ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : กระบวนการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะชักจากไข้สูง โรงพยาบาลคำม่วง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ลภัสรดา สูตรสุวรรณ, ผกามาศ คิสารัง, จันทร์เพ็ญ สีเครือดง ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : จากข้อมูลผู้ป่วยในหญิงปี 2558-2560 พบเด็ก 0-5 ปี มาด้วย Febrile convulsion จำนวน 41,54 และ 41 ราย พบชักซ้ำจำนวน 8,5 และ 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 19.5,9.25 และ4.87ตามลำดับ นอกจากภาวะชักจะส่งผลต่อสมองผู้ป่วยแล้วยังส่งผลต่อญาติทำให้เกิดความวิตกกังวล ขาดความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์และโรงพยาบาลเสี่ยงต่อการฟ้องร้อง ซึ่งการประเมินพบว่าผู้ดูแลขาดความรู้ในการเช็ดตัวลดไข้ที่ถูกต้อง คณะทำงานผู้ป่วยในหญิงจึงได้มีแนวคิดพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยด้วยนาฬิกาเตือนภัยเฝ้าระวังชักจากไข้สูงเพื่อใช้เป็นเครื่องมือเฝ้าระวังการเกิดภาวะชักจากไข้สูงและเป็นการประเมินภาวะไข้และป้องกันภาวะไข้สูงก่อนจะเกิดภาวะชัก ตึกผู้ป่วยในหญิงประชุมหาแนวทางดำเนินงานคิดประดิษฐ์ นาฬิกาเตือนภัยเฝ้าระวังภาวะชักจากไข้สูง  
วัตถุประสงค์ : พัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยด้วยนาฬิกาเตือนภัยเฝ้าระวังชักจากไข้สูง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเฝ้าระวังการเกิดภาวะชักจากไข้สูงและเป็นการประเมินภาวะไข้และป้องกันภาวะไข้สูงก่อนจะเกิดภาวะชัก  
กลุ่มเป้าหมาย : เด็ก 0-5 ปี มาด้วย Febrile convulsion  
เครื่องมือ : นาฬิกาเตือนภัยเฝ้าระวังภาวะชักจากไข้สูง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : วิธีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ โดยได้แนวคิดจากการสอนการเช็ดตัวลดไข้เพื่อให้ผู้ดูแลเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นสร้างความตระหนักในการเช็ดตัวลดไข้โดยแบ่งนาฬิกา 1 เรือน เป็น 4 สี ดังนี้ สีเขียว คืออุณหภูมิปกติ 35.5 – 37.4 องศาเซลเซียส สีเหลือง คือมีไข้ต่ำ ๆ 37.5 – 38.3 องศาเซลเซียส เช็ดตัวลดไข้ ดื่มน้ำมาก ๆ สีส้ม คือมีไข้ปานกลาง 38.4 – 39.4 องศาเซลเซียส เช็ดตัวลดไข้ กินยาลดไข้ สีแดง คือมีไข้สูง 39.5 – 40.4 องศาเซลเซียส เช็ดตัวลดไข้ กินยาลดไข้ แจ้งพยาบาล  
     
ผลการศึกษา : การทดลองประสิทธิภาพสิ่งประดิษฐ์ นำอุปกรณ์ไปใช้กับผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะชักจากไข้สูงทุกรายโดยติดตั้งไว้ที่เตียงผู้ป่วย สอนผู้ดูแลในการใช้อุปกรณ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 7.1 การเตรียมน้ำที่ใช้ในการเช็ดตัวลดไข้ 7.2 การเช็ดตัวลดไข้อย่างถูกวิธี 7.3 วิธีการใช้นาฬิกาเตือนภัยเฝ้าระวังป้องกันภาวะชักจากไข้สูง 1.สอนญาติวัดไข้โดยใช้ปรอทดิจิตอลวัดไข้ทางรักแร้ของผู้ป่วย หลังจากนั้นรอสัญญาณปรอทดังขึ้น แล้วนำปรอทมาอ่านค่าอุณหภูมิร่างกาย 2.จากนั้นหมุนเข็มนาฬิกาให้ตรงกับอุณหภูมิที่วัดค่าได้ แล้วเปรียบเทียบอุณหภูมิร่างกายกับสีของนาฬิกา สีเขียว คือผู้ป่วยไม่มีไข้ อุณหภูมิปกติ 35.5 – 37.4 องศาเซลเซียส สีเหลือง คือมีไข้ต่ำ ๆ 37.5 – 38.3 องศาเซลเซียส แนะนำญาติดูแลเช็ดตัวลดไข้และดื่มน้ำมาก ๆ สีส้ม คือมีไข้ปานกลาง 38.4 – 39.4 องศาเซลเซียส เช็ดตัวลดไข้และแจ้งพยาบาลเพื่อจะได้รับยาลดไข้ สีแดง คือมีไข้สูง 39.5 – 40.4 องศาเซลเซียส แจ้งพยาบาลทันที เช็ดตัวลดไข้ ให้ยาลดไข้ อุณหภูมิมากกว่า 40.5 องศาเซลเซียส ไข้สูงมาก ต้องแจ้งพยาบาลทันที 3.หลังเช็ดตัวลดไข้ 20 – 30 นาที วัดอุณหภูมิร่างกายซ้ำจดบันทึกไว้ แล้วทำซ้ำเมื่อผู้ป่วยมีอาการตัวร้อน งบประมาณ/อุปกรณ์ สำหรับนาฬิกาเตือนภัยเฝ้าระวังภาวะชักจากไข้สูง 5 ชุด ค่าวัสดุ - กระดาษสติ๊กเกอร์ (สีเขียว , เหลือง , ส้ม , แดง ) 120 บาท - ฟิวเจอร์บอร์ด 1 แผ่น 50 บาท - ไม้ไอศกรีม 15 บาท - สกรู 5 บาท - สติ๊กเกอร์ใส 5 แผ่น 150 บาท - ปรอทวัดไข้ดิจิตอล 5 อัน 1,150 บาท รวมค่าใช้จ่าย 1,490 บาท รวมงบประมาณที่ใช้ 1,490 บาท เฉลี่ย 298 บาท/ชุด  
ข้อเสนอแนะ : ประโยชน์/การนำไปใช้ ปีงบประมาณ จำนวนผู้ป่วยเด็ก admit ชักจากไข้สูง จำนวนผู้ป่วยเด็กชักซ้ำ ร้อยละผู้ป่วยเด็กชักซ้ำ จำนวนของผู้ดูแลวัดไข้เป็นและดูแลผู้ป่วยได้ 2558 41 8 19.5 NA 2559 54 5 9.25 NA 2560 41 2 4.87 93.5 2561 48 2 4.16 91.3 8.1 พบว่าปีงบประมาณ 2561 จำนวนผู้ป่วยเด็กชักซ้ำลดลงร้อยละ4.16 8.2 ผู้ดูแลสามารถประเมินไข้ก่อนเกิดภาวะชักและมีทักษะในการปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานในการเช็ดตัวลดไข้ 8.3 เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานในกระบวนการพยาบาลง่ายขึ้น  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง