาง โรงพยาบาลคำม่วง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
เพ็ญทิพา เวียงวะลัย, ประยงค์ กองศรีนาง และคณะหน่วยจ่ายกลาง
|
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นปัจจัยที่จำเป็นทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขทำให้การรักษาหายเร็วขึ้นหรือเพื่อช่วยในการวินิจฉัย การป้องกัน การเฝ้าระวังและการรักษาบรรเทาโรค ในปัจจุบันมีการใช้เครื่องมือแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายหรือต่อชีวิตได้ การใช้เครื่องมือแพทย์จะต้องมีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพมาตรฐานในเครื่องมือแพทย์ แต่พบว่าเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยจ่ายกลางไม่เข้าใจในแนวทางปฏิบัติ จึงทำให้การนึ่งเครื่องมือการแพทย์ทั้งหมดที่ลงมาจากตึกผู้ป่วยและไม่มีการ First in First out ทำให้เครื่องมือแพทย์มีการ Re-sterile มากขึ้นทุกปี พบว่าในปี 2559 มีการนึ่งเครื่องมือการแพทย์ทั้งหมด 60,320 set พบ Re-sterile จำนวน 44 set คิดเป็นมูลค่า 880 บาท และในปี 2560 มีการนึ่งเครื่องมือการแพทย์ทั้งหมด 63,500 set พบ Re-sterile จำนวน 76 set คิดเป็นมูลค่า 1,520 บาท ทำให้การบริหารจัดการควบคุมเครื่องมือแพทย์ทำได้ยากมากขึ้น พบว่าเครื่องมือแพทย์ที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้วไม่เพียงพอต่อการจ่ายให้หน่วยงานทันที ซึ่งสถิติพบว่าเครื่องมือแพทย์ขาดสต็อกไม่พร้อมใช้
จากปัญหาดังกล่าว จึงเกิดแนวคิดในการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาแนวทางกระบวนการจัดระบบเครื่องมือแพทย์เพื่อลดการ Re-sterile ของหน่วยจ่ายกลาง ทำให้เครื่องมือมีความเพียงพอและประหยัดค่าใช้จ่าย เกิดความคุ้มค่า ความปลอดภัยและเครื่องมือมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนผู้มาใช้บริการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเข้าใจในการจัดกระบวนการการจัดระบบเครื่องมือแพทย์ที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อ เครื่องมือแพทย์มีจำนวนเพียงพอและสามารถหมุนเวียนใช้งานในหน่วยงานต่างๆได้และที่สำคัญเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการนึ่งฆ่าเชื้อซ้ำโดยไม่มีการใช้งาน(การre-sterile) ซึ่งเมื่อเกิดผลดีสามารถนำไปใช้กับหน่วยงานอื่นๆในโรงพยาบาลคำม่วงและเครือข่ายรพ.สต.ในเขตอำเภอคำม่วงต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อพัฒนาแนวทางกระบวนการจัดระบบเครื่องมือแพทย์เพื่อลดการ Re-sterile ของหน่วยจ่ายกลาง |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
Set เครื่องมือแพทย์ในหน่วยจ่ายกลาง |
|
เครื่องมือ : |
การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ จำนวน ร้อยละ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
แนวทางกระบวนการจัดระบบเครื่องมือแพทย์เพื่อลดการ Re-sterile ในหน่วยจ่ายกลาง ดังนี้
1. วิเคราะห์ปัญหาของระบบการจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อ
2. ตรวจสอบสาเหตุหลักของ Set เครื่องมือแพทย์ที่หมดอายุก่อนนำไปใช้งาน
3. การนึ่งตามใบเบิกเครื่องมือแพทย์ในแต่ละหน่วยงาน
4. ยืดอายุเวลาในแต่ละ Set ให้หน่วยงานที่ไม่ค่อยได้ใช้ Set เช่น Set เจาะปอด, เจาะหลัง และเครื่องมือ OR เป็นต้น
5. ตรวจเช็คระบบสต็อกโดยการ First In First Out
6. จัดทำแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว (โดยใช้นวัตกรรม สีจราจรเตือนภัยห่างไกล re-sterile) ดังนี้
แถบสีเขียว หมายถึง set เครื่องมือเกิน 72 ชั่วโมงจะหมดอายุ/จำนวน set เครื่องมือเหลือในสต็อกมากกว่า 50%
แถบสีเหลือง หมายถึง set เครื่องมืออีก 72 ชั่วโมงจะหมดอายุ/จำนวน set เครื่องมือเหลือในสต็อก 50% ให้จ่ายเฉพาะหน่วยงานที่มีอัตราการใช้งานบ่อยๆ และถ้าจ่ายสีเหลืองให้โทรประสานให้หน่วยงานนั้นทราบว่า set เครื่องมือนั้นจะหมดอายุอีก 72 ชั่วโมง (แจ้งวัน เดือน ปีที่จะหมดอายุ)
แถบสีแดง หมายถึง set เครื่องมือ อีก 24 ชั่วโมงจะหมดอายุ/จำนวน set เครื่องมือเหลือในสต็อกน้อยกว่า 50% ห้ามจ่าย Set เครื่องมือที่มีแถบสีแดง
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ตารางที่ 1 แสดงผลอัตรา Re-Sterile และมูลค่าการใช้จ่ายจำแนกรายปีงบประมาณ ปี 2560-2562
ปีงบประมาณ จำนวนเครื่องมือทั้งหมด (Set) จำนวนเครื่องมือ Re-Sterile (Set) อัตราการ Re-Sterile (Set) มูลค่าใช้จ่าย(บาท)
ปี 2560 63,500 76 0.12 1,520
ปี 2561 63,600 44 0.07 880
ปี 2562 (ต.ค.61-พ.ค.62) 40,800 2 0.01 40
จะเห็นได้ว่า จำนวนเครื่องมือ Re-Sterile ปี 2560 มีจำนวนมาก และเมื่อมีการพัฒนาแนวทางกระบวนการจัดระบบเครื่องมือแพทย์เพื่อลดการ Re-sterile ในหน่วยจ่ายกลาง พบว่า ปี 2561-2562 ลดลง อัตรา 0.07 และ0.01 ตามลำดับ และมูลค่าใช้จ่ายลดลง
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
จากการพัฒนาแนวทางกระบวนการจัดระบบเครื่องมือแพทย์เพื่อลดการ Re-sterile ในหน่วยจ่ายกลาง
พบว่า การ Re-sterile ของเครื่องมือแพทย์ลดลงทุกปี และจำนวนเครื่องมือแพทย์ที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้วมีเพียงพอในการจ่ายให้หน่วยงานต่างๆ จากการสอบถามผู้ปฏิบัติงานพบว่ามีเวลาที่จะปฏิบัติงานที่จำเป็นหรือเร่งด่วนมากขึ้น ลดภาระงานที่ทำซ้ำซ้อน ส่งผลทำให้เจ้าหน้าหน่วยจ่ายกลางมีความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้น
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|