ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ปลากระดี่กินลูกน้ำ
ผู้แต่ง : ดุลศักดิ์ เทพขันธ์, เพชรระดา พันพิพิธ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการป้องกันและควบคุมลูกน้ำยุงลายที่นำเชื้อไข้เลือดออกมาสู่คน ซึ่งเป็นปัญหาซ้ำซากในพื้นที่ตลอดมา องค์การบริหารส่วนตำบลหลักเหลี่ยมได้จัดงบประมาณในการป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่ทุกปี หากมีผู้ป่วยเกิดขึ้นและมีการระบาดของโรค การสำรวจความชุกลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ตำบลหลักเหลี่ยม อ.นามน จ.กาฬสินธุ์ ระหว่างวันที่ 2 มีนาคม – 3 สิงหาคม 2558 โดยการศึกษาเชิงสำรวจในครัวเรือนที่สามารถให้ข้อมูลได้ ผลการศึกษาพบว่า วิธีการป้องกันและควบคุมลูกน้ำยุงของประชาชน คือ การปิดฝาน้ำดื่ม-น้ำใช้ การใส่สารกำจัดและป้องกันในภาชนะเก็บ/ขังน้ำ การเลี้ยงปลากระดี่ การล้าง/เปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน การสำรวจลูกน้ำยุงลายในภาชนะ เหตุผลของผู้มีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมยุงลาย คือ ความกลัวเป็นโรคไข้เลือดออก การได้รับข่าวสารทางโทรทัศน์ ข่าวสารทางหอกระจายข่าวโดยผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ส่วนเหตุผลของผู้มีพฤติกรรมไม่ป้องกันและควบคุมยุงลาย คือ คิดว่าไม่มีอันตรายแก่ตนเอง จากการสำรวจลูกน้ำยุงลายตามครัวเรือน พบว่า House Index (HI) ร้อยละ 19.59 แหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงพบมากที่สุด คือ โอ่งและภาชนะกักเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด กระป๋องหรือขวด ยางรถยนต์ จากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนยังมีพฤติกรรมป้องกันและควบคุมลูกน้ำยุงลายน้อย พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลายค่อนข้างสูง หน่วยงานของสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องได้ให้ความรู้ย้ำเตือนตลอดทั้งปี ชี้ให้เห็นผลกระทบและความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากโรคไข้เลือดออกนี้ ปลากระดี่นา เป็นปลาพื้นบ้านที่ชาวบ้านหาได้ง่ายมากเมื่อไปนา เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก มีความสามารถกินลูกน้ำได้ดีมีความทนทาน การเลือกปลากระดี่ที่จะนำไปปล่อยในอ่างน้ำอาบขนาดใหญ่ ให้เลือกตัวสดๆแข็งแรง ก็จะอยู่นานถ้ามันเกิดตาย ก็หามาปล่อยแทน ปล่อยภาชนะละ 2 ตัว เพื่อให้มันมีเพื่อนและแย่งกันกินอาหาร  
วัตถุประสงค์ : 1 เพื่อหาแนวทางในการป้องกันไม่ให้มีลูกน้ำยุงลายสาเหตุต้นกำเนิดของโรคไข้เลือดออก 2 เพื่อหาแนวทางในการเฝ้าระวังการเกิดโรค ให้ยั่งยืนมีความรวดเร็ว และลดผลกระทบในความขัดแย้งกับประชาชนในครัวเรือน  
กลุ่มเป้าหมาย : 1. คณะอสม.บ้านสังคมพัฒนา หมู่ที่ 2 2. คณะอสม.บ้านสังคมพัฒนา หมู่ที่ 8 3. คณะอสม.บ้านอุทัยวัน หมู่ที่ 5 4. คณะอสม.บ้านหลักเหลี่ยม หมู่ที่ 1 5. คณะอสม.บ้านหลักเหลี่ยม หมู่ที่ 4 6 คณะอสม.บ้านโนนเหลี่ยม หมู่ที่ 6 7. คณะอสม.บ้านหนองคอนเตรียม หมู่ที่ 3 8. คณะอสม.บ้านหนองคอนเตรียม หมู่ที่ 9 9. คณะอสม.บ้านโนนขี้ตุ่น หมู่ที่ 7 10. คณะอสม.บ้านทรัพย์เจริญ หมู่ที่ 10  
เครื่องมือ : ปลากระดี่  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ลำดับ กิจกรรม ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ ผู้ควบคุม 1 ประชุมชี้แจง 2 มีนาคม 59 นายดุลศักดิ์ เทพขันธ์ นางเพชรระดา พันพิพิธ 2 สำรวจลูกน้ำยุงลายครัวเรือน 4-10 มีนาคม 59 คณะ อสม.ทุกหมู่ นายดุลศักดิ์ เทพขันธ์ 3 ใช้ปลากินลูกน้ำ 12 มี.ค – 1 ส.ค 59 คณะ อสม.ทุกหมู่ นายดุลศักดิ์ เทพขันธ์ 4 ติดตามผล 13 มี.ค – 2 ส.ค 59 คณะ อสม.ทุกหมู่ นายดุลศักดิ์ เทพขันธ์ 5 ประเมินผล 3 สิงหาคม 2559 นายดุลศักดิ์ เทพขันธ์ นางเพชรระดา พันพิพิธ 6 สรุปผลการดำเนินงาน 4 สิงหาคม 2559 นายดุลศักดิ์ เทพขันธ์ นางเพชรระดา พันพิพิธ  
     
ผลการศึกษา : ก่อนการดำเนินโครงการ สำรวจลูกน้ำยุงลาย จำนวน 1,281 ครัวเรือน พบ 251 ครัวเรือน ค่า HI=19.59 ภาชนะที่สำรวจ 3,150 ภาชนะ พบ 418 ภาชนะ ค่า CI=13.26 ซึ่งเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ จึงได้ทำการปล่อยปลากระดี่ลงในอ่างหรือโอ่งที่มีลูกน้ำยุงลาย ภาชนะละ 1-2 ตัว แล้วแต่ปริมาณลูกน้ำที่มี พร้อมบันทึกไว้ แล้วคอยตรวจสอบหลังจากปล่อยปลาลงไป 1-2 วันแรก และคอยติดตามทุกสัปดาห์ตามที่กำหนดแผนงานไว้ หลังการดำเนินการ สำรวจลูกน้ำยุงลาย ตามภาชนะที่ปล่อยปลากระดี่ลงไปแล้วพบว่า 418 ภาชนะที่ปล่อยปลา ไม่มีลูกน้ำยุงลายสักตัว ค่า CI=0 แต่จะพบในภาชนะอื่นที่อยู่นอกบ้าน ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าปลากระดี่เป็นปลาที่สามารถกินลูกน้ำได้ตลอดเวลา แม้แต่ตัวโม่งที่กำลังจะกลายเป็นตัวเต็มวัยของยุง 1. ปัญหาและข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ • เมื่อเริ่มต้นโครงการฯ เจ้าหน้าที่อนามัย และคณะ อสม.ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนก่อน พร้อมกับอธิบายถึงข้อดีของการใช้ปลากระดี่ในการกินลูกน้ำยุงลาย • น้ำบริโภคในครัวเรือนน้อยเนื่องจากปีนี้ฝนแล้ง ประปาไม่ค่อยไหล • อสม.ต้องคอยตรวจสอบว่าปลากระดี่ที่ปล่อยไปนั้นยังคงเหลืออยู่ในอ่างหรือภาชนะทุกสัปดาห์ และต้องหามาเพิ่มถ้าหากปลาสูญหายไป • บางภาชนะที่ไม่สามารถที่จะปล่อยปลากระดี่ได้เช่น กระป๋อง กาบใบไม้ จึงทำให้มีลูกน้ำได้ 2. กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น • ปลากระดี่ 1 ตัวสามารถกินลูกน้ำได้มากกว่าวันละ 200 ตัวขึ้นไป จึงทำให้สามารถกำจัดลูกน้ำหมดไปอย่างรวดเร็ว • การใช้คลอรีนในน้ำประปาทำให้ปลากระดี่ตายเร็ว ไม่ทนต่อสารคลอรีน • ประชาชนเริ่มเห็นผลจากการใช้ปลากระดี่กินลูกน้ำว่าดี ไม่มีสารตกค้างและมีกลิ่นอย่างการใส่ทรายอะเบท  
ข้อเสนอแนะ : • เนื่องจากในช่วงที่ปลากินลูกน้ำหมดแล้ว ปลาจะไม่มีเหยื่อให้กินทำให้ปลาผอมและออกจากอ่าง เนื่องจากประชาชนใส่น้ำเต็มภาชนะจึงทำให้ปลาออกมาตายได้ จำเป็นต้องมีบ่อพักปลาไว้ทุกหมู่บ้าน • อสม.แต่ละคนมีท่อสำหรับเลี้ยงปลากระดี่แล้วขั้นตอนต่อไปก็เป็นการหาปลากระดี่มาเลี้ยงซึ่งก็หาไม่ยากเพราะมีอยู่ทั่วไปตามหนองน้ำสาธารณะหรือตามไร่นา อสม.ทุกคนจะทำเหมือนกันหมดเมื่อมีปลาแล้วเราก็นำปลากระดี่ไปแจกให้กับชาวบ้านเพื่อให้ไปปล่อยไว้ตามอ่างน้ำที่ชาวบ้านเตรียมไว้อาบและไว้ใช้ล้างจานเพื่อที่ปลากระดี่จะได้กินลูกน้ำก่อนที่จะกลายมาเป็นยุงลาย หลังจากเจ้าหน้าที่ อสม.แจกปลากระดี่ให้กับหลังคาเรือนที่แต่ละคนรับผิดชอบแล้วเจ้าหน้าที่ก็จะคอยติดตามว่าปลาที่ให้ไปยังอยู่หรือตายไปหรือเปล่าหากตายก็จะเอาตัวใหม่ไปให้อีก  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)