ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : นวัตกรรม จจจ...จราจรจิตเวชชุมชน
ผู้แต่ง : ประทุมมาศ ไชยสุนทร ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่มีปัญหาผู้ป่วยสุขภาพจิตและมีผู้มีอาการทางจิตที่มีพฤติกรรมก่อความรุนแรงในสังคม ชุมชน พบมีความสัมพันธ์กับการใช้สารเสพติดชนิดใดชนิดหนึ่ง ในหนึ่งปีมีจำนวน 1.4 ล้านคน ในจำนวนนี้เข้าสู่ระบบบำบัดทางจิต ของกรมสุขภาพจิต 24,196 คน เป็นผู้ป่วยจิตเวชติดสารเสพติดรุนแรง 5,757 คน และพบสถิติก่อเหตุรุนแรงในสังคมสูงขึ้น 3.92 เท่าในปี 2561 อำเภอคำม่วงเป็นอำเภอที่ทางจังหวัดกาฬสินธุ์ กำหนดให้เป็นพื้นที่ระบาดของยาเสพติดซึ่งเป็นสาเหตุเกิดโรคจิตเวชคิดเป็น 79.69% อำเภอคำม่วงมีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนจิตเวช ในปี 2559 – 2561 เท่ากับ 512, 580, 686 คน ตามลำดับ ความรุนแรงของเหตุการณ์ที่เกิดจากผู้ป่วยจิตเวชมีอาการกำเริบ ในตำบลนาทัน อำเภอคำม่วง เป็นข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์ ถึง 3 เหตุการณ์ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ก่อให้เกิดความหวาดกลัวของประชาชนในพื้นที่และอำเภอใกล้เคียง พฤติกรรมจี้ ปล้น ฆ่า ข่มขืน ทำลายชีวิตทรัพย์สิน ผู้กระทำผิดล้วนเป็นผู้ที่มีประวัติรับยาจิตเวช และสัมพันธ์สารเสพติด ทั้งรับการรักษาแล้วและยังไม่ได้รับการรักษา ในตำบลนาทันเป็นตำบลที่มีอุบัติการณ์สูงสุด พบผู้ป่วยขึ้นทะเบียน ปี 2559 จำนวน 176 คน ปี 2560 จำนวน 192 คน ปี 2561 จำนวน 227 คน และมีข้อมูลก่อความรุนแรงคลุ้มคลั่ง 22 ครั้ง  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อประชาชนมีการจัดการเพื่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน 2.เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน  
เครื่องมือ : นวัตกรรม จจจ...จราจรจิตเวชชุมชน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 6.1 คืนข้อมูลกระตุ้นคิดเป็นประเด็นการตั้งคำถามชวนให้ประชาชนได้คิด - การประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาทัน - การประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน 6.2 สร้างการมีส่วนร่วม - คณะกรรมการหมู่บ้าน - ผู้นำและ อสม. 6.3 การให้ความรู้กับแกนนำ - ใช้กลไกในการแยกประเภทสีผู้ป่วย - ใช้กลไกการดูแลตัวเองในชุมชน สีเขียว ผู้ป่วยกินยาสม่ำเสมอ/ญาติดูแลดี สีเหลือง ผู้ป่วยมีโอกาสขาดยา/ญาติดูแลไม่สม่ำเสมอ สีแดง ผู้ป่วยขาดยา/ไม่มีผู้ดูแล/ยุ่งเกี่ยวยาเสพติด 6.4 พัฒนาระบบประสานแจ้งข่าว  
     
ผลการศึกษา : 7.1 มีศูนย์ดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน (สีแดง) และชุมชนดูแลสีเขียวและเหลืองร่วมกัน - คณะกรรมการดูแลจากทุกภาคส่วนระดับตำบล (พชต.) มาจากทุกภาคส่วนใช้งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ - ได้รับการสนับสนุนระดับอำเภอ (พชอ.) 7.2 เกิดระบบการใช้สีไฟสัญญาณจราจรในการติดตามและแยกผู้ป่วย เชื่อมกันทั้งหมู่บ้าน ตำบลและอำเภอ 7.3 อุบัติการณ์ผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินลดลง - ปี 2561 จำนวน 21 ราย - ปี 2562 จำนวน 11 ราย เกิดจากชาวบ้านในชุมชนดูแลผู้ป่วยโดยใช้กลไก สีจราจรจิตเวช 7.4 ผู้ป่วยเข้าบำบัดในคลินิกสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น 27 คน รวมมีผู้ป่วยในปี 2562 จำนวน 254 คน (ตำบลนาทัน) 7.5 การเข้าสู่ระบบการบำบัดสารเสพติดด้วยความสมัครใจเพิ่มขึ้น จำนวน 16 ราย 7.6 ขยายรูปแบบลงสู่พื้นที่ตำบลทุ่งคลองและใช้ระบบการใช้สีไฟสัญญาณจราจรในการติดตามและแยกผู้ป่วย 7.7 ชาวบ้าน ชุมชน ญาติผู้ป่วย และผู้นำท้องถิ่น มีความพึงพอใจในการร่วมมือของทุกฝ่าย นายกเทศมนตรีตำบลนาทันกล่าวว่า “แม้ยังมีปัญหาหนักๆ ผมก็มีกำลังใจในการร่วมมือแก้ไขปัญหา”  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)