ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : 3 สีประสานจิตจิตเวชชุมชนแบบบูรณาการ นำสู่ “สุขสำราญโมเดล ต้นแบบสุขภาพจิตชุมชน”
ผู้แต่ง : อรรคพล ภูผาจิตต์, พิมพ์ชนก สำราญรื่น, ปทิตตา อ่อนสำโรง, ทักษิณา ไมยะปัน ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : บ้านโนนสะอาดหมู่ 2 เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก จำนวน ประชากร 417 คน จำนวน 150 หลังคาเรือน แต่พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นทุกปี ข้อมูล ปี 2559 จำนวน 15 ราย ปี 2560 เพิ่มเป็น 18 ราย ปี 2561 เพิ่มเป็น 20 ราย ปัจจัยส่วนใหญ่มาจากการใช้สารเสพติด และ อยู่ในวัยทำงาน ร้อยละ53.33 วัยสูงอายุ ร้อยละ 10 วัยรุ่น ร้อยละ 6.6 และวัยเด็ก ร้อยละ 3.3 จากการประชาคม ชาวบ้าน ได้สะท้อนถึงความทุกข์ ความวิตกกังวล หวาดระแวง และมีความต้องการให้แก้ไข จึงประสานความร่วมมือจากโรงพยาบาลคำม่วงและหน่วยงานรัฐ เข้าร่วมวางแผนในการดูแลแก้ไขปัญหา จึงได้จัดทำระบบการดูแลสุขภาพจิตชุมชน 3ส.ประสานจิตฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชแบบบูรณาการ เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพจิตชุมชนอย่างยั่งยืนในชุมชน และประชาชนในชุมชนเป็นปัจจัยหลักในการดูแลผู้ป่วย  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อสร้างแกนนำเครือข่ายดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน 2.เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้ป่วยจิตเวชได้ 3.เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเวช และญาติดีขึ้นสามารถดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างปกติสุข  
กลุ่มเป้าหมาย : แกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน ทีมหมอครอบครัว ชาวบ้านที่สนใจ  
เครื่องมือ : นวัตกรรม 3 สี ประสานจิต เพื่อแบ่งระดับการดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิต  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 6.1 ประชุม แกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน ทีมหมอครอบครัว ชาวบ้านที่สนใจ ชี้แจงโครงการและจัดทำหลักสูตรอบรมให้สอดคล้องกับปัญหาในชุมชน 6.2 ดำเนินการคัดกรอง ตามแนวทางการคัดกรองผู้ป่วยทางจิตในชุมชน โดยใช้นวัตกรรม 3 สี ประสานจิต เพื่อแบ่งระดับการดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิต สีแดง หมายถึง ผู้ป่วยที่ขาดยา ไม่มีญาติดูแล และติดสารเสพติด รวมถึงอาละวาดก้าวร้าว สีเหลือง หมายถึง ผู้ป่วยที่ขาดยาบ้าง แต่ญาติยังดูแล และควบคุมได้ สีเขียว หมายถึง กินยาต่อเนื่อง ไม่ขาดยา และมีญาติดูแล 3.จัดกิจกรรมอบรมพัฒนาแกนนำครอบครัว เพื่อช่วยกันค้นหาและเฝ้าระวังความเสี่ยงในชุมชน 4.จัดตั้งทีมทำงาน และแบ่งมอบหมายหน้าที่ พร้อมร่วมติดตามประเมินผล 5. การติดตามเยี่ยมดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิต และกลุ่มเสี่ยง ตามกลุ่มวัย โดยใช้กระบวนการ 3 ส คือ สอดส่องมองหา ใส่ใจรับฟัง ส่งต่อเชื่อมโยง โดยใช้แบบติดตามโนนสะอาด 3ส.  
     
ผลการศึกษา : 7.1 เกิดคณะทำงาน “สุขสำราญโมเดล ต้นแบบสุขภาพจิตชุมชน” 7.2 กิจกรรมคัดกรองความเสี่ยง ตามกลุ่มวัยโดยการใช้นวัตกรรม 3 สี ประสานจิตมีแนวคำถามตามแบบคัดกรอง 2Q และ ST5 แนวทางการคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการ เมื่อพบความเสี่ยง ประสานเจ้าหน้าที่หมู่บ้านจากโรงพยาบาลคำม่วง ติดตามประเมิน ความเครียด และ 9Q กลุ่มอายุ เป้าหมาย ปกติ(เขียว) เสี่ยง(เหลือง) ป่วย(แดง) 0-5 ปี 31 30 1 0 6-12 ปี 43 40 2 1 13-19 ปี 43 42 0 1 20-59 ปี 64 47 1 16 60 ปีขึ้นไป 89 79 0 10 7.3 เกิดแนวทางการปฏิบัติระบบเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตและการติดตามดูแลผู้ป่วย 7.4 กิจกรรมอบรมพัฒนาแกนนำครอบครัว เพื่อช่วยกันค้นหาและเฝ้าระวังความเสี่ยงในชุมชน โดยจัดอบรม แกนนำครัวเรือน ทุกหลังคาเรือนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 2 ครั้ง - เกิดแกนนำจิตอาสา “อจ.น้อย”จำนวน 15 คน ร่วมรับความรู้ และกลับไปให้ข้อมูลผู้ปกครองที่บ้าน - เกิดนำจิตอาสา จำนวน 10 คน ร่วมให้ข้อมูลติดตามเยี่ยมบ้าน คัดกรอง ส่งต่อปัญหาแก่ทีม 7.5 ชีวิตใหม่ผู้ป่วยจิตเวชจาก “โซ่ตรวนจิตเวชสู่บทบาทวิทยากร”ชุมชนได้ใช้แนวทางการปฏิบัติระบบเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตและการติดตามดูแลผู้ป่วยเพศชาย อายุ 58 ปี ประเมินปัญหาพบขาดการรักษา มา 38 ปี เนื่องจากครอบครัวยากจน ไม่ยอมรับว่าตนเองป่วย อาละวาด เปิดเพลงเสียงดัง ทุกวัน ไม่ปฏิบัติกิวัตรประจำวัน หวาดระแวง คนแปลกหน้า พกอาวุธมีดขวาน เป็นสีแดง ชุมชนจึงได้ใช้กระบวนการ 3 สีประสานจิตในการช่วยเหลือดังนี้ 1.ประเมินปัญหาจากครอบครัวและเพื่อนบ้าน สร้างความเป็นมิตร ทุกวัน 2.ประสานทีมสุขภาพจิต รพ.คำม่วง ทีมตำรวจ เข้าเยี่ยม 3.อสม.ติดตามอย่างต่อเนื่อง เรื่อง การกินยา พฤติกรรม จนเกิดความสำเร็จผู้ป่วยสามารถทำงานบ้านช่วยแม่วัย 84 ปี ประกอบอาชีพได้ ทำให้สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในสังคม ไม่เป็นที่รังเกียดของคนทั่วไป เข้าสังคมได้ปกติ ลดความหวาดระแวงของคนในชุมชน ออกมาให้ความรู้ร่วมเป็นวิทยากรในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนได้  
ข้อเสนอแนะ : การดูแลสุขภาพจิตชุมชนแบบ 3 สีประสานจิต เกิดจากชุมชนเป็นผู้มองเห็นปัญหาร่วมกัน ค้นหาเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยเจ้าหน้าที่เป็นผู้แนะนำและให้ข้อมูลวิชาการที่เหมาะสมกับสิ่งที่ชุมชนต้องการ จนชุมชนสามารถสร้างแนวทางและเครื่องมือที่ชุมชนต้องการจริงๆได้ และนำสู่การปฏิบัติที่มีความเฉพาะและเหมาะสมกับบริบทของชุมชน ส่งผลให้ชุมชน เกิดความรู้ แนวทาง เครื่องมือ และเกิดความสำเร็จในการดูแลผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูผู้ป่วยในชุมชน เกิดเป็น “สุขสำราญโมเดล ต้นแบบสุขภาพจิตชุมชน” ที่มีความยั่งยืนในชุมชนได้  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง